วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550











คามหมายและประเภทของเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น คือ เด็กที่สูญเสียความสามารถในการมองเห็น แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
เด็กตาบอด สูญเสียสายตาโดยสิ้นเชิง ต้องใช้อักษรเบลร์
เด็กที่มองเห็นเลือน ลาง ตาบอดเป็นบางส่วน มองเห็น 20 -70 ฟุตหรือน้อยกว่านั้น ใช้แว่นขยายหรือเครื่องมือพิเศษ








เรื่องน่ารู้
เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
การปรับและพฤติกรรม
การปรับตัวของเด็กตาบอดจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่เด็กอาศัยอยู่ ได้เอื้อในเรื่องการปรับตัวมากน้อยเพียงใด
นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจของเด็กในครอบครัว การยอมรับของสังคมและการยอมรับสภาพของตนเองถ้าเด็กได้รับ
การยอมรับทางสังคมมาก มีความสำเร็จส่วนตัวดี ก็สามารถทำให้เด็กปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้ดียิ่งขึ้น
หลักการฝึกการเลี้ยงดูและส่งเสริม
- การเลี้ยงดูเพื่อให้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว
- การเลี้ยงดูเพื่อให้มีพัฒนาการทางอารมณ์ สังคม
- การเลี้ยงดูเพื่อส่งเสริมสติปัญญา

การป้องกันอันตราย
- ระวังเกี่ยวกับปลั๊กไฟ ความร้อนและเตาไฟ
- ของแหลม ของมีคม ของใช้ที่วางไม่เป็นที่
- การพลัดตกจากที่สูง การลื่นล้ม สิ่งที่เป็นพิษ
เด็กพิการทางการเห็น
ความหมายและประเภทของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
1. เด็กตาบอด เป็นเด็กที่สูญเสียสายตาโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถใช้สายตาในการเรียน
2. เด็กที่มองเห็นเลือนลาง ตาบอดเป็นบางส่วน มีการมองเห็นเหลืออยู่มาก จึงมองเห็นได้ลางๆ 20 - 70 ฟุต
หรือน้อยกว่านั้น ในสายตาข้างที่ดีหลังจากการช่วยเหลือแก้ไขแล้ว สามารถเรียนได้
ลักษณะอาการที่มีความผิดปกติของสายตา
1. มีอาการคันตาเรื้อรัง น้ำตาไหลอยู่เสมอ หรือมีอาการตาแดงบ่อยๆ
2. มักมองเห็นภาพซ้อน วิงเวียนศีรษะ มอไม่เห็นชัดเจนในบางครั้ง
3. เวลามองวัตถุระยะไกลๆ ต้องขยี้ตา หรือทำหน้าย่น ขมวดคิ้ว
4. เวลาเดินต้องมองอย่างระมัดระวัง หรือเดินช้าๆ โดยกลัวจะสะดุดสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ขวางหน้า
5. ไม่มีความสนใจดูภาพที่ติดตามฝาผนัง หรือข้อความที่เขียนบนกระดานดำ
6. มักขยี้ตาบ่อยๆ กระพริบตาบ่อย อ่านหนังสือได้ระยะเวลาสั้น
7. สายตาสู้แสงสว่างไม่ได้

การช่วยเหลือ
การเตรียมความพร้อมด้านความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว เช่น การใช้สายตา การฟังเสียง
การสัมผัส การดมกลิ่น เป็นต้น
การเตรียมความพร้อมในการช่วยตนเอง เช่น การทานอาหาร การแต่งกาย
ลักษณะของคนตาบอด
คนที่จัดว่าตาบอด คือ บุคคลที่มองอะไรไม่เห็นเลย ไม่สามารถอาศัยสายตาในการศึกษาเล่าเรียนได้เป็นบุคคลที่มองเห็นได้ในระดับ 20/200
คือมองเห็นได้ในระยะ 20 ฟุต ในขณะที่คนธรรมดามองเห็นได้ในระยะ 200 ฟุต
Abel ได้จำแนกให้เห็นถึงความสามารถในการมองเห็นของคนตาบอดไว้ 5 จำพวก คือ
ตาบอดสนิท (Total Blindness) คือ คนที่มองเห็นได้ไม่มากกว่า 2/200 และไม่สามารถมองเห็นการโบกมือในระยะห่าง 3 ฟุต ได้เลย
ผู้มองเห็นได้ในระยะ 5/200 แต่ไม่สามารถนับนิ้วมือได้ในระยะห่างออกไป 1 ฟุต
ผู้มองเห็นได้ในระยะ 10/200 แต่ไม่อาจอ่านพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ได้ สามารถรับรู้การเคลื่อนไหวได้บ้าง
ผู้มองเห็นได้ในระยะ 20/200 สามารถอ่านพาดหัวหนังสือพิมพ์ตัวโตๆได้ แต่อ่านได้ไม่เกิน 14 จุด
ผู้มองเห็นได้ในระยะ 20/200 สามารถอ่านได้ 10 จุด แต่ไม่สามารถใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
ประเภทของผู้ที่มีปัญหาทางสายตา
Lowenfeld (1955) ได้จำแนกผู้บกพร่องทางสายตาออกเป็น 6 ประเภท คือ
1. พวกที่บอดสนิทโดยกำเนิดหรือบอดภายหลังอายุครบ 5 ขวบ
2. ภายหลังมีอายุ 5 ขวบไปแล้วจึงบอดสนิท
3. พวกที่มองเห็นอย่างเลือนลางมาตั้งแต่กำเนิด
4. ตาบอดไม่สนิทโดยกำเนิด
5. ตาบอดไม่สนิทแต่ต่อมาเกิดบอดสนิท
6. พวกที่พอมองเห็นบ้าง แต่ต่อมาบอดสนิท
เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตาโดยทั่วไปจะเคลื่อนไหวช้าประสาทสัมผัสบางส่วนจะทำงานได้ดีกว่าคนปกติเช่น ประสาทหู
และความสามารถด้านความจำส่วนสุขภาพโดยทั่วไปจะไม่แตกต่างจากเด็กปกติ รวมทั้งการพูดจาก็จะใช้ภาษาพูดตามปกติแต่จะเรียนการพูด
ได้ช้ากว่าเด็กปกติ เด็กตาบอดจะพูดเสียงดัง แต่น้ำเสียงปกติจะไม่มีการใช้มือประกอบท่าทางการพูด และเวลาพูดจะเผยอริมฝีปากเล็กน้อย

อาการที่บอกถึงความผิดปกติของสายตา (symptoms of Visual Impairment)
1. มีอาการคันตาเรื้อรัง มีน้ำตาไหลอยู่เสมอ หรือตาแดงอยู่บ่อยๆ
2. มักมองเห็นภาพซ้อน วิงเวียนศีรษะ มองเห็นไม่ชัดในบางครั้ง
3. เวลามองวัตถุไกลๆ ต้องขยี้ตา หรือทำหน้าย่นขมวดคิ้ว
4. เวลาเดินต้องมองอย่างระมัดระวังหรือเดินช้าๆ โดยกลัวจะสะดุดสิ่งที่ขวางหน้า
5. ไม่มีความสนใจดูภาพที่ติดตามฝาผนัง หรือข้อความที่เขียนบนกระดานดำ
6. มักบ่นเรื่องสายตาอยู่เสมอ
7. ไม่ชอบการทำงานที่ต้องใช้สายตา
8. กระพริบตาบ่อยๆ ขณะอ่านหนังสือ
9. วางหนังสือในลักษณะผิดปกติขณะอ่านใกล้หรือไกลเกินไป
10. ขณะอ่านต้องเอียงศีรษะ
11. อ่านหนังสือได้ในระยะเวลาสั้น
12. ขณะอ่านหนังสือต้องปิดตาข้างใดข้างหนึ่ง
13. สายตาสู้แสงสว่างไม่ค่อยได้
สาเหตุของความบกพร่องทางสายตา (Causes of Umpaired Vision)
สาเหตุโดยทั่วไปของความบกพร่องทางสายตาเกิดได้จากการใช้ยาหยอดตาพร่ำเพรื่อ ใช้เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์
อาจเกิดเป็นต้อหินได้ อาจเกิดได้จากการเป็นโรคเนื้องอกที่ตาหรือได้รับบาดเจ็บที่ตาอันมาจากอุบัติเหตุต่างๆ หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ
ซึ่งพอสรุปได้ สาเหตุใหญ่ๆ ด้วยกันคือ
- เกิดจากการได้รับบาดเจ็บเกี่ยวกับตา
- เกิดจากพันธุกรรม
Kerby (1958) ได้ศึกษาพบว่าเด็กตาบอดประมาณ 14 - 15 % มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมสาเหตุของความบกพร่องทางสายตา
อันเกิดจากพันธุกรรมนั้น ได้แก่ ความผิดปกติของดวงตา ทำให้กลายเป็นคนสายตาสั้นหรือสายตายาวได้
การปรับตัวส่วนตัวและการปรับตัวทางสังคมของเด็กตาบอด (Personal and Social Adjustment)

การปรับตัวของเด็กตาบอดไม่ว่าจะเป็นด้านส่วนตัวหรือทางสังคมขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจของเด็กแต่ละคน คือ เด็กที่มีฐานะดี
ก็จะได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี ส่วนเด็กที่ครอบครัวยากจน ขาดความอบอุ่น ตามปกติ เด็กตาบอดมักจะไม่คิดว่าตนเองอยู่ในโลกมืดไม่เศร้าเสียใจ
กับความบกพร่องทางสายตาของตนเท่าไรนัก มีบางคนเท่านั้นที่มีความรู้สึกหดหู่ที่มองไม่เห็นเนื่องมาจากได้ยินคำบอกเล่าหรือคำพูดเปรียบเทียบ
ความสุขของเด็กตาบอดขึ้นอยู่กับ 3 ประการ คือ
1. การยอมรับของสังคม
2. ความสำเร็จส่วนตัว
3. การยอมรับสภาพของตน
การเป็นอยู่ของคนตาบอดมักไม่เกี่ยวข้องกับคนปกติมากนัก กิจกรรมของพวกเขามักเป็นกิจกรรมซ้ำๆ เช่น การร้องเพลง
คนตาบอดมักร้องเพลงได้ดี คนปกติทั่วไปมักเข้าใจว่า คนตาบอดจะสติปัญญาทึบ หรือมีลักษระเป็นคนไร้ความสามารถซึ่งความจริงแล้วไม่เป็น
เช่นนั้นเลย
พัฒนาการทางด้านร่างกาย
ความบกพร่องทางสายตาไม่ได้มีอิทธิพลต่อความเจริญเติบโตของเด็ก นำหนัก ส่วนสูง เหมือนคนปกติ
จะเสียเปรียบตรงที่การกระทำที่ต้องใช้ทักษะต่างๆ ซึ่งคนตาบอดมักได้รับการฝึกฝนใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ การมองไม่เห็น ทำให้เด็กคลานช้า
เดินช้า และขาดการฝีกฝนในกิจกรรมที่ต้องใช้ความรวดเร็วทุกชนิดเช่น การขี่จักรยาน การเล่นฟุตบอล หรือกีฬาอื่นๆ
พัฒนาการทางสมอง
เด็กตาบอดจะเสียเปรียบเพราะขาดการรับรู้ทางสายตา เป็นเหตุให้พัฒนาการทางสมองช้าไปด้วย แต่ความสามารถ
ทางสมองของพวกเขาไม่ได้ลดหรือเพิ่ม อันเนื่องมาจากการมองไม่เห็นแต่อย่างใด เพียงแต่สติปัญ-ญาของเด็กตาบอด
ไม่อาจพัฒนาได้ดีได้จนถึงที่สุดเท่านั้น ได้ทำการทดสอบวัดของเด็กตาบอดจากโรงเรียนต่างๆ สรุปไว้ว่า เด็กตาบอดนั้น
ยังคงมีความสามารถทางสมองเป็นปกติ
พัฒนาทางการทางอารมณ์
เด็กตาบอดมีความต้องการเช่นเดียวกับคนปกติทุกประการ แต่จะมีช่วงที่สร้างความปั่นป่วนให้คนตาบอดมากคือ
เมื่อต้องพึ่งพาผู้อื่นในด้านสายตาเพราะเขาทำเองไม่ได้ ิต่อมาระยะที่เขาจำเป็นต้องหางานทำ ความวิตกกังวล
ในการดำรงชีวิตต่อไปโดยให้ได้รับความปลอดภัย และเกิดเป็นความหวาดกลัวที่จะไปไหนมาไหน กลัว
อันตรายต่างๆ

พัฒนาการทางสังคม
การมองไม่เห็นมีอิทธิพพต่อพัฒนาการทางสังคมของเด็กตาบอดมาก พวกเขาต้องการที่จะเรียนรู้ประสบการณ์
ต่างๆ มากกว่าเด็กธรรดาเพื่อเขาจะได้ไม่ว้าเหว่ ต้องการเรียนรู้การเป็นผู้ให้และผู้รับด้วยเพื่อทำให้อยู่ในสังคม
ได้อย่างมีความสุขเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป




คำจำกัดความ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง เด็กที่มีการสูญเสียการได้ยิน ซึ่งอาจจะเป็นเด็กหูตึงหรือเด็กหูหนวก
ก็ได้
เด็กหูหนวก หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน 90 เดซิเบลขึ้นไป วัดด้วยเสียงบริสุทธิ์ ณ ความถี่ 100, 1000 และ
2000 Hzในหูข้างดีกว่าเด็กไม่สามารถใช้การได้ยินเป็นประโยชน์เต็มประสิทธิภาพในการฟัง อาจเป็นผู้ที่สูญเสียการได้
ยินมาแต่กำเนิดหรือเป็นการสูญเสียการได้ยินในภายหลังก็ตาม
เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน ระหว่าง 26-89 เดซิเบล ในหูข้างดีกว่า วัดโดยใช้เสียงบริสุทธิ์ความถี่
500,1000 และ 2000 Hz เป็นเด็กที่สูญเสียการได้ยินเล็กน้อยไปจนถึงการได้ยินขั้นรุนแรง
ลักษณะ
1. การพูด เด็กอาจพูดได้ไม่ชัดหรือไม่ได้เลย ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับการสูญเสียการได้ยินของเด็ก เด็กที่สูญเสียการได้ยิน
เล็กน้อยอาจพอพูดได้ส่วนเด็กที่สูญเสียการได้ยินมากหรือหูหนวกอาจพูดไม่ได้เลยหากไม่ได้รับการสอนพูดตั้งแต่ในวัยเด็ก

2. ภาษา เด็กจะมีปัญหาทางด้านภาษา เช่น มีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ในวงจำกัด เรียงคำเป็นประโยคที่ผิดหลักภาษา
เป็นต้น
3. ความสามารถทางสติปัญญา จากการรายงานการวิจัยเป็นจำนวนมากพบว่า มีการกระจายคล้ายเด็กปกติ บางคน
อาจโง่ บางคนอาจฉลาด บางคนฉลาดถึงขั้นเป็นอัจฉริยะก็มี จึงอาจสรุปได้ว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
ไม่ใช่เด็กโง่ทุกคน
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างต่ำกว่าเด็กปกต
ิ เนื่องมาจากการสอนที่ผิดวิธี ความสามารถในภาษาที่มีอยู่อย่างจำกัด
5. การปรับตัว มีปัญหาเนื่องมาจากการสื่อสารกับผู้อื่น หากเด็กสามารถสื่อสารได้ดี ปัญหาทางอารมณ์ก็จะลดลง และ
สามารถปรับตัวได้ แต่ถ้าหากไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ อาจเกิดความเก็บกด คับข้องใจ ทำให้มีปัญหาในการปรับตัวได้



เด็กที่มีปัญหาความบกพร่องทางร่างกาย ขาดความสามารถทางการสื่อสารมีปัญหาอารมณ์ หรือสังคม รวมทั้งเด็กที่มีปัญญาเลิศ แต่ละคนมีปัญหาเฉพาะตัว แต่สิ่งที่เด็กทุกคนมีความต้องการพิเศษนี้ ต้องการเหมือนกันคือ การได้รับความช่วยเหลือแต่เนิ่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการรักษา การบำบัดหรือการศึกษาพิเศษเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กสามารถพัฒนาตนและได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพของเด็กและดีที่สุดสำหรับเด็ก
จุดมุ่งหมายที่สอดคล้องกันระหว่าง ครู ผู้ปกครอง และเด็กในการมาโรงเรียนก็คือ การพัฒนาความสามารถของเด็กแต่เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีเอกลักษณ์ของตนเองวิธีการที่นำมาใช้สั่งสอนอบรมเพื่อพัฒนาเด็กจึงจำเป็นต้องปรับให้เหมาะสมกับเด็ก แต่ละคนด้วย ในการที่ทำเช่นนี้ได้ ครู-ผู้ปกครองจะต้องรู้จักเด็กอย่างดี การเรียนการสอนในโรงเรียนโดยทั่วไปจะคำนึงถึงเกณฑ์ปกติ คือเด็กส่วนใหญ่เป็นอย่างไรก็จะดำเนินการเรียนการสอนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของเด็กส่วนใหญ่เหล่านั้น เด็กซึ่งมีความแตกต่างไปจากกลุ่มจึงมักประสบความล้มเหลวทางการเรียนบ้างก็เกิดมีปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรม เนื่องมาจากาการไม่ประสบความสำเร็จ บทความนี้จะพูดถึงเด็กกลุ่มหลังนี้ในลักษณะของ“เด็กที่มีความต้องการพิเศษโรงเรียนปกติ “ และเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจตรงกันจึงขอกำหนดคำจำกัดความ และขอบข่ายไว้ดังนี้คือ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควร จากการเรียนการสอนตามปกติ ทั้งนี้ มีสาเหตุมาจากสภาพความบกพร่องทางร่างกายสติปัญญาและอารมณ์จำเป็นต้องจัดการศึกษาพิเศษให้เหมาะกับลักษณะและความต้องการของเด็ก
โรงเรียนปกติ หมายถึง โรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปกติในระดับปฐมวัยและ / ประถมศึกษา และ / หรือมัธยมศึกษา
เด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนปกติ หมายถึง เด็กที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนปกติ ซึ่งอาจพบในลักษณะของการเรียนร่วมชั้นกับเด็กปกติเต็มเวลา หรือเรียนร่วมบางเวลาหรือเรียนอยู่ในชั้นที่จัดเฉพาะกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
จะพบเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้ที่ไหน
เด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนปกตินั้น อาจจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มคือเด็กที่โรงเรียนรับเข้ามาเรียนโดยไม่ทราบว่าเป็นเด็กพิเศษ เนื่องมาจากไม่มีการทดสอบหรือไม่สามารถสังเกตได้เด่นชัด เด็กประเภทนี้หากมีความผิดปกติ หรือความพิการมักอยู่ในขั้นไม่รุนแรง จึงทำให้ครู - ผู้ปกครองไม่ทราบปัญหา แต่เมื่อเข้ามาเรียนในโรงเรียนระยะหนึ่งแล้วจึงสังเกตได้ว่ามีความก้าวหน้าล่าช้า เรียนไม่ทันเพื่อน หรือมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
เด็กที่มีความต้องการพิเศษอีกกลุ่มหนึ่ง เป็นเด็กที่มีความผิดปกติบางประการที่เห็นเด่นชัด หรือได้รับการวินิจฉัยมาแล้วแต่ต้นก่อนเข้าโรงเรียน โดยที่โรงเรียนนั้นๆ มีบริการการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กเหล่านี้ในลักษณะของการเรียนร่วมมีบริการพิเศษตามความเหมาะสม เด็กกลุ่มนี้มักมีความผิดปกติที่เด่นชัดหรือรุนแรงกว่าพวกแรก และโรงเรียนที่ให้บริการด้านนี้ก็มักทราบล่วงหน้า และเตรียมตัวเตรียมใจไว้แล้วว่าควรปฏิบัติอย่างไร จึงจะไม่บอกกล่าวในที่นี้ขจะขอเน้นเฉพาะเด็กกลุ่มแรกคือเด็กที่พบในโรงเรียนปกติ เพื่อเป็นข้อสังเกตสำหรับครูในการเข้าใจเด็กและทำการคัดแยกวินิจฉัยเด็ก ว่าเด็กคนใดที่เป็นเด็กซึ่งมีความต้องการพิเศษในด้านใด และควรได้รับการช่วยเหลือขั้นต้นอย่างไรบ้าง
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนปกติ จำแนกได้ดังนี้คือ

1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ได้แก่ เด็กเรียนช้า เด็กปัญญาอ่อน

2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

3. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น

4. เด็กที่มีความพิการทางร่างกายและมีความบกพร่องทางสุขภาพ

5. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด

6. เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์ / พฤติกรรม

7. เด็กที่ด้วยความสามารถทางการเรียน

8. เด็กปัญญาเลิศ

9. เด็กออทิสติค


1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
ระดับสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญา เป็นเกณฑ์ที่ใช้วัดสติปัญญา ความคิด ความสามารถของบุคคล เป็นระดับปริมาณที่ชี้ถึงความสามารถของบุคคลว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่า หรือสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กในระดับอายุเดียวกันซึ่งเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่าระดับไอคิว ( IQ )
ระดับไอคิวเฉลี่ยของบุคคลทั่วไปคือ 90 - 109 หรือ90 - 110 หากมีระดับไอคิวต่ำกว่า 90 ลงมา ถือว่ามีความบกพร่องทางสติปัญญา ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
ก. เด็กเรียนช้า หมายถึง เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติและมีความต้องการในด้านการเรียนในรูปแบบของการศึกษาพิเศษเต็มเวลาหรือบางเวลาในชั้นพิเศษในโรงเรียนปกติ และเด็กเหล่านี้จะมีระดับไอคิวประมาณ70 - 90จัดเป็นพวกขาดทักษะในการเรียนรู้ หรือมีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
ข. เด็กปัญญาอ่อน หมายถึง เด็กที่มีภาวะพัฒนาการของจิตใจหยุดชะงัก หรือการเรียนรู้น้อย มีพัฒนาการทางกายล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย มีความสามารถจำกัดในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เด็กปัญญาอ่อนแบ่งตามระดับเชาว์ปัญญาได้ 4 กลุ่ม คือ
1. ปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก มีระดับไอคิวต่ำกว่า 20 ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่างๆ ได้เลยต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น 2. ปัญญาอ่อนขนาดหนัก มีระดับไอคิว 20 - 34 ไม่สามารถเรียนได้ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่ายๆ 3. ปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง พอฝึกอบรมได้ มักใช้คำย่อว่า T. M. R. ( Trainable Mentally Retared ) มีระดับไอคิว35 - 49 พอที่จะฝึกอบรมและเรียนรู้ทักษะเบื้องต้นง่ายๆ ได้ เช่น เรียนเลขเบื้องตน อ่านและเขียนคำง่ายๆ ได้บ้าง สามารถฝึกอาชีพหรือทำงานง่ายๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดละออได้ กลุ่มนี้ต้องการเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาได้ในชั้นพิเศษ และใช้หลักสูตรตามหลักการศึกษาพิเศษ หรือโรงเรียนพิเศษ 4. ปัญญาอ่อนขนาดน้อย หรือพอเรียนได้ มักใช้คำย่อว่า E.M.R. ( Educable Mentally Retarded ) มีระดับไอคิว50- 70 เด็กกลุ่มนี้พอเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาได้ในชั้นพิเศษ และใช้หลักสูตรตามหลักการศึกษาพิเศษ และสามารถฝึกอาชีพและงานง่ายๆ ได้
เด็กปัญญาอ่อนกลุ่มที่ 4 และเด็กเรียนช้านี่เอง คือเด็กที่เราพบในโรงเรียนปกติหรือจัดเป็น “ เด็กที่มีความต้องการพิเศษ “โดยที่เด็กพอช่วยตนเองได้ ครูและผู้ปกครองจึงไม่ทราบปัญหาจนเข้าเรียนไประยะหนึ่งแล้วพบว่า เด็กเรียนไม่ทันเพื่อน ซึ่งสมัยก่อนครูจะลงสมุดรายงานแจ้งผู้ปกครองว่าเด็กมีสติปัญญาทึบ
สำหรับเด็กปัญญาอ่อน กลุ่ม 1 - 3 นั้น มักมีลักษณะที่ปรากฏชัดตั้งแต่วัยเด็ก เราเพราะมักจะมีความผิดปกติทางด้านอื่น ๆเช่น การเคลื่อนไหวช้า นั่งและเดินได้ช้ากว่าปกติ มีปัญหาทางการพูด เด็กปัญญาอ่อนบางคนอาจเดินไม่ได้ หรือพูดไม่ได้ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ไม่สนในต่อตนเอง และสภาพแวดล้อม น้ำลายไหลและอาจมีความบกพร่องด้านอื่นๆ อีก เด็กปัญญาอ่อนทั้ง 3 กลุ่มนี้จึงมักจะไม่พบบ่อยนักในโรงเรียนปกติ
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่พอสังเกตได้
1. มีพัฒนาการโดยทั่วไปช้า 2. มีความสามรถทางร่างกายด้อยกว่าเด็กปกติ 3. อวัยวะภายนอกบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ 4. กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน 5. ไม่สามารถปรับตัวได้ 6. ไม่สามารถช่วยตนเองได้ เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กวันเดียวกัน 7. มีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า 8. ชอบเล่นกับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า
พฤติกรรมบางอย่างในห้องเรียน
1. ไม่เข้าใจบทเรียน 2. ขาดความสนใจใจบทเรียน และก่อปัญหาในห้องเรียน 3. ไม่มีสมาธิในการเรียน ไม่เข้าใจบทเรียนและจดจำไม่ได้ 4. กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน แม้อายุถึงวัยที่ควรทำได้แล้ว 5. เมื่ออายุถึงเกณฑ์เข้าเรียน ( 7 ขวบ ) ยังไม่พร้อมที่จะอ่านจะเขียน และพูด 6. มีผลการเรียนต่ำในแทบทุกวิชา 7. มีช่วงความสนใจสั้น และขาดสมาธิในการเรียน 8. ขาดความสนใจสภาพความเป็นไปโดยทั่วไปของห้องเรียน เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
ความต้องการพิเศษ
เด็กเรียนช้าและเด็กปัญญาอ่อนซึ่งพบในโรงเรียนปกตินั้น ควรได้รับบริการพิเศษเพิ่มเติมจากเด็กปกติคือ บริการแก้ไขการพูด บริการกายภาพบำบัด บริการกรรมบำบัดหรืออาชีวะบำบัด บริการสอนซ่อมเสริม
2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง เด็กที่มีบกพร่องหรือสูญเสียการได้ยินเป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่างๆไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และเด็กหูหนวก
เด็กหูตึง หมายถึง ผู้ที่สูญเสียการได้ยินจนไม่สามารถเข้าใจคำพูดและการสนทนาซึ่งจำแนกตามเกณฑ์การพิจารณาอัตราการของหูของสมาคมโสต ศอ นาสิก แพทย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ค่าเฉลี่ยการได้ยินที่ความถี่ 500, 1000 และ 2000ในหูข้างที่ดีกว่าเด็กหูตึงอาจแบ่งตามระดับการได้ยินได้ 4 กลุ่ม คือ
1. เด็กหูตึงระดับที่ 1 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 26 - 40 dB 2. เด็กหูตึงระดับที่ 2 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 41 - 55 dB 3. เด็กหูตึงระดับที่ 3 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 56 - 70 dB 4. เด็กหูตึงระดับที่ 4 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 71 - 90 dB
เด็กหูหนวก หมายถึง ผู้ที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถเข้าใจ หรือใช้ภาษาพูดได้ หากไม่ได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษ และถ้าวัดระดับการได้ยินที่ 500 - 2000 จะมีการพูดตอบสนองของหูข้างที่ดีกว่าต่อเสียงบริสุทธิ์ตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่อาจพบได้ในโรงเรียนปกตินั้น ส่วนมากจะเป็นเด็กหูตึง เพราะเด็กหูหนวก มักสังเกตได้ชัดเจน ในที่นี้จึงขอกล่าวเน้นเฉพาะกลุ่มเด็กหูตึง
เด็กหูตึงระดับที่ 1 ( 26-40 dB ) จะมีปัญหาในการรับฟังเสียงเบา ๆ เช่น เสียงกระซิบหรือเสียงจากที่ไกลๆ เด็กกลุ่มนี้สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติในห้องเรียนธรรมดาได้ หากมีที่นั่งเรียนที่สามารถมองเห็นครูและเพื่อนได้ดี หากมีเพื่อนช่วยฟังที่เหมาะสมก็จะเป็นประโยชน์มาก
เด็กหูตึงระดับที่ 1 ( 41-55 dB ) จะมีปัญหาในการฟังเสียงพูดคุยที่ดังในระดับปกติที่มีระยะห่าง 3 - 5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด ดังนั้นเมื่อพูดคุยด้วยเสียงธรรมดาก็จะไม่ได้ยินหรือได้ยินไม่ชัดจับใจความไม่ได้ นอกจากนี้มีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่นพูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยน พูดเสียงเบาหรือเสียงผิดปกติ
เด็กหูตึงระดับที่ 3 ( 56-70 dB ) มีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูดเมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน เช่น เสียงในห้องประชุม มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าเด็กปกติ พูดไม่ชัด เสียงเพี้ยนบางคนไม่พูด
เด็กหูตึงระดับที่ 4 ( 71 - 90 dB ) เป็นกลุ่มเด็กหูตึงระดับรุนแรง จึงมีปัญหาในการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก เด็กจะสามารถได้ยินเฉพาะเสียงที่ดังใกล้หูในระยะทาง 1 ฟุต ต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงจึงจะได้ยินเด็กกลุ่มนี้แม้จะใช้เครื่องช่วยฟังก็มีปัญหาในการแยกเสียง อาจแยกเสียงสระได้ แต่แยกเสียงพยัญชนะได้ยากมักพูดไม่ชัดและมีเสียงผิดปกติ บางคนไม่พูด
เด็กหูตึงที่พบในโรงเรียนปกติ โดยที่ทางโรงเรียนรับเข้าไปโดยไม่ทราบปัญหานั้นมักเป็นเด็กหูตึงในระดับที่ 1 หรืออย่างมากก็ระดับที่ 2 สำหรับเด็กหูตึงในระดับที่ 3 และระดับที่ 4 นั้น มีไม่มากนักในระดับประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษา ยกเว้นในกรณีที่หูตึงภายหลัง คือ สูญเสียการได้ยินขณะอยู่ในโรงเรียน สำหรับในระดับปฐมวัยนั้น โอกาสที่จะพบนั้นเป็นไปได้ทั้ง 4 กลุ่ม โดยผู้ปกครองมักคิดว่าเด็กปากหนัก พูดช้า
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่พอสังเกตได้
1. ใบหูผิดปกติ2. ไม่มีใบหู3. หูน้ำหนวกเรื้อรัง4. มักตะแคงหูฟัง5. เมื่อพูดมีเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง6. พูดด้วยเสียงต่ำ หรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น7. เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด8. มีการพูดผิดปกติ9. ไม่มีปฏิกิริยาต่อเสียงดัง เสียงพูด เสียงดนตรี หรือมีบ้างเป็นบางครั้ง10. มักจะทำหน้าเด๋อเมื่อมีการพูดด้วย11. ไม่พูดเมื่อมีสิ่งเร้าใจจากสภาพแวดล้อม12. ให้ความสนใจต่อการสั่นสะเทือน
พฤติกรรมบางอย่างในห้องเรียน
1. ไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้2. มีความลำบากในการอ่านหนังสือ3. ไม่ตอบคำถาม4. มีผลการเรียนอ่อนลง5. พูดเบามาก หรือดังมากเกินความจำเป็น6. ไม่มีปฏิกิริยาต่อคำพูด หากผู้พูดอยู่ข้างหลังหรืออยู่ไกล7. มักขอตอบคำถามผิด เพราะการับฟังไม่ถูกต้อง9. พูดไม่ชัด10. มักเขียนหนังสือผิด
ความต้องการพิเศษ
ก. วัสดุอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังเฉพาะตัวเครื่องช่วยฟังเป็นกลุ่มเครื่องขยายเสียงระบบรูป หรือเครื่องสอนพูดระบบ F.M.
ข. บริการพิเศษ
บริการสอนพูด / แก้ไขการพูดบริการสอนซ่อมเสริม
3. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึง เด็กที่มองไม่เห็น ( ตาบอดสนิท ) หรือพอเห็นแสง เห็นลางเลือน และมีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง โดยมีความสามารถในการเห็นได้ไม่ถึง 1 / 10 ของคนสายตาปกติ หลังจากที่ได้รับการรักษาและแก้ไขทางการแพทย์แล้ว หรือมีลานสาตากว้างไม่เกิน 30 องศา
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. เด็กตาบอด หมายถึงเด็กที่มองไม่เห็น หรืออาจจะมองเห็นบ้างไม่มากนัก ไม่สามารถใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนได้ หากทดสอบสายตาเด็กประเภทนี้จะมีข้างดีสามารถมองเห็นได้ในระยะ 20 / 200 หรือน้อยกว่านั้น และลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดจะแคบกว่า 5 องศา
2. เด็กตาบอดไม่สนิท หรือสายตาเลือนลาง หมายถึงเด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา สามารถมองเห็นบ้าง แต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ เมื่อทดสอบสายตาเด็กประเภทนี้จะมีตาข้างดีสามารถมองเห็นได้ในระยะ 20 / 60 หรือน้อยกว่านั้นและลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงจะกว้างไม่เกิน 30 องศา
ปกติเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นที่พบในโรงเรียนนั้นมักจะเป็นเด็กประเภทที่ 2 และเด็กที่มีปัญหาทางสายตาเช่น สายตาสั้น สายตาเอียง ซึ่งการเห็นก็ยังอยู่ในภาพที่ใช้ได้ เพียงแต่ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสม สำหรับเด็กประเภทแรกหากรับเข้ามาก็หมายความว่าโรงเรียนมีบริการเรียนร่วมให้กับเด็กเหล่านั้น
ในกรณีของเด็กที่มีปัญหาทางสายตา ที่ยังไม่ถึงกับสายตาบอดนั้น หากครู-ผู้ปกครองสังเกตลักษณะพฤติกรรมได้แต่เนิ่นๆ ก็จะเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือเด็กได้ทันท่วงที
ลักษณะบางอย่างที่พอสังเกตได้
1. ขอบตาแดง2. ขอบตาบวม3. เปลือกตาแข็ง หนังตาบวม4. น้ำตาไหลเนืองๆ 5. กรอกนัยน์ตาไปมาเวลาเหนื่อย6. มีอาการกระตุกถี่ๆ ที่ดวงตา7. ขนาดของลูกตาดำสองข้างไม่เท่ากัน8. มักขยี้ตาบ่อยๆ9. หรี่ตา และสั่นศรีษะบ่อยๆ 10. ก่อนจะเพ่งสายตาไปยังสิ่งใด เด็กมักจะเอียงศรีษะไปทิศตรงข้าม11. เวลาเล่นมักจะสะดุด และหกล้มบ่อยๆ 12. ขมวดคิ้ว หลิ่วตามอง13. มีความลำบากในการเอื้อมจับสิ่งของ14. ใบหน้าบูดเบี้ยว เมื่อมองดูวัตถุในระยะไกล15. ดวงตาไวต่อแสงเกินไป16. ไม่เห็นความแตกต่างของสี และไม่อยากมองวัตถุสิ่งของต่างๆ 17. เวลามองวัตถุในระยะไกลมักจะชะโงกหน้าออกมาหรือโน้มตัวไปข้างหน้า18. มักปรารภว่ามองไม่ชัด หรือมองของชิ้นเดียวเป็นสองชิ้น19. กระพริบตามากกว่าปกติ20. เป็นฝีหรือกุ้งยิงบ่อยๆ หรือตาเหล่เป็นครั้งคราว
พฤติกรรมบางอย่างในห้องเรียน
1. เวลาอ่านหนังสือมักจะวางหนังสือห่างจากสายตามาก2. ขาดความสนใจในชั่วโมงอ่านไทย3. เวลาอ่านหนังสือมักจะวางหนังสือใกล้สายตามาก หรือก้มหน้าแทบจะจรดกระดาษ4. อ่านหนังสือในระยะเวลาสั้นๆ โดยไม่หยุดพักสายตาเลย5. ใบหน้าบูดเบี้ยว หรือขมวดคิ้วเวลาดูสิ่งของต่างๆ หรือขณะอ่านหนังสือ6. หลับตาหรือเอาปิดตาข้างหนึ่งขณะอ่านหนังสือ7. เอียงศรีษะไปข้างใดข้างหนึ่งขณะอ่านหนังสือ8. สายตาทั้งสองข้างทำงานไม่ประสานกันขณะอ่านหนังสือ9. มักเคลื่อนมือขึ้นลง ทำให้ระยะระหว่างสายตาและหน้ากระดาษเปลี่ยนไปตลอดเวลาขณะอ่านหนังสือ10. สับสนระหว่างพยัญชนะตงๆ เช่น ค กับ ต, ด กับ ต, ซ กับ ซ, ฏ กับ ฏ ฯลฯ11. มักอ่านสลับคำ หรืออ่านตัวอักษรสลับที่กัน12. มักอ่านข้ามข้อความหรืออ่านข้ามบรรทัด13. อ่านผิดมากแม้จะเป็นข้อความง่ายๆ เพราะเดาคำและข้อความเอาเอง14. อ่านผิดมากถ้าอ่านเป็นเวลานาน15. เขียนหนังสือไม่ตรงบรรทัด16. เวลาอ่านหนังสือหรือทำการฝีมือมักปวดหัว เวียนศรีษะ คลื่นไส้หรือ บ่นว่าคันและเคืองตาเสมอ
ความต้องการพิเศษ
ก. วัสดุอุปกรณ์แว่นตาที่เหมาะกับสายตาเครื่องอ่านหนังสือslate and stylus ( แผ่น และดินสอสำหรับเขียน )เครื่องมือเรขาคณิตกระดาษกราฟลูกคิดไม้เท้าเครื่องบันทึกเสียง
ข. บริการพิเศษ
บริการการฝึกสอนความเข้าใจในสภาพแวดล้อม และการเคลื่อนไหว ( orientation and mobility การสอนซ่อมเสริมการสอนอักษรเบรลล์
4. เด็กที่มีความพิการทางร่างกายและมีความบกพร่องทางสุขภาพ
เด็กที่พิการทางร่างกายและมีความบกพร่องทางสุขภาพ หมายถึง เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนหายไป กระดูกกล้ามเนื้อพิการ เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง หรือเฉียบพลัน มีความพิการทางระบบสมอง ประสาท ที่ไม่รวมพวกพิการทางประสาทสัมผัส ( เช่น ตาบอด หูหนวก ) มีความลำบากในการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาในสภาพปกติ จำแนกได้ดังนี้
1. ซีพี หรือ ซีรีบรัล พัลซี่ ( Cerebral palsy ) หมายถึงการเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ ซึ่งทำให้เกิดกลุ่มอาการผิดปกติ เช่น การเคลื่อนไหวการพูดการได้ยินผิดปกติ พัฒนาการล่าช้า ความบกพร่องทางสติปัญญาเด็กซีพี ที่พบส่วนใหญ่มี 4 ประเภท คือ
ก. อัมพาตเกร็ง ( spastic ) ของแขนขา หรือครึ่งซีกข. อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ ( athetoid ) จะควบคุมการเคลื่อนไหวและบังคับให้ไปในทิศทางที่ต้องการไม่ได้ค. อัมพาตสูญเสียการทรงตัว ( ataxic ) กระประสานงานของอวัยวะไม่ดีง. อัมพาตตึงแข็ง ( rigid ) การเคลื่อนไหวแข็ง ช้า ร่างกายทีอาการสั่น กระตุกอย่างบังคับไม่ได้
2. มัสคิวล่าร์ ดิสโทรฟี่ ( muscular dystrophy ) เกิดจากสมองประสาทส่วนนั้นๆ เสื่อมสลายตัวโดยไม่ทราบสาเหตุ กล้ามเนื้อแขนขาจะค่อยๆ อ่อนกำลัง เด็กจะเดินหกล้มบ่อย เดินเขย่งปลายเท้า ขาไม่มีแรง ต้องใช้ท้าวโต๊ะ หรือเก้าอี้เพื่อลุกยันขึ้น อาการอาจเลวลง ช้าหรือเร็วตามสภาพของเซลกล้ามเนื้อที่เสื่อมสมรรถภาพ ต่อมาจะเดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ ท้ายสุดต้องนอนอยู่กับที่ จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือความจำเลวลง สติปัญญาเสื่อม
3.โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ ( Orthopedic ) ที่พบบ่อยได้แก่
ก. พิการแต่กำเนิน เช่น เท้าแป ( club foot ) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อนอัมพาตครึ่งท่อน เนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด(spina bifida) ทำให้เกิดความพิการทางไขสันหลังส่วนศรีษะนั้นๆ จึงสูญเสียความรู้สึกเจ็บปวด กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะไม่ได้ อาจมีน้ำคั่งในสมอง และกระดูกเท้าพิการ เช่น เท้าแป เด็กประเภทนี้จะยืนเดิน โดยใช้กายอุปกรณ์เสริมข. พิการด้วยโรคติดเชื้อ ( infection ) เช่น วัณโรคกระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุทำให้กระดูกส่วนนั้นพิการ เช่นขาสั่นเพราะการเจริญทางกระดูกขาหยุดชะงักค. กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักแสบ มีความพิการเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือทันท่วงทีภายหลังได้รับบาดเจ็บ
4.โปลิโอ อัมพาตชนิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่มีกำลังในการเคลื่อนไหว ต่อมาทำให้มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา เพียงพิการแขนขายืนเดินไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนได้ ด้วยกายอุปกรณ์เสริม
5.แขนขาด้วยแต่กำเนิด รวมทั้งเด็กที่เกิดมาด้วยลักษณะของอวัยวะที่มีความเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น นิ้วมือติดกัน 3-4 นิ้ว มีแต่แขนท่อนบนต่อกับนิ้วมือ ไม่มีข้อศอก ข้อมือ เป็นต้น เด็กที่แขนขาด้วยเนื่องจากอุบัติเหตุ ภัยอันตรายในวัยเรียนก็พบมาก พวกที่เป็นมาแต่กำเนิด จะได้รับการใส่การอุปกรณ์เทียมเมื่ออายุยังน้อย และสามารถปรับตัวได้แล้วเมื่อเริ่มเข้าเรียน แต่เด็กที่เป็นภายหลังเมื่อได้รับการบำบัดรักษาปรับสภาพ และฟื้นฟูสมรรถภาพแล้ว แม้สามารถเดินและใช้มือด้วยการอุปกรณ์เทียม ก็ยังต้องการการปรับตัวปรับใจอีกระยะหนึ่ง
6. โรคกระดูกอ่อน เด็กไม่เจริญเติบโตสมวัย ตัวเตี้ย มีลักษณะข้อกระดูกผิดปกติกระดูกยาวบิดเบี้ยวเห็นได้ชัดเจนจากกระดูกหน้าแข้ง
7. โรคลมชัก เป็นลักษณะอาการที่เนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมองที่พบบ่อยมี 3 ประเภท คือ
ก. ลมบ้าหมู ( grand mal ) เป็นชนิดรุนแรง เมื่อเป็นหมดสติและความรู้สึกในขณะชัก กล้ามเนื้อเกร็ง หรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น อาจชักเป็นระยะสั้น หรือนานหลายนาที ครั้งเดียวหรือหลายครั้งติดต่อกัน ภายหลังการชักเด็กซึม อ่อนเพลีย หรือหลับ และจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างชักไม่ได้
ข. พิทิต มอล ( petit mal ) เป็นอาการชักชั่วระยะสั้นๆ 5-10 วินาทีพบมากในเด็กวัยเรียนขณะมีอาการ เด็กจะหยุดชักในท่าก่อนชัก นั่งเฉยหลังจากนั้นก็จะเรียนหนังสือ หรือทำกิจกรรมต่อเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ค. พาร์เซียล คอมเพลกซ์ ( partil commplex ) หรือ ไซโคมอเตอร์ ( peychomotor ) หรือ เทมปอรัลโลบ ( temporal lobe ) เกิดอาการเป็นระยะๆ ตั้งแต่ไม่กี่วินาทีจนถึงหลายๆ ชั่วโมง ระหว่างมีอาการอาจกัดริมฝีปาก ทำท่าทางบางอย่างคล้ายไม่ตั้งใจ ไม่รู้สึก ถูตามแขนขา เดิน บางคนอาจเกิดความโกรธ หรือโมโห หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้และต้องการนอนพัก
8. โรคระบบทางเดินหายใจ โดยมีอาการเรื้อรังของโรคปอด เช่น หอบหืด วัณโรค ปอดบวม ที่มีอาการรุนแรงที่เป็นระยะยาวจนเกิดโรคแทรกซ้อน ปอดแฟบ
9. โรคเบาหวานในเด็ก เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างปกติเพราะขาดอินซูลิน
10. โรคข้ออักเสบรูมาตอย มีอาการปวดตามข้อเข่า ข้อศอก ข้อนิ้วมือ
11. โรคศรีษะโต เนื่องจากน้ำคั่งในช่องสมอง ส่วนมากเป็นแต่กำเนิด ถ้าได้รักการวินิจฉัยโรคเร็วและรับการรักษาอย่างถูกต้อง สภาพความพิการจะไม่รุนแรง เด็กสามารถปรับสภาพได้ และพื้นฐานสมรรถภาพได้ เช่น เด็กปกติ และถ้าไม่ได้รับการรักษาจะมีอาการอัมพาตของแขนขา สติปัญญาบกพร่อง หรือมีอาการชักบ่อยๆ
12. โรคหัวใจ ส่วนมากเป็นตั้งแต่กำเนิด เด็กจะตัวเล็ก เติบโตไม่สมอายุ ซีดเซียวเหนื่อย หอบง่าย อ่อนเพลีย ไม่แข็งแรงตั้งแต่กำเนิด ที่มีอาการมาก ปากเขียว เล็บมือ เล็บเท้าเขียว ถ้าได้รับการรักษาในวัยทารก เด็กจะมีสุขภาพสมบูรณ์เหมือนปกติได้
ลักษณะบางอย่างของเด็กพิการที่พอสังเกตได้
1. แขน ขา หรืออวัยวะภายนอกอื่นๆ มักเล็กผิดปกติ หรือสั้นผิดปกติ โค้งงอ ผิดปกติ หรืออาจพบในสภาพด้วน2. การเคลื่อนไหวมักลักษณะ แข็งทื่อ ไม่คล่องแคล่ว ไม่สามารถควบคุมได้ หรือเคลื่อนไหวไม่ได้นอกจากความผิดปกติทางการเคลื่อนไหวแล้ว เด็กประเภทนี้บางคนอาจมีความพิการทางปัญญาได้อีก อาจมีปัญหาในการพูด ฯลฯ
ลักษณะบางอย่างของเด็กเจ็บป่วยเรื้อรัง
1. รูปร่างเล็กกว่าอายุ2. ป่วยง่าย3. หน้าตาซีดเซียว4. ชัก กระตุก
ความต้องการพิเศษ
เด็กพิการทางร่างกาย และเด็กที่มีความบกพร่องทางสุขภาพ ที่อยู่ในโรงเรียนปกตินั้นมักเป็นความพิการในระดับที่พอช่วยตัวเองได้แล้ว และมักต้องมีกายอุปกรณ์ที่จำเป็นแล้วแต่อาจจะต้องพบกับแพทย์ เวชศาสตร์ฟื้นฟูและนักกายภาพบำบัดเป็นครั้งคราว ซึ่งทางโรงเรียนก็ต้องเอื้ออำนวยสถานการณ์ให้ อนึ่งสำหรับโรงเรียนที่รับเด็กเหล่านี้เข้าเรียนร่วม อาจจำเป็นต้องปรับสภาพอาคารเรียน ห้องน้ำ ห้องส้วม ทางเดินตามความเหมาะสมส่วนเด็กมี่มีความบกพร่องทางสุขภาพนั้น ครูต้องติดต่อใกล้ชิดกับผู้ปกครอง และแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ และการให้ความช่วยเหลือยามฉุกเฉิน
วัสดุอุปกรณ์
เด็กพิการทางร่างกาย ต้องการวัสดุอุปกรณ์ที่พิเศษจากเด็กปกติ คือ
1. เก้าอี้รถเข็น2. ไม้ค้ำยัน3. เครื่องช่วยเดิน4. ไม้เท้า5. รถลากที่มีน้ำหนักยึดพอสมควร หรือรถเข็น6. ขาหยั่ง สำหรับวาดภาพ แบบพับเก็บได้พร้อมเครื่องเขียนและเครื่องวาดเขียนที่ดัดแปลงให้สะดวกในการใช้
บริการพิเศษ
บริการแก้ไขการพูดบริการกายภาพบำบัดบริการกิจกรรมบำบัดบริการด้านการแพทย์บริการสอนซ่อมเสริมทั้งนี้ขึ้นกับสภาพความเหมาะสมเป็นรายๆ ไป
5. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด หมายถึง เด็กที่พูดไม่ชัดพูดออกเสียงผิดเพี้ยนหรือมีการพูดที่ผิดปกติ โดยการพูดนั้นเห็นได้เด่นชัดว่าผิดแปลกไปจากการพูดของคนทั่วไป เช่น ฟังไม่รู้เรื่อง สื่อความหมายต่อกันไม่ได้ หรือมีอากัปกิริยาที่ผิดปกติขณะพูด ความบกพร่องทางการพูด อาจจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. ความผิดปกติด้านการออกเสียง เช่น
ออกเสียงเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม เช่น พูดเสียงขึ้นจมูกเนื่องจากอิทธิพลของภาษาถิ่นเพิ่มหน่วยเสียงเข้าในคำโดยไม่จำเป็นเอาเสียงเหนึ่งมาแทนอีกเสียงเหนึ่ง เช่น กวาด - ฝาด
2. ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด ได้แก่ การพูดรัว การพูดติดอ่าง
3. ความผิดปกติด้านเสียง ได้แก่
ระดับเสียง เช่น การพูดเสียงสูงเกินไป ต่ำเกินไป หรือพูดระดับเสียงเดียวกันหมดความดัง เช่น พูดเยงดังมาก หรือเบามากจนเกินไปคุณภาพของเสียง เช่น พูดเสียงแตกพร่า เสียงแหบ เสียงหอบ เสียงขึ้นจมูก เสียงแปร่ง
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดนี้ จะมีลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่สาเหตุ เช่นเด็กที่พูดไม่ชัดเนื่องจากมีความบกพร่องทางการได้ยินมีลักษณะการพูดต่างจากเด็กที่บกพร่องทางการพูดเนื่องจากมีความบกพร่องทางอวัยวะที่ใช้พูดเช่น ปากแห่วง เพดานโหว่ หรือเด็กที่ปัญญาอ่อนก็มีลักษณะการพูดต่างไปจากเด็กปกติที่มีความบกพร่องทางพูด สำหรับเด็กปกติที่พูดไม่ชัดนั้น มักก่อให้เกิดปัญหาทางการเรียน อ่าน และเขียน เพราะเด็กจะอ่านและเขียนตามที่ออกเสียงพูดจึงควรได้รับการแก้ไขเสียตั้งแต่แรกเริ่ม และควรปรึกษากับนักแก้ไขการพูดอย่างใกล้ชิด
6. เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์/พฤติกรรม
เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม หมายถึงเด็กที่มีพฤติกรรมที่ส่งผลเสียงต่อพัฒนาการและการหรับตัว และขัดขวางการดำเนินชีวิตของผู้อื่น ดังนั้นเด็กที่หลบหนีคนอื่นไม่ยอมยุ่งเกี่ยวกับใคร ไม่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมถึงแม่ว่าจะมีสติปัญญาในระดับปกติก็จัดว่าเป็นเด็กมีปัญหาทางพฤติกรรมตามแบบแรกส่วนเด็กที่ประพฤติตนในลักษณะที่ทำให้ผู้ใกล้ชิดต้องสันสนวุ่นวายอยู่เป็นนิจ ก็คือเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมในลักษณะแรก คือ มีพฤติกรรมที่ขัดขวางการดำรงชีวิตของผู้อื่น ผู้ปกครองมักเรียกเด็กประเภทนี้ว่า “เด็กดื้อ“ “เด็กไม่ดี” “เด็กปรับตัวไม่ได้” “เด็กมีปัญหาทางสังคม” นักสังคมสงเคราะห์ก็เรียกเด็กปรับตัวไม่ได้ นักจิตวิทยาและนักบำบัดเรียก “เด็กมีปัญหาทางอารมณ์
อย่างไรก็ดีการที่จะพิจารณาตัดสินว่าพฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมที่มีปัญหาหรือไม่เป็น จำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ภาวะแวดล้อม ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล และเป้าหมายของแต่ละบุคคลมาประกอบด้วย เช่น พฤติกรรมบางอย่างหากเกิดขึ้นในโรงเรียนจะถือว่ามีปัญหา แต่ถ้าเกิดขึ้นนอกโรงเรียน ก็ไม่ถือว่าเป็นปัญหา เป็นต้น
ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม/อารมณ์
1. มีอารมณ์ไม่คงที่ อ่อนไหวง่าย2. มีความรู้สึกไม่มั่นคง ชอบพูดปด หวาดกลัวอย่างไม่มีเหตุผล3. มีปัญหาในการรับรู้4. มักทำอะไรซ้ำๆ5. มักมีปัญหาในการรับรู้6. ไม่อยู่สุข เคลื่อนไหวอยู่เสมอ อยู่นิ่งเฉยไม่ได้7. มีอาการชักกระตุก8. เก็บตัว เงื่องหงอย เศร้าซึม9. ชอบทำลายข้าวของ ทรัพย์สินทั้งส่วนตัวและของผู้อื่น10. ชอบแกล้งผู้อื่น ไม่ว่าตนหรือสัตว์ให้เดือดร้อนรำคาญใจ
พฤติกรรมบางอย่างในห้องเรียน
1. มักฝ่าฝืนคำสั่งครู หรือระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน2. ชอบล้อเลียนเพื่อนเพื่อความสนุกสนานของตนเอง3. มักชกต่อยและรังแกเพื่อนร่วมชั้นที่ดีกว่า4. ส่งเสียงดังทั้งเสียงพูดและเสียงหัวเราะเป็นที่รำคาญ5. ไม่กล้าพูดคุยกับครูและเพื่อน6. ไม่ทำงานที่ได้รับมอบหมาย เกียจคร้าน ฝันกลางวัน7. ก้าวร้าวในลักษณะของการใช้วาจาหรือกำลัง8. ต้องการคนเอาใจอยู่เสมอ ต้องการเพื่อน ต้องการที่พึ่งไม่เป็นตัวของตัวเอง9. มีอารมณ์โกรธรุนแรง และแสดงออกโดยฉับพลัน และรุนแรงเกินกว่าเหตุ10. อารมณ์ไม่มั่นคงและไม่คงเส้นคงวา11. ขาดสมาธิในการเรียน ความสนใจสั้น จึงมักทำงานไม่สำเร็จ12. ความจำไม่ดี มีความสับสน ไม่ทราบว่าตนเองกำลังทำอะไร13. ชอบทำอะไรซ้ำๆ และเป็นการกระทำซ้ำที่ไม่สามารถบังคับตนเองได้14. ช่างพูด ช่างถาม พูดจาไม่หยุด บางครั้งไม่ได้เนื้อหาสาระเลย15. ก่อกวน ชอบสร้างความรำคาญให้ผู้อื่น
ความต้องการพิเศษ
ได้รับการวินิจฉัยแต่โดยเนิ่นๆ เพื่อทราบปัญหาพฤติกรรมบำบัด หรือการปรับพฤติกรรม
7. เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ ( Learning Disability )
เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ หรือเรียกย่อๆ กันว่า LD หมายถึงเด็กที่มีความบกพร่องในขบวนการทางจิตวิทยาอันมีผลกระทบต่อเด็ก ทำให้เด็กมีปัญหาในการอ่าน การเขียน และการเรียนคณิตศาสตร์ การสะกดตัวอักษร การจัดจำพวก และการใช้เหตุผล ( ทั้งนี้ไม่รวมถึงเด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย ) การจะบอกว่าเด็กคนใดเป็นเด็ก LD หรือไม่จากการมองดูนั้นเป็นไปได้ยากมากเพราะเด็ก LD จะมีลักษณะบางอย่างที่ไม่อาจสังเกตได้ ในสมัยก่อน เด็กประเภทนี้จะถูกครูเขียนลงในสมุดรายงานว่า “สติปัญญาทึบ” แล้วก็ไม่มีการช่วยเหลือใดๆ สมัยต่อมาได้มีการศึกษาเพื่อเข้าใจเด็กมากขึ้น จึงพบว่าความด้อยสมรรถภาพทางการเรียนนั้นเป็นผลเนื่องมาจากภาวะทางอารมณ์และระบบประสาทซึ่งปรวนแปรไป เช่น สมองได้รับบาดเจ็บ ทำให้การรับรู้บกพร่องไปเป็นต้น หรือภาวะทางบ้านหรือทางโรงเรียนก่อให้เกิดความเครียดอย่างยิ่งอยูเป็นนิจ ทำให้เด็กเรียน อ่าน เขียนเลข ไม่สำเร็จทั้งๆ ที่มีสติปัญหาดีพอ การที่เด็กเรียนได้ไม่ดี หรือไม่ประสบความสำเร็จนั้น ทำให้เด็กมีพฤติกรรมของความอยู่ไม่สุขทางกายมากขึ้น และลดความมีใจจดจ่อหรือลดสมาธิลงช่วงความสนใจสั้น เด็กเหล่านี้จึงถูกตราว่าเป็นเด็กซุกซน อยู่ไม่สุข เป็นที่เอือมระอาแก่ครูอาจารย์
ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้
จะทราบได้อย่างไรว่าเด็กคนใดในห้องเรียนของเราเป็นเด็ก LD? คำตอบงายๆ ก็คือ “เด็กที่อาจมีศักยภาพสูงแต่มีผลการเรียนต่ำ” ปัญหาต่อมาก็คือ เราจะวัดศักยภาพของเด็กอย่างแม่นยำได้อย่างไร ปัจจุบันไม่มีการวัดที่เชื่อถือได้ 100 % แต่มีข้อสังเกตจากพฤติกรรมและปัญหาต่างๆ ดังนี้
1. มีความบกพร่องเกี่ยวกับระบบประสาท ( Neurological Dysfunction ) ทำให้เด็กมีปัญหาในการรับรู้ ปัจจุบันได้มีการทดสอบที่เรียกว่า “Neurometrics” มาใช้ในการวินิจฉัยและเยียวยา เช่นการใช้เครื่องวัดคลื่นสมองที่เรียกย่อๆ ว่า EEG ซึ่งพบว่าสมองของเด็กที่ด้อยความสามารถทางการเรียนนั้น มีอยู่หลายบริเวณที่แสดงการปฏิบัติหน้าที่สับสน หรือการสำรวจสมองโดยใช้เอกซเรย์ แบบอาศัยคอมพิวเตอร์ที่เรียก Computerized Axial Tomographyที่เรียกย่อ ๆ ว่า CAT Scan เครื่องวัดเหล่านี้จัดเป็น Neurometrics ซึ่งแสดงให้เห็นความบกพร่องด้านกายภาพของสมองที่ทำให้เกิดความผิดปกติทางพฤติกรรมต่างๆ หรือทำให้ด้อยความสามารถทางการเรียน “ความด้อย” ดังกล่าวมีหลายประเภท เช่น ด้วยทางภาษา ก็จะจับความหมายของถ้อยคำไม่ถูกต้อง จึงเป็นอุปสรรคในการเรียน เขียน อ่าน บางคนก็ด้อยด้านเกี่ยวกับตัวเลข บางคนด้อยทั้งภาษาและเลข ทั้งนี้สุดแล้วแต่ความบกพร่องของสมอง 2. มีการเจริญเติบโตไม่คงที่ ไม่แน่นอน 3. มีปัญหาในการรับรู้ มักเป็นเด็กที่มีช่วงความสนใจสั้น ทำให้ไม่สามารถเรียนได้ดีเพราะขาดความสนใจ 4. มีปัญหาในการพูด ไม่อาจแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาด้วยการพูดได้ 5. มีปัญหาในการฟัง คือได้ยินเสียงแต่จับใจความไม่ได้ 6. มีปัญหาในการเขียน 7. มีปัญหาในการอ่าน 8. มีปัญหาในการเรียนคณิตศาสตร์
8. เด็กปัญญาเลิศ
เด็กปัญญาเลิศ หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา และความถนัดเฉพาะทางอยู่ระดับสูงกว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน คำที่ใช้ในความหมายที่มีอยู่หลายคำ เช่น เด็กปัญญาเลิศ เด็กอัจฉริยะ เด็กฉลาด เด็กมีพรสวรรค์ ฯลฯ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ความหมายของคำว่า “เด็กปัญญาเลิศ” นั้น ยังไม่ได้มีผู้ให้คำจำกัดความที่แน่นอน และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป สำหรับในประเทศไทยเมื่อพูดถึงเด็กปัญญาเลิศ ก็มักนึกถึงเด็กที่เรียนเก่ง สอบได้คะแนนดีหรือถือเอาเรื่องของความถนัดเฉพาะทางซึ่งเรียกกันว่า พรสวรรค์ในด้านที่เห็นได้ชัด เช่น ทางศิลปะ และดนตรีเป็นหลัก ดังนั้นเด็กที่ไม่มีโอกาสแสดงความสามารถไม่ว่าทางใด เช่น เด็กยากจน หรือยู่ในสิ่งแวดล้อมจำกัดไม่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นเด็กมีความสามารถ ก็ไม่มีโอกาสได้ชื่อว่าเป็นเด็กปัญญาเลิศ ในปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้พยายามประชุมหาวิธีการคัดเลือกและส่งเสริมเด็กปัญญาเลิศ ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ายิ่งของประเทศ จึงได้นิยามคำว่า “ปัญญาเลิศ” ไว้เป็นกว้างๆ โดยรวมเด็กฉลาดไว้หลายประเภทกล่าวคือ “เด็กปัญญาเลิศ” หมายถืงเด็กซึ่งมีความสามารถดีเด่นเป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญในวงการที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ต้องการแผนการศึกษาพิเศษ และบริการพิเศษนอกเหนือไปจากเด็กปกติ เพื่อพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ให้ถึงขีดสูงสุด เด็กเหล่านี้ได้แก่ เด็กที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง และ/หรือมีความถนัดเฉพาะทางซึ่งอาจเป็นด้านใดด้านหนึ่ง หรือรวมกันหลายๆ ด้าน เช่น ด้านการเป็นผู้นำ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านศิลปะ และดนตรี ฯลฯ เป็นต้น
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่พอสังเกตได้
1. มีพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจที่เจริญเติบโตได้เร็วกว่าเด็กปกติ2. มีความสามารถในการเรียนรูสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย3. มีความอยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบชักถาม4. มีความสามารถในการแก้ปัญหา การใช้สามัญสำนึก และสามารถนำความรู้ที่มีไปใช้ได้ในชีวิตจริง5. มีเหตุผล ความคิดดี6. จดจำสิ่งที่เคยเห็นเคยอ่านได้รวดเร็วและแม่นยำ7. มีความรู้กว้างขวางเกินวัย8. ใช้คำศัพท์กว้างขวาง ถูกต้องแม่นยำและปริมาณคำที่รู้จักก็มีมาก9. มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆ แต่ใช้การได้ดีและมีอารมณ์ขัน10. เป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต11. มีแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่นมีความจริงจังในการทำงาน12. ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน
พฤติกรรมบางอย่างในห้องเรียน
1. เข้าใจได้ง่าย และรวดเร็ว มักมีคำถามชวนคิด2. สมาธิในการเรียนและการทำงานดี3. สนใจและสนุกกับปัญหาที่ยากซับซ้อน4. อ่านหนังสือได้เร็วกว่าอายุ5. ชอบประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ หรือในแนวใหม่ๆ 6. ใช้ภาษาได้ดี รู้จักคำศัพท์กว้างขวางเกินวัย7. ชอบเรียนหนังสือ8. แก้ปัญหาด้วยวิธีการหลากหลาย9. มีลักษณะเป็นผู้นำในกลุ่มเด็กวัยเดียวกัน
ความต้องการพิเศษ
เด็กปัญญาเลิศ เป็นเด็กที่เรียนสิ่งต่างๆ ได้รวดเร็ว ดังนั้นหากเนื้อหาและวิธีการสอนที่ใช้กับเด็กปกติ จึงมักทำให้เด็กเหล่านี้เบื่อง่าย เพราะไม่ท้าทายความคิด หากครูไม่เข้าใจก็จะกลายเป็นเด็กที่มีปัญหา ก่อกวนความสงบสุขของชั้นไปได้ ทางโรงเรียนจึงควรจัดบริการสอนเสริมให้กับเด็ก ซึ่งอาจทำในรูปของ
1. การจัดชั้นพิเศษ โดยคัดแยกเด็กเก่งมาเรียนในกลุ่มเดียวกัน และจัดหลักสูตรพิเศษให้สอดคล้องกับความสนใจและความสามารถของเด็ก2. การสอนเร่ง เป็นการเรียนหลักสูตรปกติในเวลาที่น้อยลง เช่น การเรียนข้ามชั้น ควบชั้น เป็นต้น3. การสอนเพิ่ม เป็นการเสริมความรู้และประสบการณ์ของเด็กให้กว้างขวางและลึกซึ้งมากขึ้น นอกเหนือจากกิจกรรมในชั้นเรียน และ/หรือให้โอกาสได้ฝึกฝนเล่าเรียนในแขนงวิชาที่เด็กมีความถนัดเป็นพิเศษ
9. เด็กออทิสติค
เด็กออทิสติค คือเด็กที่มีความผิดปกติด้านพัฒนาการสังคม อารมณ์และการสื่อภาษา อาจมีหรือไม่มีภาวะปัญญาอ่อนร่วมด้วยก็ได้ อาการแรกพบมักอยู่ในช่วงอายุ 30-36 เดือน หรือ 3 ขวบแรกของชีวิต สำหรับการพัฒนาการทางร่างกายปกติดี ยกเว้นในกรณีมีภาวะปัญญาอ่อนร่วมด้วยก็จะมีพัฒนาการทางร่างกายล่าช้าได้ อาการของเด็กออทิสติคที่กล่าวข้างต้นคือ อาการที่เป็นปัญหาทางจิตเวชเด็กอย่างรุนแรง ที่เรียกว่า ออทิสซึ่ม ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากความผิดปกติทางระบบประสาท แต่ยังไม่มีการสรุปสาเหตุที่แน่ชัดว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสาเหตุจากการเลี้ยงดู ความเครียดจากภาวะแวดล้อมหรือปัจจัยทางชีวิภาพ เช่น พันธุกรรม
ลักษณะบางอย่างที่พอสังเกตได้
ลักษณะต่อไปนี้เป็นข้อบ่งชี้ที่เป็นปัจจัยอาการของเด็กออทิสติค
ก. การสูญเสียทางด้านสังคมและการไม่มีปฏิบัติต่อสัมพันธภาพของบุคคล
ไม่สนใจใครแสดงทีท่าไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่รู้จักช่วยตัวเองจากอันตรายต่างๆ เลียนแบบการกระทำของคนอื่นไม่เป็นเล่นกับใครไม่เป็นไม่สนใจจะมีเพื่อน ผูกมิตรกับใครไม่เป็นมีพฤติกรรมการเคลื่อนไหวที่ชอบทำเป็นประจำเหมือนอยู่ในโลกของตัวเอง
ข. การสูญเสียด้านการสื่อความหมาย ทั้งที่ใช้คำพูดและไม่ใช้คำพูด
ไม่ส่งเสียงพูดขาดจินตนาการในการเล่นพูดผิดปกติทั้งการเปล่งเสียงและเนื้อหาการพูดพูดกับใครไม่ได้นานและจะพูดเฉพาะเรื่องที่ตัวเองสนใจ
ค. มีการกระทำความสนใจซ้ำซากอย่างเด่นชัด
มีการเคลื่อนไหวของร่างกายซ้ำๆหมกมุ่นหรือสนใจกับส่วนเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวทำสิ่งที่เคยทำซ้ำๆ รวมทั้งรายละเอียดก็เหมือนเดิมสนใจในขอบเขตที่จำกัดและหมกมุ่นในรายละเอียด
ทั้งนี้จะต้องเริ่มพบอาการในช่วงอายุระหว่าง 30-36 เดือน โดยมีพฤติกรรมที่กล่าวแล้วไม่น้อยกว่า 8 ข้อ และเมื่อพิจารณาในรายละเอียดจะต้องพบพฤติกรรมในกลุ่ม ข้อ ก. อย่างน้อย 2 ข้อ ข. อย่างน้อย 1 ข้อ และกลุ่มข้อ ค. อย่างน้อย 1 ข้อ
ความต้องการพิเศษ
เนื่องจากอาการออทิสซึ่ม จะปรากฎตั้งแต่วัยเด็กพ่อแม่จึงต้องเข้าใจช่วยเหลืออย่างจริงจัง โดยร่วมมือกับแพทย์อย่างใกล้ชิด การบำบัดรักษาเพื่อช่วยเหลือเด็กออทิสติค นั้นจะใช้วิธีการ 4 วิธีหลักคือ จิตบำบัดการใช้ยา พฤติกรรมบำบัด และการศึกษาพิเศษ
อย่างไรก็ดีเด็กออทิสติคมักมีความสามารถและพฤติกรรมค่อนข้างแตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องมีโปรแกรมการศึกษารายบุคคล ฝึกพ่อแม่เด็กให้สามารถกระตุ้นพัฒนาการให้เด็ก และควรเน้นวิธีการพัฒนาการสื่อสาร เช่น การฝึกพูด การฝึกออกเสียง ตลอดจน การฝึกความสามารถในการเข้าสังคม โดยใช้วิธีปรับพฤติกรรม เด็กที่ได้รับการช่วยเหลือแต่เนินๆ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาโดยใช้ยา พฤติกรรมบำบัด หรือการศึกษาพิเศษ จะมีโอกาสพัฒนาตนเอง จนมีพฤติกรรมทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ปกติได้ และมีความสามารถในการเรียนรู้ในกรณีเช่นนี้ เด็กจะสามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้












ทฤษฎีการเรียนรู้




ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ ( Gagne )
การจูงใจ ( Motivation Phase) การคาดหวังของผู้เรียนเป็นแรงจูงใจในการเรียนรู้
การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase) ผู้เรียนจะรับรู้สิ่งที่สอดคล้องกับความตั้งใจ
การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase) เพื่อให้เกิดความจำระยะสั้นและระยะยาว
ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase )
การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน ( Feedback Phase) ผู้เรียนได้รับทราบผลเร็วจะทำให้มีผลดีและประสิทธิภาพสูง
องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ จากแนวคิดนักการศึกษา กาเย่ ( Gagne) คือ
ผู้เรียน ( Learner) มีระบบสัมผัสและ ระบบประสาทในการรับรู้
สิ่งเร้า ( Stimulus) คือ สถานการณ์ต่างๆ ที่เป็นสิ่งเร้าให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้
การสอนด้วยสื่อตามแนวคิดของกาเย่ (Gagne)
เร้าความสนใจ มีโปรแกรมที่กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน เช่น ใช้ การตูน หรือ กราฟิกที่ดึงดูดสายตา ความอยกรู้อยากเห็นจะเป็นแรงจูงใจให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียน การตั้งคำถามก็เป็นอีกสิ่งหนึ่ง
บอกวัตถุประสงค์ ผู้เรียนควรทราบถึงวัตถุประสงค์ ให้ผู้เรียนสนใจในบทเรียนเพื่อให้ทราบว่าบทเรียนเกี่ยวกับอะไร
กระตุ้นความจำผู้เรียน สร้างความสัมพันธ์ในการโยงข้อมูลกับความรู้ที่มีอยู่ก่อน เพราะสิ่งนี้สามารถทำให้เกิดความทรงจำในระยะยาวได้เมื่อได้โยงถึงประสบการณ์ผู้เรียน โดยการตั้งคำถาม เกี่ยวกับแนวคิด หรือเนื้อหานั้นๆ
เสนอเนื้อหา ขั้นตอนนี้จะเป็นการอธิบายเนื้อหาให้กับผู้เรียน โดยใช้สื่อชนิดต่างๆ ในรูป กราฟฟิก หรือ เสียง วิดีโอ
การยกตัวอย่าง การยกตัวอย่างสามารถทำได้โดยยกกรณีศึกษา การเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจได้ซาบซึ้ง
การฝึกปฎิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะหรือพฤติกรรม เป็นการวัดความเข้าใจว่าผู้เรียนได้เรียนถูกต้อง เพื่อให้เกิดการอธิบายซ้ำเมื่อรับสิ่งที่ผิด
การให้คำแนะนำเพิ่มเติม เช่น การทำแบบฝึกหัด โดยมีคำแนะนำ
การสอบ เพื่อวัดระดับความเข้าใจ
การนำไปใช้กับงานที่ทำ ในการทำสื่อควรมี เนื้อหาเพิ่มเติม หรือหัวข้อต่างๆ ที่ควรจะรู้เพิ่มเติม






หลักการและทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้

ความหมาย "การเรียนรู้"
ทุกวันเราทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมายเช่น เราขับรถไปซื้อของได้ เราใช้คอมพิวเตอร์เป็นเราไปเล่นกีฬา เราเดินทางมามหาวิทยาลัย และเข้าฟังการบรรยายถูกห้อง เดินไปโรงอาหารโดยไม่ต้องคิด อ่านหนังสือได้ อย่างสบาย ฯลฯ นักศึกษาเคยสงสัยหรือไม่ว่า อะไรเป็นตัวการที่ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการที่เราทำบางสิ่งบางอย่างไม่ได้ มาเป็นทำได้ อย่างเช่นเมื่อก่อนเราขับรถไม่เป็น แต่ปัจจุบันขับเป็น หรือเมื่อก่อนเราว่ายน้ำ ไม่เป็นแต่ปัจจุบันว่ายเป็น คำถามลักษณะนี้นักศึกษาสามารถหาคำตอบได้ในหัวข้อ "การเรียนรู้"
การเรียนรู้ ตามความหมายทางจิตวิทยา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของบุคคลอย่างค่อนข้างถาวร อันเป็นผลมาจากการฝึกฝนหรือการมีประสบการณ์ จากความหมายดังกล่าว พฤติกรรมของบุคคลที่เกิดจากการ เรียนรู้จะต้องมีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. พฤติกรรมที่เปลี่ยนไปจะต้องเปลี่ยนไปอย่างค่อนข้างถาวร จึงจะถือว่าเกิดการเรียนรู้ขึ้น หากเป็นการ เปลี่ยนแปลงชั่วคราวก็ยังไม่ถือว่าเป็นการเรียนรู้ เช่น นักศึกษาพยายามเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ บางคำ หากนักศึกษาออกเสียงได้ถูกต้องเพียงครั้งหนึ่ง แต่ไม่สามารถออกเสียงซ้ำให้ถูกต้องได้อีก ก็ไม่นับว่า นักศึกษาเกิดการเรียนรู้การออกเสียงภาษาต่างประเทศ ดังนั้นจะถือว่านักศึกษาเกิดการเรียนรู้ก็ต่อเมื่อออก เสียงคำ ดังกล่าวได้ถูกต้องหลายครั้ง ซึ่งก็คือเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรนั่นเอง อย่างไรก็ดี ยังมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมแต่เปลี่ยนแปลงชั่วคราวอัน เนื่องมาจากการที่ ร่างกายได้รับสารเคมี ยาบางชนิด หรือเกิดจากความเหนื่อยล้า เจ็บป่วยลักษณะดังกล่าวไม่ถือว่าพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปนั้นเกิดจากการเรียนรู้
2. พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจะต้องเกิดจากการฝึกฝน หรือเคยมีประสบการณ์นั้น ๆ มาก่อน เช่น ความ สามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ต้องได้รับการฝึกฝน และถ้าสามารถใช้เป็นแสดงว่าเกิดการเรียนรู้ หรือความ สามารถในการขับรถ ซึ่งไม่มีใครขับรถเป็นมาแต่กำเนิดต้องได้รับการฝึกฝน หรือมีประสบการณ์ จึงจะขับรถเป็น ในประเด็นนี้มีพฤติกรรมบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยที่เราไม่ต้องฝึกฝนหรือมีประสบการณ์ ได้แก่ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ และพฤติกรรมที่เกิดจากแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์ (โบเวอร์ และอัลการ์ด 1987, อ้างถึงใน ธีระพร อุวรรณโน,2532:285) ขอยกตัวอย่างแต่ละด้านดังนี้
ในด้านกระบวนการเจริญเติบโต หรือการมีวุฒิภาวะ ได้แก่ การที่เด็ก 2 ขวบสามารถเดินได้เอง ขณะที่ เด็ก 6 เดือน ไม่สามารถเดินได้ฉะนั้นการเดินจึงไม่จัดเป็นการเรียนรู้แต่เกิดเพราะมีวุฒิภาวะ เป็นต้น ส่วนใน ด้านแนวโน้มการตอบสนองของเผ่าพันธุ์โบเวอร์ และฮิลการ์ด ใช้ในความหมาย ที่หมายถึงปฏิกริยาสะท้อน (Reflex) เช่น กระพริบตาเมื่อฝุ่นเข้าตา ชักมือหนีเมื่อโดนของร้อน พฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้เกิดจากการเรียนรู้ แต่เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติของเผ่าพันธุ์มนุษย์
ทฤษฎีการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ทางจิตวิทยาอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theory)
ทฤษฎีในกลุ่มนี้ อธิบายว่า การเรียนรู้ในสิ่งต่างๆ เป็นการสร้างความสัมพันธ์หรือเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า กับการตอบสนอง ทฤษฎีที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้วางเงื่อนไขแบบคลาสสิก หรือแบบสิ่งเร้าและ ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
2. ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (Cognitive theory)
ทฤษฎีในกลุ่มนี้อธิบายว่า การเรียนรู้เป็นผลของกระบวนการคิด ความเข้าใจ การรับรู้สิ่งเร้าที่มากระตุ้น ผสมผสานกับประสบการณ์ในอดีตที่ผ่านมาของบุคคล ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ซึ่งการผสมผสานระหว่าง ประสบการณ์ที่ได้รับในปัจจุบันกับประสบการณ์ในอดีต จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการทางปัญญาเข้ามามีอิทธิพลในการเรียนรู้ด้วย ทฤษฎีกลุ่มนี้จึงเน้นกระบวนการทางปัญญา (Cognitive Process) มากกว่า การวางเงื่อนไข เพื่อให้เกิดพฤติกรรม ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ปัญญาทางสังคม การเรียนรู้แบบการหยั่งรู้ เป็นต้น
ตัวอย่างทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญ
1. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิก (Classical Conditioning Theory) หรือ แบบสิ่งเร้า
ผู้ค้นพบการเรียนรู้ลักษณะนี้คือ อีวาน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov, 1849–1936) นักสรีรวิทยาชาวรัสเซียที่มีชื่อเสียงมาก พาฟลอฟสนใจศึกษาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร โดยได้ทำการ-ทดลองกับสุนัข ระหว่างที่ทำการทดลอง พาฟลอฟสังเกตเห็นปรากฎการณ์บางอย่างคือ ในบางครั้งสุนัขน้ำลายไหลโดยที่ยังไม่ได้รับอาหารเพียงแค่เห็น ผู้ทดลองที่เคยเป็นผู้ให้อาหารเดินเข้ามาในห้องนั้น สุนัขก็น้ำลายไหลแล้ว จากปรากฎการณ์ดังกล่าวจุดประกาย ให้พาฟลอฟคิดรูปแบบการทดลองเพื่อหาสาเหตุให้ได้ว่า เพราะอะไรสุนัขจึงน้ำลายไหลทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รับอาหาร พาฟลอฟเริ่มการทดลองโดยเจาะต่อมน้ำลายของสุนัขและต่อสายรับน้ำลายไหลออกสู่ขวดแก้วสำหรับวัดปริมาณน้ำลาย จากนั้นพาฟลอฟก็เริ่มการทดลองโดยก่อนที่จะให้อาหารแก่สุนัขจะต้องสั่นกระดิ่งก่อน (สั่นกระดิ่งแล้วทิ้งไว้ประมาณ .25 –.50 วินาที) แล้วตามด้วยอาหาร (ผงเนื้อ) ทำอย่างนี้อยู่ 7–8 วัน จากนั้นให้เฉพาะแต่เสียงกระดิ่ง สุนัขก็ตอบสนองคือน้ำลายไหลปรากฎการณ์เช่นนี้เรียกว่าพฤติกรรมสุนัขถูกวางเงื่อนไขหรือเรียกว่าสุนัขเกิดการเรียนรู้การวางเงื่อนไขเบบคลาสสิก
2. ทฤษฎีปัญญาทางสังคม (Social Cognitive theory)
แนวคิดพื้นฐาน
1. แบนดูรามีทัศนะว่า พฤติกรรม (behavior หรือ B) ของมนุษย์มีปฏิสัมพันธ์กับปัจจัยหลักอีก 2 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยทางปัญญาและปัจจัยส่วนบุคคลอื่น ๆ (Personal Factor หรือ P) 2) อิทธิพลของสภาพ แวดล้อม (Environmental Influences หรือ
2 แบนดูราได้ให้ความแตกต่างระหว่างการเรียนรู้ (Learning) กับการกระทำ(Performance)ซึ่งสำคัญมาก เพราะคนเราอาจจะเรียนรู้อะไรหลายอย่างแต่ไม่จำเป็นต้องแสดงออกทุกอย่าง เช่นเราอาจจะเรียนรู้วิธีการ ทุจริตในการสอบว่าต้องทำอย่างไรบ้าง แต่ถึงเวลาสอบจริงเราอาจจะไม่ทุจริตก็ได้ หรือเราเรียนรู้ว่าการพูดจาและแสดงกริยาอ่อนหวาน กับพ่อ แม่เป็นสิ่งดีแต่เราอาจจะไม่เคยทำกริยาดังกล่าวเลยก็ได้ 3. แบนดูราเชื่อว่าการเรียนรู้ของมนุษย์ส่วนมากเป็นการเรียนรู้โดยการสังเกต (Observational Learning) หรือการเลียนแบบจากตัวแบบ (Modeling) สำหรับตัวแบบไม่จำเป็นต้องเป็นตัวแบบที่มีชีวิตเท่านั้น แต่อาจจะ เป็นตัวแบบสัญลักษณ์ เช่น ตัวแบบที่เห็นในโทรทัศน์ ภาพยนตร์ เกมส์คอมพิวเตอร์ หรืออาจจะเป็นรูปภาพ การ์ตูน หนังสือ นอกจากนี้ คำบอกเล่าด้วยคำพูดหรือข้อมูลที่เขียนเป็นลายลักษณ์-อักษรก็เป็นตัวแบบได้
3. กระบวนการเรียนรู้โดยการสังเกต
การเรียนรู้โดยการสังเกต หรือการเลียนแบบประกอบไปด้วย 4 กระบวนการ คือ กระบวนการใส่ใจ กระบวนการเก็บจำ กระบวนการกระทำและกระบวนการจูงใจ 1. กระบวนการใส่ใจ (Attentional processes) เป็นกระบวนการที่มนุษย์ใส่ใจและสนใจรับรู้พฤติกรรมของตัวแบบ การเรียนรู้โดยการสังเกต จะเกิดขึ้นได้มากก็ต่อเมื่อบุคคลใส่ใจต่อพฤติกรรมของตัวแบบ แต่การจะใส่ใจได้มากน้อยเพียงไรขึ้น อยู่กับปัจจัยหลัก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยเกี่ยวกับตัวแบบ และปัจจัยเกี่ยวกับผู้สังเกต
ปัจจัยเกี่ยวกับตัวแบบ ได้แก่- ความเด่นชัด ตัวแบบที่มีความเด่นชัดย่อมดึงดูดให้คนสนใจได้มากกว่าตัวแบบที่ไม่เด่น- ความซับซ้อนของเหตุการณ์ เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับตัวแบบถ้ามีความซับซ้อนมากจะทำให้ผู้สังเกตมีความใส่ใจน้อยกว่าเหตุการณ์ที่มีความซับซ้อนน้อย- จำนวนตัวแบบ พฤติกรรมหนึ่ง ๆ หากมีตัวแบบแสดงหลายคนก็เรียกความสนใจใส่ใจจากผู้สังเกตได้มาก หรือการมีตัวแบบที่หลากหลายก็เรียกความสนใจจากผู้สังเกตได้มากเช่นกัน- คุณค่าในการใช้ประโยชน์ ตัวแบบที่แสดงพฤติกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้สังเกตจะได้รับความสนใจมากกว่าตัวแบบที่เป็นไปในทางตรงข้าม เช่น ผู้ที่สนใจการทำอาหารก็จะให้ความใส่ใจเป็นพิเศษกับรายการโทรทัศน์ ที่สอนการทำอาหาร เป็นต้น - ความรู้สึกชอบ/ไม่ชอบ ถ้าผู้สังเกตมีความรู้สึกชอบตัวแบบอยู่แล้ว ผู้สังเกตก็จะให้การใส่ใจกับพฤติกรรมของตัวแบบมากกว่ากรณีที่ผู้สังเกตไม่ชอบตัวแบบนั้นเลย ฉะนั้น การโฆษณาสินค้าผ่านสื่อโทรทัศน์ จึงมักใช้ตัวแบบที่เป็นชื่นชอบของประชาชนมาเป็นตัวแบบเพื่อกชวนให้ประชาชนใช้สินค้าที่โฆษณา โดยคาดหวังให้ประชาชนใส่ใจกับการโฆษณาของตน
ปัจจัยเกี่ยวกับผู้สังเกต- ความสามารถในการรับรู้ รวมถึงความสามารถในการเห็น การได้ยิน การอ่าน การรู้รส การรู้ กลิ่น และการสัมผัส ผู้สังเกตที่มีความสามารถในการรับรู้สูงก็มีโอกาสใส่ใจกับตัวแบบได้มากกว่าผู้สังเกตที่มีความสามารถในการรับรู้ต่ำ- ระดับความตื่นตัว การวิจัยทางจิตวิทยาพบว่าบุคคลที่มีความตื่นตัวระดับปานกลางมีโอกาสจะ ใส่ใจกับพฤติกรรมของตัวแบบได้มากกว่าบุคคลที่มีความตื่นตัวต่ำ เช่น กำลังง่วงนอน หรือมี ความตื่นตัวสูง เช่น กำลังตกใจหรือดีใจอย่างมาก- ความชอบ/รสนิยมที่มีมาก่อน ผู้สังเกตมักมีความชอบสังเกตตัวแบบบางชนิดมากกว่าตัวแบบบางชนิดอยู่ก่อนแล้ว ดังนั้นตัวแบบที่สอดคล้องกับความชอบของผู้สังเกตก็ทำให้ผู้สังเกตใส่ใจ กับตัวแบบได้มาก เช่น เด็กเล็กชอบดูการ์ตูนมาก ตัวการ์ตูนก็มีโอกาสเป็นตัวแบบให้กับเด็ก ได้มาก ส่วนวัยรุ่นมักชอบตัวแบบที่เป็นนักร้อง นักแสดงยอดนิยมเป็นต้น2. กระบวนการเก็บจำ (Retention processes) เป็นขั้นที่ผู้สังเกตบันทึกสิ่งที่ตนสังเกตจากตัวแบบไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว ซึ่งอาจจะ เก็บจำในรูปของภาพ หรือคำพูดก็ได้ แบนดูราพบว่า ผู้สังเกตที่สามารถอธิบายพฤติกรรมของตัวแบบ ออกมาเป็นคำพูด หรือสามารถมีภาพของสิ่งที่ตนสังเกตไว้ในใจจะเป็นผู้ที่สามารถจดจำสิ่งที่เรียนรู้โดย การสังเกตได้ดีกว่าผู้ที่เพียงแต่ดูเฉย ๆ หรือทำงานอื่นในขณะที่ดูตัวแบบไปด้วย สรุปแล้วผู้สังเกตที่สามารถระลึกถึงสิ่งที่สังเกตเป็นภาพพจน์ในใจ (Visual Imagery) และสามารถเข้ารหัสด้วยคำพูด หรือถ้อยคำ (Verbal Coding) จะเป็นผู้ที่สามารถแสดงพฤติกรรมเลียนแบบจากตัวแบบได้แม้ว่าเวลาจะผ่านไปนาน และนอกจากนี้ถ้าผู้สังเกตมีโอกาสที่จะได้เห็นตัวแบบแสดงสิ่งที่จะต้องเรียนรู้ซ้ำก็จะเป็น การช่วยความจำให้ดียิ่งขึ้น
3. กระบวนการกระทำ (Production processes) เป็นกระบวนการที่ผู้สังเกตเอาสิ่งที่เก็บจำมาแปลงเป็นการกระทำ ปัจจัยที่สำคัญของกระบวนการนี้คือ ความพร้อมทางด้านร่างกายและทักษะที่จำเป็นจะต้องใช้ในการเลียนแบบของผู้สังเกต ถ้าผู้สังเกตไม่มีความพร้อมก็ไม่สามารถที่จะแสดงพฤติกรรมเลียนแบบได้แบนดูรา กล่าวว่า การเรียนรู้โดยการสังเกตหรือการเลียนแบบไม่ใช่เป็นพฤติกรรมที่ลอกแบบอย่างตรงไปตรงมา การเรียนรู้โดยการสังเกตมีปัจจัยในเรื่อง กระบวนการทางปัญญา (Cognitive Process) และความพร้อมทางด้านร่างกายของผู้สังเกต ฉะนั้นในขั้นกระบวนการกระทำ หรือขั้นของการแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบของแต่ละบุคคลจึงต่างกันไป ผู้สังเกตบางคนอาจจะทำได้ดีกว่าตัวแบบหรือบางคนก็สามารถเลียนแบบ ได้เหมือนมาก ในขณะที่บางคนก็อาจจะทำได้ไม่เหมือนกับตัวแบบเพียงแต่คล้ายคลึงเท่านั้น หรือบางคนอาจจะไม่สามารถแสดงพฤติกรรมเหมือนตัวแบบเลยก็ได้
4. กระบวนการจูงใจ (Motivation process) ตามที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อแนวคิดพื้นฐานข้อที่ 2 คือ แบนดูราแยกความแตกต่างระหว่าง การเรียนรู้ (Learning ) ออกจาก การกระทำ (Performance) นั่นคือ เราไม่จำเป็นต้องแสดงพฤติกรรม ทุกอย่างที่ได้เรียนรู้ออกมา เราจะทำหรือไม่ทำพฤติกรรมนั้น ๆ ก็ขึ้นอยู่กับว่าเรามีแรงจูงใจมากน้อย แค่ไหน เช่น เราอาจจะเรียนรู้วิธีการเต้นแอโรบิค จากโทรทัศน์ แต่เราก็ไม่ยอมเต้นอาจจะเป็น เพราะขี้เกียจ ฯลฯ แต่อยู่มาวันหนึ่ง เราไปเจอเพื่อนเก่าซึ่งทักว่าเราอ้วนมากน่าเกลียด คำประณาม ของเพื่อนสามารถจูงใจให้เราลุกขึ้นมาเต้นแอโรบิค จนลดความอ้วนสำเร็จ เป็นต้น4. การเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ (Insight Learning)
นักจิตวิทยาที่สนใจเรื่องการเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ และทำการทดลองไว้คือ โคท์เลอร์ (Kohler, 1925)โคท์เลอร์ ได้ทดลองกับลิงชื่อ "สุลต่าน" โดยขังสุลต่านไว้ในกรง และเมื่อสุลต่านเกิดความหิว เพราะถึง เวลาอาหาร โคท์เลอร์ ได้วางผลไม้ไว้นอกกรงในระยะที่สุลต่านไม่สามารถเอื้อมถึงได้ด้วยมือเปล่าพร้อม กับวางท่อนไม้ซึ่งมีขนาด ต่างกัน สั้นบ้างยาวบ้าง (ดังรูปที่ 5) ท่อนสั้นอยู่ใกล้กรงแต่ท่อนยาวอยู่ห่างออกไป สุลต่านคว้าไม้ท่อนสั้นได้ แต่ไม่สามารถเขี่ยผลไม้ได้ สุลต่านวางไม้ท่อนสั้นลงและวิ่งไปมาอยู่สักครู่ ทันใดนั้น"สุลต่าน" ก็จับไม้ท่อนสั้นเขี่ยไม้ท่อนยาวมาใกล้ตัว และหยิบไม้ท่อนยาวเขี่ยผลไม้มากินได้ พฤติกรรมของสุลต่านไม่มีการลองผิดลองถูกเลย โคท์เลอร์จึงได้ สรุปว่า สุลต่านมีการหยั่งรู้ (Insight) ในการแก้ปัญหาคือมองเห็นความสัมพันธ์ของไม้ท่อนสั้นและท่อนยาวและ ผลไม้ได้ จากการทดลองของโคท์เลอร์ โคท์เลอร์ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ ไว้ดังนี้ 1. แนวทางการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาของผู้เรียนมักจะเกิดขึ้นทันทีทันใดจึงเรียกว่า Insight 2. การที่จะมีความสามารถเรียนรู้แก้ปัญหาอย่างทันทีทันใดได้นั้นผู้เรียนจะต้องมีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาทำนองเดียวกันมาก่อนเพราะจะช่วยทำให้มองเห็นช่องทางในการแก้ปัญหาแบบใหม่ได้ 3. นอกเหนือจากประสบการณ์เดิมแล้วผู้เรียนจะต้องมีความสามารถในการมองเห็นความสัมพันธ์ต่างๆ เพราะการที่มีความสามารถมองเห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ นี้เองจะมีส่วนช่วยให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องความสามารถดังกล่าวนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ ผู้เรียนจะต้องมีระดับสติปัญญา ดีพอสมควรจึงสามารถแก้ปัญหาโดยการหยั่งรู้ได้




การวางเงื่อนไข




ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข (Conditioning Theories)


แบบคลาสสิค ของ พาฟลอฟ พาฟลอฟ (Ivan P.Pavlov) เกิดในรัสเซียในปี ค.ศ. 1849 พาฟลอฟ อธิบายว่า โดยธรรมชาติแล้วอินทรีย์จะมีการเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าบางอย่าง กับการตอบสนองบางอย่างตั้งแต่เกิด แล้วพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งเร้าอาจเกิดตามธรรมชาติหรือเกิดแบบอัตโนมัติ สิ่งเร้าประเภทนี้เรียกว่า "สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข" (Unconditioned Stimulus = UCS) การสอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติหรือโดยธรรมชาติ เรียกว่า "การตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข" (Unconditioned Response = UCR) เช่น - การเคาะสะบ้าทำให้เกิดการกระตุก - การเคาะ นั้นถือว่าเป็นสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขและการกระตุกที่เกิดขึ้น เป็นเป็นการตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข
- หากนำสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขมาเข้าคู่กับสิ่งเร้าที่เป็นกลาง เช่น เสียงกระดิ่ง โดยที่จะสั่นกระดิ่งทุกครั้งที่เคาะหัวเข่า หลังจากนั้นจะพบว่า มีการกระตุกเกิดขึ้นเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง โดยที่ไม่ต้องเคาะสะบ้าหัวเข่า พาฟลอฟ เรียกปฏิกริยานี้ว่า การวางเงื่อนไข (Conditioning) เสียงกระดิ่งตอนแรกเป็นสิ่งเร้าที่เป็นกลาง ต่อมากลับมีผลให้เกิดการกระตุก เรียกว่า สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus = CS) และเรียกการตอบสนองที่เกิดขึ้นว่า การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioned Response = CR)
การทดลอง ก่อนวางเงื่อนไข ขั้นที่ 1 สั่นกระดิ่ง (CS) ---> ไม่เกิดปฏิกริยาสะท้อน ขั้นที่ 2 พ่นผงเนื้อ (UCS) ---> น้ำลายไหล (UCR) ระหว่างการวางเงื่อนไข ขั้นที่ 3 สั่นกระดิ่ง (CS) + พ่นผงเนื้อ (UCS) ---> น้ำลายไหล (UCR) หลังการวางเงื่อนไข ขั้นที่ 4 สั่นกระดิ่ง (CS) ---> น้ำลายไหล (CR)......................................................................................................................................................

ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยง ธอร์นไดค์ (Edward L. Thorndike)
Edward L.Thorndike ได้รับการยกย่อง่า เป็น บิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา เกิดในเอมริกา ในปี ค.ศ.1874
ทฤษฎีของเขาเน้นที่ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการตอบสนอง เขาเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดได้เมื่อมนุษย์ได้เลือกเอาปฏิกริยาที่ถูกต้องนั้นเชื่อมต่อเข้ากับสิ่งเร้าที่เหมาะสม เขาตั้งข้อสังเกตว่า เป็นสิ่งที่ค่อย ๆ สะสมพอกขึ้นทีละน้อย มากกว่าจะเกิดขึ้นทันทีทันใด หรือการเรียนรู้จะเกิดขึ้นทีละน้อย ด้วยการลองผิดลองถูก กฎการเรียนรู้ ของ Edward L Thorndike 3 กฎ คือ
1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) ได้แก่ 1.1 เมื่อบุคคลพร้อมที่จะทำแล้วได้ทำ เขาย่อมเกิดความพอใจ 1.2 เมื่อบุคคลพร้อมที่จะทำแล้วไม่ได้ทำ เขาย่อมเกิดความไม่พอใจ 1.3 เมื่อบุคคลไม่พร้อมที่จะทำแล้วต้องทำ เขาย่อมเกิดไม่ความพอใจ
2. กฎแห่งการฝึกหัด มี 2 กฎ คือ 2.1 กฎแห่งการได้ใช้ ใช้และการไม่ได้ใช้ (Low of Use and Disuse) ความว่า พันธะหรือตัวเชื่อมระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองจะเข้าใจมากขึ้น เมื่อได้ทำบ่อย ๆ 2.2 กฎแห่งการไม่ได้ใช้ พันธะหรือตัวเชื่อมระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองจะจะอ่อนกำลังลง เมื่อไม่ได้กระทำอย่างต่อเนื่อง หรือไม่ได้กระทำบ่อย ๆ

3. กฎแห่งความพอใจ
กฎข้อนี้นับเป็นสิ่งสำคัญที่ได้รับความพอใจจาก Thorndike มากที่สุด กฎข้อนี้ คือ ถ้าการตอบสนองที่กระทำไปนั้นเกิดความพอใจ พันธะหรือตัวเชื่อมจะแน่นแฟ้นขึ้น กฎข้อนี้เร่งสร้างแรงจูงใจ ผลที่ได้รับหรือผลตอบสนอง (Low of Effect)
ทฤษฎีของธอร์นไดค์ ไปใช้ในการเรียนการสอน
1. การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก
2. ควรสอนเมื่อมีความพร้อม
3. สร้างบรรยากาศให้เด็กอยากเรียน
4. จัดให้เด็กได้รับความสำเร็จในการเรียน
5. ให้เด็กฝึกฝนและทำกิจกรรมนั้นซ้ำอีก
6. การให้รางวัล


ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข แบบแบบการกระทำ ของ สกินเนอร์

สกินเนอร์ (B.F. Skinner) เกิดในมลรัฐเพนซิลวาเนีย ในปี ค.ศ. 1904
มีบทบาทสำคัญในการนำบทเรียนสำเร็จรูปและเครื่องมือมาใช้ บางคนเรียกว่า ทฤษฎีเสริมแรง การเสริมแรงเป็นการช่วยตอบสนองสิ่งเร้าให้ปรากฏขึ้นซ้ำอยู่เสมอ จนทำให้เกิดความเคยชินสิ่งเร้าเดิม การตอบสนองเช่นเดิม ก็ตามมาคือ เกิดเป็นการเรียนรู้
การทดลองของสกินเนอร์
ได้ทดลองกับหนูขาว โดยมีขั้นการทดลอง ดังนี้ ขั้นที่ 1 ก่อนการเรียนรู้ ---> กดคาน (CR) ---> อาหาร (UCS) ---> กิน (UCR) ขั้นที่ 2 หลังการเรียนรู้ (S1) ---> (R1) ---> S2 ---> R2
คาน(CS) กดคาน(CR) อาหาร(UCS) กิน(UCR)
การประยุกต์ใช้ในการสอน
1. การตั้งจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 2. การใช้ตัวเสริมแรง ได้แก่ ยิ้มแย้ม การชมเชยจากครู คะแนน 3. การใช้บทเรียนสำเร็จรูป
การเรียนรู้ตามแนวของเกสตอลท์
1. เรามองเห็นหรือรับรู้เหตุการณ์
2. เราทำตามสิ่งที่เรารับรู้หรือมองเห็นแล้วค่อย ๆ ดัดแปลงการกระทำให้เหมาะสมขึ้น
3. ผลสุดท้ายเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งขึ้นมา
แนวความคิดของนักจิตวิทยา
ชื่อกลุ่ม
ชื่อผู้นำกลุ่ม
วิธีการศึกษา
กลุ่มโครงสร้างแห่งจิต
โครงสร้างของจิตแบ่งงออกเป็น 3 ส่วนคือ
- การสัมผัส - การรู้สึก - การจินตนาการ
วิลเฮล์ม วุนด์
การตรวจสอบตนเองหรือพินิจภายใน
กลุ่มพฤติกรรมนิยม
จิตมีหน้าที่ควบคุมกระบวนการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม
วิลเลียมเจมส์ และ จอห์น ดิวอี้
การสังเกตพฤติกรรม
กลุ่มพฤติกรรมนิยม
การวางเงื่อนไข เป็นสาเหตุให้เกดพฤติกรรม พฤติกรรมสัตว์สามารถอธิบายพฤติกรรมมนุษย์ กระบวนการเรียนรู้คือ ส่วนย่อย + ส่วนย่อย = ส่วนรวม
จอห์น บี วัตสัน
การทดลอง
การสังเกตอย่างมีแผน
กลุ่มเกสตัลท์
การเรียนรู้มี 2 ลักษณะ คือ – การรับรู้ - การหยั่งเห็น
กระบวนการเรียนรู้คือ
ส่วนรวม = ส่วนย่อย + ส่วนย่อย
เวอร์ไมเธอ เลอวิน
การทดลอง
กลุ่มจิตวิเคราะห์ความสำคัญของจิตไร้สำนึก เน้นว่าการอบรมเลี้ยงดูในอดีตโดยเฉพาะในวัยแรกเกิดถึง 5 ขวบเป็นผลให้เกิดพฤติกรรมในปัจจุบัน และแบ่งโครงสร้างของบุลิกภาพออกเป็น 3 ส่วน คือ ID – EGO - SUPER EGO
ซิกมันต์ ฟรอย์
กระบวนการในใจอย่างเสรี
กลุ่มการรู้คิด
บุคลิกภาพของบุคคลวิวัฒนาการาจากการทำงานในด้านสมอง อารมณ์ และความสัมพันธ์รัหว่างระบบสำคัญทั้งสองและเน้นความสำคัญฝนกระบวนการต่อเนื่องของการพัฒฬนาตามลำดับขั้น
วอล์ฟแกง โคห์เลอร์เอ็ดเวิร์ด ซี. ทอลแทน และจีน เปียเจท์

กลุ่มจิตวิเคราะห์ ของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ : Freud, Sigmund (1856 – 1939)
เป็นจิตแพทย์ชาวเวียนนา เจ้าทฤษฎี….พฤติกรรมจิตสำนึก จิตไร้สำนึก การชดเชย การเก็บกด อิด อีโก้ ซุปเปอร์อีโก้ มีความหมาย 3 ทางด้วยกัน คือ
1. เป็นวิธีการทางจิตบำบัดอันหนึ่ง
2. เป็นทฤษฎีด้านความผิดปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคประสาท
3. เป็นทฤษฎีทางบุคลิกภาพซึ่งขยายออกมาจากทฤษฎีของโรคประสาท
Freud เชื่อว่ามนุษย์มี จิต 3 ลักษณะ คือ 1. จิตสำนึก คือ ความมีสำนึก รู้ตัว 2. จิตใต้สำนึก คือสภาพที่ไม่รู้ตัวในบางขณะ เช่น กระดิกเท้า ผิวปาก ฮัมเพลง โดยไม่รู้ตัว 3. จิตไร้สำนึก การอิจฉาน้อง เกลียดครู อยากทำร้ายชาวต่างชาติ
Freud กำหนดองค์ประกอบที่สำคัญของจิต ไว้ 3 ส่วน คือ 1. ID มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความต้องการของร่างกาย หรือสัญชาตญาณตามธรรมชาติ เช่น มนุษย์ต้องการอาหาร การนอนหลับ การขับถ่าย และการสืบพันธุ์ เป็นต้น เป็นแกนกลางของบุคลิกภาพของบุคคล
2. EGO ทำหน้าที่ 2.1 ควบคุมการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ 2.2ผ่อนคลายความทุกข์เนื่องจากการถูกเก็บกด 2.3 ทำให้บุคคลเป็นผู้มีวุฒิภาวะ รู้จักตน พึ่งตนเองได้ 3. SUPER EGO 3.1 สร้างอุดมคติที่พึงปรารถนาของสังคม 3.2 มีระเบียบ กฎเกณฑ์ คุณธรรม หลักศีลธรรม อุดมคติในการดำเนินชีวิต

John Dewey : จอห์น ดิวอี้ นักการศึกษา นักปรัชญาชาวอเมริกัน
John Dewey : จอห์น ดิวอี้ กล่าวว่า “การศึกษาคือชีวิตมิใช่เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต”
แนวคิดทางการศึกษาของจอห์น ดิวอี้ (John Dewey):
1. การศึกษามิใช่การเตรียมตัวเพื่อดำรงชีวิตในอนาคตแต่เพียงอย่างเดียวการศึกษาที่แท้จริงคือชีวิตในปัจจุบันของเด็ก (Education is Life itself not preparation for Life)
2. การศึกษาเป็นวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่ง ดังนั้นครูจึงควรนำเอาวิธีการวิทยาศาสตร์มาสอนแก่เด็ก
3. การแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นส่วนสำคัญในการศึกษา
4. เด็ก ๆ ควรได้เรียนรู้ร่วมกัน ช่วยกันทำงานเพื่อให้รู้จักร่วมมือกัน ความร่วมมือกันเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เด็กปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ดี
จอห์น ล็อค….(ปรัชญา)….กระบวนการของพัฒนาการ เป็นสิ่งที่สามารถหล่อหลอมปั้นแต่งได้ จะต้องขึ้นอยู่โดยตรงกับการเรียนรู้ เด็กจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่เขาได้รับ)
จัง จ๊าค รุสโซ.(พัฒนาการคือ….กระบวนการคลี่คลายตามธรรมชาติโดยไม่จำเป็นขึ้นตรงกับพ่อแม่)
จีน เปียเจท์…..(พัฒนาการด้านจิต สิ่งแวดล้อมสนับสนุนโครงสร้างของสติปัญญา)
การระดมสมอง….(วิธีการแก้ปัญหาวิธีหนึ่ง ซึ่งเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนได้แสดงความคิดเห็น
โดยสมาชิกไม่วิตกกังวลว่าความคิดของตนเองผิด – ถูก เพื่อกระตุ้นความคิดใหม่ ๆ )
I.Q. (Intelligence Quotient) เกณฑ์ภาคเชาวน์ คือ ความสามารถในการศึกษา อาชีพ การปรับตัว
140 ขั้นไป ฉลาดที่สุด 121 – 140 อัจฉริยะ 111 - 120 ฉลาดมาก
91 – 90 ทึบ 71 – 80 คาบเส้น
51 – 70 ปัญญาอ่อนเล็กน้อย 26 – 50 ปัญญาอ่อน 0 – 25 โง่บัดซบ
บลูม (Benjamin S. Bloom)
Benjamin Bloom จำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ได้ 3 จำพวก คือ
1. พุทธิพิสัย พฤติกรรมทางสมอง
1. ความรู้ วัดได้จากกาท่องจำ
2. ความเข้าใจ เช่น แปลความหมาย หรืออธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้มา
3. การนำไปใช้ เช่น เรียนรู้การหา พ.ท. ของรูปสี่เหลี่ยม โดยใช้สูตร กว้าง x ยาว แล้วไปคำนวณหา พ.ท. ของห้องเรียนได้
4. การวิเคราะห์ เช่น. การคำนวณหาหา พ.ท. รูปสี่เหลี่ยมว่า มาจากผลรวมของพื้นที่ของหน่วยย่อย ๆ
5. การสังเคราะห์ เช่น การนำผลรวมของพื้นที่ของหน่วยย่อย ๆ มารวมกัน เป็น พ.ท. ของสี่เหลี่ยมใหญ่
6. การประเมินค่า สามารถตัดสินหรือตีค่าของสิ่งที่พบเห็นว่า ถูก- ไม่ถูก ดี - หรือ ไม่ดี
พฤติกรรมนี้ได้แก่ การเรียนรู้ความคิดรวบยอด การเรียนรู้หลักการ หรือกฎเกณฑ์ การเรียนรู้แก้ปัญหาตามลำดับ
2. เจตพิสัย พฤติกรรมด้านอารมณ์ ความคิด จิตใจ
1. ความภูมิใจ 2. ความศรัทธา 3. รสนิยม รับรู้สิ่งเร้า
3. ค่านิยม
4. ตอบสนอง
5. สร้างคุณค่า
6. จัดระบบคุณค่า
7. สร้างลักษณะนิสัย
8. การดัดแปลงให้เหมาะสม
3. ทักษะพิสัย พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อ ทักษะการใช้อวัยวะต่าง ๆ
1. ทักษะการใช้เครื่องมือ
2. ทักษะทางภาษา เช่น อ่าน เขียน พูด
3. ทักษะการแสดงออกทางศิลปะ เช่น การเต้นรำ ดนตรี วาดรูป ปั้น แกะสลัก
4. เตรียมพร้อม
5. ตอบสนองตามแนว
6. การปฏิบัติได้
7. การตอบสนองที่ซับซ้อน
8. การริเริ่ม

ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ อับราฮัม มาสโลว์ ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์จามลำดับขั้น ออก เป็น 5 ขั้น คือ 1. ความต้องการทางด้านร่างกาย (ความต้องการขั้นพื้นฐาน) 2. ความต้องการความมั่นคงและความปลอดภัยของชีวิต 3. ความต้องการด้านสังคม 4. ความต้องการที่จะมีเกียรติยศชื่อเสียง 5. ความต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต เป็นความต้องการในระดับสูงสุด
กระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดของ กาเย่ โรเบิร์ต เอ็ม กาเย่ ได้กล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้ไว้ 8 ขั้นตอน คือ
1. การจูงใจ (การเรียนต้องมีการจูงใจ) 2. ความเข้าใจ (เรียนอย่างเข้าใจ จะทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพ) 3. การได้รับ (เมื่อเข้าใจแล้วจะจดจำบทเรียนได้) 4. การเก็บไว้ (เก็บความรู้ไว้ได้และจำได้) 5. การระลึกได้ (คิดและนำมาใช้หรือตอบคำถามได้ในภายหลัง) 6. ความคล้ายคลึง ( เมื่อพบสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันจะนึกได้จำได้) 7. ความสามารถในการปฏิบัติ (สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง) 8. การป้อนกลับ (นำข้อมูลไปปรับปรุและพัฒนา)


ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาพัฒนาการ
ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาพัฒนาการ (Development Psychology)
จิตวิทยาพัฒนาการ (Development Psychology) เป็นจิตวิทยาสาขาหนึ่งที่มุ่งศึกษาพฤติกรรมของคนในวัยต่าง ๆ กัน เพื่อให้รู้ว่าบุคคลมีพัฒนามาอย่างไร ในแต่ละวัยมีสิ่งใดเกิดขึ้นบ้าง สาเหตุของการเกิดสิ่งนั้นๆ มีอย่างไร
จิตวิทยาพัฒนาการ (Development Psychology) มีประโยชน์ต่อครูอย่างไร
โดยที่จุดประสงค์สำคัญของจิตวิทยาพัฒนาการคือ การเข้าใจบุคคล ทั้งในฐานะที่เป็นบุคคลคนหนึ่ง และเป็นส่วนหนึ่งของสังคม การได้เข้าใจถึงสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ สังคม ตลอดจนความต้องการของบุคคลแต่ละวัย ย่อมช่วยให้บุคคลปรับตัวเข้ากันได้ดีขึ้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น
สำหรับครู จะช่วยให้เข้าใจในกระบวนการต่าง ๆ ของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถส่งเสริม เด็กให้มีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ สอดคล้องกับวุฒิภาวะและระดับพัฒนาการ ซึ่งจะมีผลต่อการเรียนรู้ที่ดีที่สุดของนักเรียน
พัฒนาการหมายถึงอะไร
พัฒนาการ (Development) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เป็นระบบระเบียบ สามารถคาดคะเนได้ตามสมควร เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้าของบุคคล อันเป็นผลมาจากวุฒิภาวะและประสบการณ์ ซึ่งเกิดขึ้นตลอดชีวิต ตั้งแต่แรกเกิด
ความเจริญงอกงามคืออะไร
ความเจริญงอกงาม (Growth) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นทางด้านปริมาณ (Quantity) เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้าง (Structure) เป็นการเพิ่มเกี่ยวกับจำนวน เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ความหนา และจำนวนกล้ามเนื้อ
ลักษณะเฉพาะของพัฒนาการ
1. พัฒนาการจะเกิดในลักษณะที่ต่อเนื่องกัน (Continuity) จะดำเนินการไปตามลำดับขั้น
พัฒนาการจะเกิดขึ้นทุกช่วงของชีวิต
2. พัฒนาการจะเป็นไปตามแบบฉบับของตัวเอง (Sequence) คืออัตราการพัฒนาการของ
แต่ละบุคคลจะแตกต่างกัน
3. พัฒนาการจะเกิดในอัตราที่ไม่เท่ากัน (Ratio) อัตราการเจริญเติบโตแต่ละคนไม่
เหมือนกัน วัยเด็กเล็กมีอัตราการพัฒนาการมากกว่าเด็กโต
4. พัฒนาการจะเกิดเป็นทิศทางเฉพาะ (Develop Mental Direction) พัฒนาการจะเป็น
ไปตามแนวศรีษะลงไปสู่ปลายเท้า เด็กจะชันคอได้ก่อน เติบโตไปสู่แกนกลางของลำตัว ไปสู่ส่วนย่อย เคลื่อนไหวลำตัวได้ก่อนนิ้วมือนิ้วเท้า
องค์ประกอบของพัฒนาการ
1. วุฒิภาวะ (Maturity) หมายถึงความเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจ พร้อมที่จะทำงานตามหน้าที่ได้
2. การเรียนรู้ (Learning) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัด การเรียนรู้เป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนา
พัฒนาการแบ่งออกได้เป็นกี่ด้าน
นักจิตวิทยา ได้แบ่งพัฒนาการออกเป็น 4 ด้าน คือ
1. พัฒนาการทางด้านร่างกาย (Physical Develop Metric) ได้แก่การเปลี่ยนแปลงด้านขนาด รูปร่าง โครงสร้างของร่างกาย กล้ามเนื้อ กระดูกและต่อม การเพิ่มของส่วนสูงและประสิทธิภาพของประสาท
2. พัฒนาการทางด้านสติปัญญา (Mental Development) ได้แก่ ความรู้ ความจำ เชาว์
ความปัญญา และความคิดอย่างมีเหตุผล
3. พัฒนาการทางด้านอารมณ์ (Emotional Development) ความรู้สึก ทัศนคติ ค่านิยม
4. พัฒนาการทางด้านสังคม (Social Development) ได้แก่การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม รวมถึงบุคลิกภาพของบุคคลด้วยพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
ความแตกต่างของบุคคลเกิดจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ทั้งสองสิ่งนี้มีบทบาทร่วมกัน เป็นตัวกำหนดพัฒนาการของคน
พันธุกรรม (Heredity) คือการถ่ายทอดลักษณะตา’ ๆ ทางชีวิวิทยา จากบิดามารดาไปสู่บุตร โดยผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์
สิ่งแวดล้อม (Environment) หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์ และสามารถที่จะปรุงแต่งชีวิตในรูปลักษณะต่าง ๆ
ความพร้อม (Readiness) ปัจจัยที่ทำให้บุคคลเกิดความพร้อม ได้แก่
1. วุฒิภาวะ
2. ความสนใจหรือแรงจูงใจ
3. การได้รับการฝึกฝน การเตรียมตัวหรือเตรียมความพร้อม

ตารางพัฒนาการปกติสำหรับเด็ก ระดับก่อนประถมศึกษา

พัฒนาการ
ด้านร่างกาย
ด้านสติปัญญา
ด้านสังคม
ด้านอารมณ์และจิตใจ
3 – 4 ปี
- เดินและวิ่งได้
- กระโดดได้ไม่ดี
- ประสาทยังไม่
สัมพันธ์กัน
- เริ่มรู้จักใช้พลัง
- สมาธิสั้น (3 นาที)
- ชอบถาม “ทำไม”
ตลอดเวลา
- คิดสิ่งที่เป็น
นามธรรมไม่ได้
- อยากรู้อยากเห็น
สิ่งต่าง ๆ รอบตัว
- ชอบเล่นแบบคู่
ขนาน
- ไม่ชอบเล่นกับผู้อื่น
- แบ่งปันไม่เป็น
- ยึดตนเองเป็น
ศูนย์กลาง
- หงุดหงิดร้องไห้ง่าย
- พอใจคนที่ตามใจ
- ชอบได้รับคำชม



4 – 5 ปี
- เดินและวิ่งได้
- กระโดดได้ไม่ดี
- ประสาทยังไม่
สัมพันธ์กัน
- เริ่มรู้จักใช้พลังงาน
- เปรียบเทียบได้
- เรียงลำดับเหตุ
การณ์ได้
- เข้าใจความเป็น
เหตุเป็นผลขึ้น
- ชอบถามคำถาม
มากมาย
- พูดเป็นประโยค
- สนใจผู้อื่น
- ชอบเล่นบทบาท
สมมุติ
- สนใจกิจกรรม
ผู้ใหญ่
- เริ่มมีพฤติกรรม
ก้าวร้าว

- ชอบท้าทายผู้ใหญ่
- มั่นใจตนเองมากขึ้น

5 – 6 ปี
- คล่องแคล่วไม่อยู่นิ่ง
- ใช้กล้ามเนื้อเล็ก
ได้ดี เช่น ติด
กระดุมเสื้อ ผูก
เชือก รองเท้า
- ช่วงความสนใจ
ยาวขึ้น
- พูดประโยคได้ยาว
ขึ้น
- รู้คำศัพท์มากขึ้น
- คิดเกมขึ้นเล่น
เองได้และชอบ
เปลี่ยนกฎขณะเล่น
- มีปฏิสัมพันธ์กับผู้
อื่น
- ชอบทำให้ผู้อื่นพอ
ใจ
- ชอบแสดงออก
- ชอบทำสิ่งที่ถูก
เพื่อให้ครูชมเชย

- ยึดตนเองเป็นศูนย์
กลางน้อยลง
- อายง่าย
- รักครู

คุณลักษณะตามวัย เด็กระดับก่อนประถมศึกษา
พัฒนาการ
อายุ 3 - 4 ปี
อายุ 4 - 5 ปี
อายุ 5 - 6 ปี
ด้านร่างกาย
- เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
- วิ่งแล้วหยุดได้โดยไม่ล้ม
- ใช้กรรไกรมือเดียวได้
- วาดและระบายสีได้

- เดิน กระโดด ได้ดีเพราะ
กล้ามเนื้อเริ่มประสาน
สัมพันธ์กัน
- กระฉับกระเฉงไม่ชอบอยู่เฉย
- ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
- เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
คล่องแคล่ว
- กระฉับกระเฉงไม่อยู่เฉย
- ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่นติด
กระดุม ผูกเชือกรองเท้าได้
- ยืดตัว คล่องแคล่ว
ด้านอารมณ์
จิตใจและสังคม
- พอใจคนที่ตามใจ
- ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจ
และได้คำชม
- ช่วยตนเองได้
- ชอบเล่นแบบคู่ขนาน เล่นของ
ชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่าง เล่น
- มีความมั่นใจในตนเองสูงมากขึ้น
- ชอบท้าทายผู้ใหญ่
- ต้องการให้มีคนฟัง คนสนใจ
- สนใจผู้อื่น
- ชอบเล่นบทบาทสมมุติ
- ชอบเล่นเป็นกลุ่ม
- อายง่าย
- ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
- ชอบเล่นกับเด็กอื่น
- ช่วยตัวเองได้
- ชอบสร้างความพอใจให้อื่น
- ชอบแสดงออกและทำสิ่งที่
ถูกต้องเพื่อให้ผู้ใหญ่ชมเชย
ด้านสติปัญญา
- สนใจนิทานและเรื่อราวต่าง ๆ
- สมาธิสั้นเนื่องจากอยากรู้
อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
- ชอบทาย “ทำไม” ตลอดเวลา
- ร้องเพลงง่าย ๆ แสดงท่าทางเลียนแบบ
- พูดประโยคยาวขึ้น
- ยังคิดสิ่งที่เป็นนามธรรมไม่ได้
- เปรียบเทียบได้
- เรียงลำดับเหตุการณ์ได้
-เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
- ชอบถาม “ทำไม” เนื่องจาก
เริ่มเรียนรู้ได้แล้ว
- เข้าใจความเป็นเหตุเป็นผลได้
- พูดเป็นประโยคได้
- พูดประโยคได้ยาวขึ้น
- รู้คำศัพท์มากขึ้น
- ร้องเพลง ท่องคำคล้องจอง
ได้
- บอกชื่อ นามสกุล ของตนเอง
ได้
- นับ 1 – 20 ได้
-บอกความแตกต่างของกลิ่นสีเสียง รสรูปร่างและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้


วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550




---------------------------------- ----------------------------------------




ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยง (Connectionism) ผู้ที่ทำการศึกษาในเรื่องนี้ คือ ธอร์นไดค์ (Thorndike) ซึ่งได้กล่าวว่าการเรียนรู้คือ การที่ผู้เรียนสามารถสร้างความสัมพันธ์ เชื่อมโยง (Bond) ระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง และได้รับความพึงพอใจจะทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น ธอร์นไดค์ได้ ทำการทดลองพบว่า การเรียนรู้ของอินทรีย์ที่ด้อยความสามารถเกิดจากการลองผิดลองถูก ( Trial and Error ) ซึ่งต่อมา เขานิยมเรียกว่า การเรียนรู้แบบเชื่อมโยง การทดลองของธอร์นไดค์ที่รู้จักกันดีที่สุด คือ การเอาแมวหิวใส่ในกรง ข้างนอก กรงมีอาหารทิ้งไว้ให้แมวเห็น ในกรงมีเชือกซึ่งปลายข้างหนึ่งผูกกับบานประตูไว้ ส่วนปลายอีกข้างหนึ่งเมื่อถูกดึงจะทำให ้ประตูเปิด ธอร์นไดค์ได้สังเกตเห็นว่า ในระยะแรก ๆ แมวจะวิ่งไปวิ่งมา ข่วนโน่นกัดนี่ เผอิญไปถูกเชือกทำให้ประตูเปิด แมวออกไปกินอาหารได้ เมื่อจับแมวใส่กรง ครั้งต่อไปแมวจะดึงเชือกได้เร็วขึ้น จนกระทั่งในที่สุดแมวสามารถดึงเชือก ได้ในทันที ธอร์นไดค์ได้สรุปว่าการลองผิดลองถูก จะนำไปสู่การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง และการเรียนรู้ ก็คือการที่มีการเชื่อมโยง (Connection) ระหว่างสิ่งเร้า (Stimuli) และการตอบสนอง ( Responses ) การเรียนรู้แบบ ลองผิดลองถูก มีใจความที่สำคัญว่า เมื่ออินทรีย์กระทบสิ่งเร้า อินทรีย์จะลองใช้วิธีตอบสนองต่อสิ่งเร้าหลาย ๆ วิธี จนพบกับ วิธีที่เหมาะสมและถูกต้องกับเหตุการณ์และสถานการณ์ เมื่อได้รับการตอบสนองที่ถูกต้องก็จะนำไปต่อเนื่องเข้ากับสิ่งเร้า นั้น ๆ มีผลให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น โดยมีหลักเกณฑ์และลำดับขั้นที่จะนำไปสู่การเรียนรู้แบบนี้ คือ
1. มีสถานการณ์ที่เป็นปัญหาเป็นสิ่งเร้าให้อินทรีย์แสดงการตอบสนองหรือแสดงพฤติกรรมออกมา
2. อินทรีย์จะแสดงอาการตอบสนองหลาย ๆ อย่าง เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
3. ปฏิกิริยาตอบสนองที่ไม่ทำให้เกิดความพอใจจะถูกตัดทิ้งไป 4. เมื่อปฏิกิริยาตอบสนองที่ไม่ทำให้เกิดความพอใจถูกตัดทิ้งไป จนเหลือปฏิกิริยาที่ทำให้เกิดความพอใจ อินทรีย์จะถือเอา กิริยาตอบสนองที่ถูกต้องและจะแสดงตอบสนองต่อสิ่งเร้า ( Interaction ) นั้นมากระทบอีก นอกจากนี้ธอร์นไดค์ ได้ตั้งกฎแห่งการเรียนรู้ขึ้นอีก 3 กฎ คือ
1. กฎแห่งผล ( Law of Effect ) กล่าวว่าเมื่อการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับอาการตอบสนองนำความพอใจมาให้ การ เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับอาการตอบสนองก็จะแน่นแฟ้นขึ้น ถ้าความสัมพันธ์นี้นำความรำคาญใจมาให้ ความสัมพันธ์นี้ ก็จะคลายความแน่นแฟ้นลง หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ถ้าจะให้ผู้เรียนรู้อะไรจะต้องมีรางวัลให้ (รางวัลมิได้หมายถึงสิ่งของ แต่อย่างเดียว แต่รวมเอาทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำให้ผู้เรียน รู้สึกพอใจ เช่น การให้คำชมเชย เป็นต้น ) เมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรม ที่ต้องการออกมา ถ้าจะให้พฤติกรรมบางอย่างหายไปเมื่อผู้เรียนแสดงพฤติกรรมนั้นออกมาจะต้องมีการทำโทษ เมื่อธอร์นไดค์ ประกาศกฎแห่งผลออกมาเช่นนี้ มีผู้พยายามทดลองเพิ่มเติมและมีผู้ได้แย้งกันเป็นอันมาก ต่อมาธอร์นไดค์พบว่า การทำโทษ มิได้ทำให้การเชื่อมโยงคลายลง ในที่สุดก็สรุปว่าถ้าการทำโทษมีผลอยู่บ้าง ก็ไม่ได้ทำให้การเชื่อมโยงอันเก่าคลายลง แต่จะเป็นการบังคับให้ผู้เรียนพยายามลองแสดงอาการตอบสนองอย่างอื่น ในที่สุดธอร์นไดค์จึงล้มเลิกกฎแห่งผลที่เกี่ยวกับ การลงโทษ แต่ยังคงเหลือกฎแห่งผลในด้านการให้รางวัลไว้ว่า รางวัลเท่านั้นที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ขึ้น
2. กฎแห่งการฝึก ( Law of Exercise ) จากการสังเกตเมื่อเอาแมวใส่กรงครั้งหลัง แมวจะหาทางออกจากกรงได้เร็วขึ้น เมื่อทดลองนาน ๆ เข้าแมวก็สามารถออกจากกรงได้ทันที ตามลักษณะนี้ธอร์นไดค์อธิบายว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการ ตอบสนองได้สัมพันธ์แน่นแฟ้นขึ้น และความสัมพันธ์นี้จะแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น เมื่อมีการฝึกหัดหรือซ้ำบ่อย ๆ และความสัมพันธ์นี้ จะคลายอ่อนลงเมื่อไม่ได้ใช้ และธอร์นไดค์เชื่อว่าการกระที่ไม่มีรางวัลเป็นผลตอบแทนหลังการตอบสนองนั้น ๆ สิ้นสุดลง จะต้องลงเอยด้วยความสำเร็จ มิฉะนั้นการกระทำนั้นก็ไม่มีความหมาย แต่หลังจากปี ค.ศ.1930 ธอร์นไดค์ได้แก้กฎแห่งการฝึกนี้ ใหม่ เพราะในบางกรณีกฎแห่งการฝึกและกฎแห่งผลไม่สามารถใช้ในสถานการณ์เดียวกันได้ เช่น เมื่อปิดตาแล้ว ทดลองหัด ลากเส้นให้ยาว 3 นิ้ว แม้ให้ฝึกหัดลากเส้นเท่าไรก็ตาม ก็ไม่สามารถลากเส้นให้ยาว 3 นิ้วได้ ดังนั้นการฝึกหัดทำจะมีผลดีต่อ การเรียนรู้ด้วยตัวของมันเองไม่ได้ จะต้องมีเหตุผลอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ดังนั้นธอร์นไดค์จึงประกาศยกเลิกกฎแห่งการฝึกนี้ แต่ยังเชื่อว่าการฝึกฝนที่มีการควบคุมที่ดีก็ยังมีผลดีต่อการเรียนรู้อยู่นั่นเอง กล่าวคือ ถ้าเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทราบผลของ การเรียนแต่ละครั้งว่ายาวหรือสั้นไปเท่าใด การฝึกหัดก็สามารถทำให้ผู้ฝึกหัดมีโอกาสลากเส้นให้ยาว 3 นิ้วได้
3. กฎแห่งความพร้อม ( Law of Readiness ) ธอร์นไดค์ตั้งกฎแห่งความพร้อมนี้เพื่อเสริมกฎแห่งผล และได้อธิบาย ไว้ในรูปของการเตรียมตัว และการเตรียมพร้อม ในการที่จะตอบสนองกิจกรรมที่ตามมาหลังจากการที่มีการเตรียมตัวพร้อมแล้ว เช่น ในสถานการณ์ของแมวในกรง แมวจะทำอะไรออกมานั้น แมวจะต้องหิว แมวสามารถเอาเท้าตะปบเชือกที่ห้อยแขวนอยู่นั้น ได้ และมีประสาทสัมผัสที่จะรับรู้ว่าได้รับผลพอใจหรือไม่พฤติกรรมที่แสดงออกไปแล้ว เป็นต้น หรือถ้ามนุษย์พร้อมที่จะเรียนร ู้อะไรบางอย่างได้ พร้อมที่จะแสดงพฤติกรรมบางอย่างที่จำเป็นสำหรับขบวนการการเรียนรู้นั้น เช่น จะต้องมีร่างกายที่สูงพอ แข็งแรงและอยู่ในสภาวะจูงใจที่เหมาะสม ผู้เรียนจะแสดงหรือไม่แสดงพฤติกรรมอะไรออกมานั้น ธอร์นไดค์ให้หลักไว้ 3 ข้อ คือ
1. เมื่อหน่วยของการกระทำพร้อมที่จะแสดงออกมา ถ้าผู้กระทำทำด้วยความสบายหรือพอใจไม่มีอะไรจะเปลี่ยนแปลงการกระทำ นี้ได้
2. ถ้าหน่วยของการกระทำพร้อมที่จะแสดงออกแต่ไม่ได้แสดง จะทำให้เกิดความไม่สบายใจ
3. ถ้าหน่วยของการกระทำยังไม่พร้อมที่จะแสดงออก แต่จำเป็นต้องแสดงออก การแสดงออกนั้น ๆ กระทำไปด้วยความไม่สบายใจ ไม่พอใจเช่นกัน ถึงแม้ว่าธอร์นไดค์ได้ปรับปรุงแก้ไขและขยายแนวความคิดของเขาอยู่ตลอดเวลา ทำให้กฎแห่งความพร้อมและ กฎแห่งการฝึกหัดหย่อนความสำคัญไป ยังคงเหลือเพียงกฎแห่งผลที่เป็นที่ยอมรับกันอยู่ แต่ในกฎนี้ก็เหลือเพียงด้านของรางวัล ที่มีผลต่อการเรียนรู้ ส่วนด้านการลงโทษกับการเรียนรู้นั้นถูกตัดทิ้งไป top ทฤษฎีสร้างความรู้ใหม่โดยผู้เรียนเอง (Constructivism) เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่มีพื้นฐานทางจิตวิทยา ปรัชญา และมนุษยวิทยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากจิตวิทยาด้านปัญญา เป็นทฤษฎี ที่อธิบายถึงการได้มาซึ่งความรู้และนำความรู้นั้นมาเป็นของตนได้อย่างไร




*****************************



*****************************







































วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การวางเงื่อนไขแบบคลาศสิค



ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ (Pavlov)

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ทำการศึกษาทดลองกับสุนัข โดยฝึกสุนัขให้ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงในห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข ระหว่างการวางเงื่อนไข และหลังการวางเงื่อนไข ขั้นที่ 1 เสียงกระดิ่ง (CS) ไม่มีน้ำลาย ผงเนื้อ (UCS) น้ำลายไหล (UCR) ขั้นที่ 2 เสียงกระดิ่ง น้ำลายไหล (UCR) และผงเนื้อ (UCS) ทำขั้นที่ 2 ซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง ขั้นที่ 3 เสียงกระดิ่ง (CS) น้ำลายไหล (CR) การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคคือการตอบสนองที่เป็นไปโดยอัตโนมัติเมื่อนำสิ่งเร้าใหม่มาควบคู่กับสิ่งเร้าเดิม ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกพฤติกรรมการตอบสนองนี้ว่าพฤติกรรมเรสปอนเด้นท์
1. คำศัพท์ที่สำคัญในการศึกษาทดลองของพาฟลอฟ สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) คือสิ่งเร้าที่ไม่ก่อให้เกิดการตอบสนอง ซึ่งในที่นี้ก็คือ เสียงกระดิ่งในขั้นที่ 1 สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus หรือ US) คือสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดการตอบสนองได้ตามธรรมชาติ ซึ่งในที่นี้ก็คือ อาหาร สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus หรือ CS) คือสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้หลังจากถูกวางเงื่อน ไขแล้ว ซึ่งในที่นี้ก็คือ เสียงกระดิ่ง การตอบสนองที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข (Unconditional Response หรือ UCR) คือการตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditional Response หรือ CR) คือการตอบสนองอันเป็นผลมาจากการเรียนรู้ที่ถูกวางเงื่อนไขแล้ว2. กระบวนการสำคัญอันเกิดจากการเรียนรู้ของพาฟลอฟกระบวนการที่สำคัญ 3 ประการ อันเป็นผลจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข คือ การแผ่ขยาย คือความสามารถของอินทรีย์ที่จะตอบสนองในลักษณะเดิมต่อสิ่งเร้าที่มีความคล้ายคลึงกันได้ การจำแนก คือ ความสามารถของอินทรีย์ในการที่จะจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้าได้ การลบพฤติกรรมชั่วคราว คือ การที่พฤติกรรม การตอบสนองลดน้อยลงอันเป็นผลเนื่องจากการที่ไม่ได้รับสิ่งเร้าที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข ซึ่งในที่นี้ก็คือรางวัลหรือสิ่งที่ต้องการนั่นเอง การฟื้นตัวของการตอบสนองที่วางเงื่อนไข หลังจากเกิดการลบพฤติกรรมชั่วคราวแล้ว สักระยะหนึ่งพฤติกรรมที่ถูกลบเงื่อนไขแล้วอาจฟื้นตัวเกิดขึ้นมาอีกได้รับการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข





ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์


ผู้ที่เป็นเจ้าของทฤษฎีนี้คือสกินเนอร์ โดยที่เขามีความคิดเห็นว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้นจำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเองไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของพาฟลอฟ สกินเนอร์ได้อธิบาย คำว่า "พฤติกรรม" ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ

ภาพ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค

ซึ่งเขาเรียกย่อ ๆ ว่า A-B-C ซึ่งทั้ง 3 จะดำเนินต่อเนื่องกันไป ผลที่ได้รับจะกลับกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนอันนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมและนำไปสู่ผลที่ได้รับตามลำดับสำหรับการทดลองของสกินเนอร์ เขาได้สร้างกล่องทดลองขึ้นซึ่งกล่องทดลองชองสกินเนอร์ (Skinner Boxes) จะประกอบด้วยที่ใส่อาหาร คันโยก หลอดไฟ คันโยกและที่ใส่อาหารเชื่อมติดต่อกัน การทดลองเริ่มโดยการจับหนูไปใส่กล่องทดลอง เมื่อหนูหิวจะวิ่งวนไปเรื่อย ๆ และไปเหยียบถูกคันโยก ก็จะมีอาหารตกลงมา ทำให้หนูเกิดการเรียนรู้ว่าการเหยียบคันโยกจะได้รับอาหารครั้งต่อไปเมื่อหนูหิวก็จะตรงไปเหยียบคันโยกทันที ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวถือว่าหนูตัวนี้เกิดการเรียนรู้แบบการลงมือกระทำเอง
1. คำศัพท์ที่สำคัญในการศึกษาทดลองของสกินเนอร์ การเสริมแรง คือสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคลซึ่งจะแยกเป็น 2 ประเภทคือ การเสริมแรงทางบวก คือสิ่งที่ก่อให้เกิดการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้น และการเสริมแรงทางลบ คือสิ่งที่เมื่อนำออกไปแล้วจะทำให้การแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้น การลงโทษ การเสริมแรงทางลบและการลงโทษมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและมักจะใช้แทนกันอยู่เสมอ แต่การอธิบายของสกินเนอร์การเสริมแรงทางลบและการลงโทษต่างกัน โดยเขาได้เน้นว่าการลงโทษนั้นเป็นการระงับหรือหยุดยั้งพฤติกรรม

เปรียบเทียบการเสริมแรงและการลงโทษ ได้ดังนี้

พฤติกรรม
การเสริมแรง
เพิ่มพฤติกรรม ก่อให้เกิดการกระทำ พฤติกรรมนั้นบ่อยขึ้น
พฤติกรรม
การลงโทษ
ลดพฤติกรรม ก่อให้เกิดการกระทำ พฤติกรรมนั้นน้อยลง

เปรียบเทียบการเสริมแรงทางบวก การเสริมแรงทางลบและการลงโทษ

ชนิด
ผล
ตัวอย่าง
การเสริมแรงทางบวก
พฤติกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นสิ่งเร้าที่บุคคลนั้นต้องการ
ผู้เรียนที่ทำการบ้านส่งตรงเวลาแล้วได้รับคำชม จะทำการบ้านส่งตรงเวลาสม่ำเสมอ
การเสริมแรงทางลบ
พฤติกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อสิ่งเร้าที่ไม่เป็นที่พึงปรารถนาถูกทำให้ลดน้อยหรือหมดไป
ผู้เรียนที่ทำรายงานส่งตามกำหนดเวลาจะไม่เกิดความวิตกอีกต่อไป ดังนั้นในครั้งต่อไปเขาก็จะรีบทำรายงานให้เสร็จตรงตามเวลา
การลงโทษ 1
พฤติกรรมลดลงเมื่อมีสิ่งเร้าโดยเฉพาะสิ่งที่เขาไม่พึงปรารถนาเกิดขึ้น
เมื่อถูกเพื่อน ๆ ว่า "โง่" เพราะตั้งคำถามถามผู้สอน ผู้เรียนคนนั้นเลิกตั้งคำถามในชั้นเรียน
การลงโทษ 2
พฤติกรรมลดน้อยลง เมื่อนำสิ่งเร้าที่เขาพึงปรารถนาออกไป
ผู้เรียนที่ถูกหักคะแนนเพราะตอบข้อสอบในลักษณะที่แตกต่างจากครูสอน ในครั้งต่อไปเขาจะไม่ตอบคำถามในลักษณะนั้นอีก
ตัวชี้แนะ คือการสร้างสิ่งเร้าให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อทำให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ ภายในระยะเวลาที่ต้องการ ซึ่งบุคคลมักจะลืมอยู่บ่อย ๆ ตัวกระตุ้น คือ การเพิ่มตัวชี้แนะเพื่อการกระตุ้นพฤติกรรม ซึ่งมักจะใช้ภายหลังจากการใช้ตัวชี้แนะแล้ว
2. ตารางการให้การเสริมแรงในการทดลองของสกินเนอร์ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำเอง ดังนั้นระยะเวลาในการให้การเสริมแรงจะมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้มาก ตารางการให้การเสริมแรง สามารถแยกออกได้ ดังนี้

ภาพ การเสริมแรง


ตัวอย่างตารางการให้การเสริมแรง

ตารางการเสริมแรง
ลักษณะ
ตัวอย่าง
การเสริมแรงทุกครั้ง (Continuous)
เป็นการเสริมแรงทุกครั้งที่แสดงพฤติกรรม
ทุกครั้งที่เปิดโทรทัศน์แล้วเห็นภาพ
การเสริมแรงความช่วงเวลาที่แน่นอน (Fixed - Interval)
ให้การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่กำหนด
ทุก ๆ สัปดาห์ผู้สอนจะทำการทดสอบ
การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน (Variable - Interval)
ให้การเสริมแรงตามระยะเวลาที่ไม่แน่นอน
ผู้สอนสุ่มทดสอบตามช่วงเวลาที่ต้องการ
การเสริมแรงตามจำนวนครั้งของการตอบสนองที่แน่นอน (Fixed - Ratio)
ให้การเสริมแรงโดยดูจากจำนวนครั้งของการตอบสนองที่ถูกต้องด้วยอัตราที่แน่นอน
การจ่ายค่าแรงตามจำนวนครั้งที่ขายของได้
การเสริมแรงตามจำนวนครั้งของการตอบสนองที่ไม่แน่นอน (Variable - Ratio)
ให้การเสริมแรงตามจำนวนครั้งของการตอบสนองแบบไม่แน่นอน
การได้รับรางวัลจากเครื่องเล่นสล๊อตมาชีน

3. การปรับพฤติกรรม การปรับพฤติกรรม คือ การนำแนวความคิดของสกินเนอร์ในเรื่องกฎแห่งผลมาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อทำการปรับพฤติกรรมของบุคคล หลักการนี้อาจจะใช้ทั้งการเสริมแรงทางบวกและการเสริมแรงทางลบประกอบกัน อย่างไรก็ตามจากการศึกษาวิจัยของทิฟเนอร์และคณะ พบว่าในหลาย ๆ ครั้งที่การใช้หลักดังกล่าวไม่เกิดผลนั่นก็คือแม้จะใช้หลักการชม แต่ผู้เรียนก็ยังคงมีการกระทำผิดต่อไป ดังนั้นการใช้หลักดังกล่าวควรจะใช้ร่วมกับเทคนิคอื่น ๆ ด้วย หลักการชมที่มีประสิทธิภาพ ควรจะมีลักษณะดังนี้(1) ควรชมพฤติกรรมที่สมควรได้รับการยกย่อง (2) ระบุพฤติกรรมที่สมควรยกย่องอย่างชัดเจน (3) ชมด้วยความจริงใจ