วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550











คามหมายและประเภทของเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น คือ เด็กที่สูญเสียความสามารถในการมองเห็น แบ่งได้ 2 ประเภท คือ
เด็กตาบอด สูญเสียสายตาโดยสิ้นเชิง ต้องใช้อักษรเบลร์
เด็กที่มองเห็นเลือน ลาง ตาบอดเป็นบางส่วน มองเห็น 20 -70 ฟุตหรือน้อยกว่านั้น ใช้แว่นขยายหรือเครื่องมือพิเศษ








เรื่องน่ารู้
เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
การปรับและพฤติกรรม
การปรับตัวของเด็กตาบอดจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่เด็กอาศัยอยู่ ได้เอื้อในเรื่องการปรับตัวมากน้อยเพียงใด
นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจของเด็กในครอบครัว การยอมรับของสังคมและการยอมรับสภาพของตนเองถ้าเด็กได้รับ
การยอมรับทางสังคมมาก มีความสำเร็จส่วนตัวดี ก็สามารถทำให้เด็กปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้ดียิ่งขึ้น
หลักการฝึกการเลี้ยงดูและส่งเสริม
- การเลี้ยงดูเพื่อให้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว
- การเลี้ยงดูเพื่อให้มีพัฒนาการทางอารมณ์ สังคม
- การเลี้ยงดูเพื่อส่งเสริมสติปัญญา

การป้องกันอันตราย
- ระวังเกี่ยวกับปลั๊กไฟ ความร้อนและเตาไฟ
- ของแหลม ของมีคม ของใช้ที่วางไม่เป็นที่
- การพลัดตกจากที่สูง การลื่นล้ม สิ่งที่เป็นพิษ
เด็กพิการทางการเห็น
ความหมายและประเภทของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
1. เด็กตาบอด เป็นเด็กที่สูญเสียสายตาโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถใช้สายตาในการเรียน
2. เด็กที่มองเห็นเลือนลาง ตาบอดเป็นบางส่วน มีการมองเห็นเหลืออยู่มาก จึงมองเห็นได้ลางๆ 20 - 70 ฟุต
หรือน้อยกว่านั้น ในสายตาข้างที่ดีหลังจากการช่วยเหลือแก้ไขแล้ว สามารถเรียนได้
ลักษณะอาการที่มีความผิดปกติของสายตา
1. มีอาการคันตาเรื้อรัง น้ำตาไหลอยู่เสมอ หรือมีอาการตาแดงบ่อยๆ
2. มักมองเห็นภาพซ้อน วิงเวียนศีรษะ มอไม่เห็นชัดเจนในบางครั้ง
3. เวลามองวัตถุระยะไกลๆ ต้องขยี้ตา หรือทำหน้าย่น ขมวดคิ้ว
4. เวลาเดินต้องมองอย่างระมัดระวัง หรือเดินช้าๆ โดยกลัวจะสะดุดสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ขวางหน้า
5. ไม่มีความสนใจดูภาพที่ติดตามฝาผนัง หรือข้อความที่เขียนบนกระดานดำ
6. มักขยี้ตาบ่อยๆ กระพริบตาบ่อย อ่านหนังสือได้ระยะเวลาสั้น
7. สายตาสู้แสงสว่างไม่ได้

การช่วยเหลือ
การเตรียมความพร้อมด้านความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว เช่น การใช้สายตา การฟังเสียง
การสัมผัส การดมกลิ่น เป็นต้น
การเตรียมความพร้อมในการช่วยตนเอง เช่น การทานอาหาร การแต่งกาย
ลักษณะของคนตาบอด
คนที่จัดว่าตาบอด คือ บุคคลที่มองอะไรไม่เห็นเลย ไม่สามารถอาศัยสายตาในการศึกษาเล่าเรียนได้เป็นบุคคลที่มองเห็นได้ในระดับ 20/200
คือมองเห็นได้ในระยะ 20 ฟุต ในขณะที่คนธรรมดามองเห็นได้ในระยะ 200 ฟุต
Abel ได้จำแนกให้เห็นถึงความสามารถในการมองเห็นของคนตาบอดไว้ 5 จำพวก คือ
ตาบอดสนิท (Total Blindness) คือ คนที่มองเห็นได้ไม่มากกว่า 2/200 และไม่สามารถมองเห็นการโบกมือในระยะห่าง 3 ฟุต ได้เลย
ผู้มองเห็นได้ในระยะ 5/200 แต่ไม่สามารถนับนิ้วมือได้ในระยะห่างออกไป 1 ฟุต
ผู้มองเห็นได้ในระยะ 10/200 แต่ไม่อาจอ่านพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ได้ สามารถรับรู้การเคลื่อนไหวได้บ้าง
ผู้มองเห็นได้ในระยะ 20/200 สามารถอ่านพาดหัวหนังสือพิมพ์ตัวโตๆได้ แต่อ่านได้ไม่เกิน 14 จุด
ผู้มองเห็นได้ในระยะ 20/200 สามารถอ่านได้ 10 จุด แต่ไม่สามารถใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
ประเภทของผู้ที่มีปัญหาทางสายตา
Lowenfeld (1955) ได้จำแนกผู้บกพร่องทางสายตาออกเป็น 6 ประเภท คือ
1. พวกที่บอดสนิทโดยกำเนิดหรือบอดภายหลังอายุครบ 5 ขวบ
2. ภายหลังมีอายุ 5 ขวบไปแล้วจึงบอดสนิท
3. พวกที่มองเห็นอย่างเลือนลางมาตั้งแต่กำเนิด
4. ตาบอดไม่สนิทโดยกำเนิด
5. ตาบอดไม่สนิทแต่ต่อมาเกิดบอดสนิท
6. พวกที่พอมองเห็นบ้าง แต่ต่อมาบอดสนิท
เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตาโดยทั่วไปจะเคลื่อนไหวช้าประสาทสัมผัสบางส่วนจะทำงานได้ดีกว่าคนปกติเช่น ประสาทหู
และความสามารถด้านความจำส่วนสุขภาพโดยทั่วไปจะไม่แตกต่างจากเด็กปกติ รวมทั้งการพูดจาก็จะใช้ภาษาพูดตามปกติแต่จะเรียนการพูด
ได้ช้ากว่าเด็กปกติ เด็กตาบอดจะพูดเสียงดัง แต่น้ำเสียงปกติจะไม่มีการใช้มือประกอบท่าทางการพูด และเวลาพูดจะเผยอริมฝีปากเล็กน้อย

อาการที่บอกถึงความผิดปกติของสายตา (symptoms of Visual Impairment)
1. มีอาการคันตาเรื้อรัง มีน้ำตาไหลอยู่เสมอ หรือตาแดงอยู่บ่อยๆ
2. มักมองเห็นภาพซ้อน วิงเวียนศีรษะ มองเห็นไม่ชัดในบางครั้ง
3. เวลามองวัตถุไกลๆ ต้องขยี้ตา หรือทำหน้าย่นขมวดคิ้ว
4. เวลาเดินต้องมองอย่างระมัดระวังหรือเดินช้าๆ โดยกลัวจะสะดุดสิ่งที่ขวางหน้า
5. ไม่มีความสนใจดูภาพที่ติดตามฝาผนัง หรือข้อความที่เขียนบนกระดานดำ
6. มักบ่นเรื่องสายตาอยู่เสมอ
7. ไม่ชอบการทำงานที่ต้องใช้สายตา
8. กระพริบตาบ่อยๆ ขณะอ่านหนังสือ
9. วางหนังสือในลักษณะผิดปกติขณะอ่านใกล้หรือไกลเกินไป
10. ขณะอ่านต้องเอียงศีรษะ
11. อ่านหนังสือได้ในระยะเวลาสั้น
12. ขณะอ่านหนังสือต้องปิดตาข้างใดข้างหนึ่ง
13. สายตาสู้แสงสว่างไม่ค่อยได้
สาเหตุของความบกพร่องทางสายตา (Causes of Umpaired Vision)
สาเหตุโดยทั่วไปของความบกพร่องทางสายตาเกิดได้จากการใช้ยาหยอดตาพร่ำเพรื่อ ใช้เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์
อาจเกิดเป็นต้อหินได้ อาจเกิดได้จากการเป็นโรคเนื้องอกที่ตาหรือได้รับบาดเจ็บที่ตาอันมาจากอุบัติเหตุต่างๆ หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ
ซึ่งพอสรุปได้ สาเหตุใหญ่ๆ ด้วยกันคือ
- เกิดจากการได้รับบาดเจ็บเกี่ยวกับตา
- เกิดจากพันธุกรรม
Kerby (1958) ได้ศึกษาพบว่าเด็กตาบอดประมาณ 14 - 15 % มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมสาเหตุของความบกพร่องทางสายตา
อันเกิดจากพันธุกรรมนั้น ได้แก่ ความผิดปกติของดวงตา ทำให้กลายเป็นคนสายตาสั้นหรือสายตายาวได้
การปรับตัวส่วนตัวและการปรับตัวทางสังคมของเด็กตาบอด (Personal and Social Adjustment)

การปรับตัวของเด็กตาบอดไม่ว่าจะเป็นด้านส่วนตัวหรือทางสังคมขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจของเด็กแต่ละคน คือ เด็กที่มีฐานะดี
ก็จะได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี ส่วนเด็กที่ครอบครัวยากจน ขาดความอบอุ่น ตามปกติ เด็กตาบอดมักจะไม่คิดว่าตนเองอยู่ในโลกมืดไม่เศร้าเสียใจ
กับความบกพร่องทางสายตาของตนเท่าไรนัก มีบางคนเท่านั้นที่มีความรู้สึกหดหู่ที่มองไม่เห็นเนื่องมาจากได้ยินคำบอกเล่าหรือคำพูดเปรียบเทียบ
ความสุขของเด็กตาบอดขึ้นอยู่กับ 3 ประการ คือ
1. การยอมรับของสังคม
2. ความสำเร็จส่วนตัว
3. การยอมรับสภาพของตน
การเป็นอยู่ของคนตาบอดมักไม่เกี่ยวข้องกับคนปกติมากนัก กิจกรรมของพวกเขามักเป็นกิจกรรมซ้ำๆ เช่น การร้องเพลง
คนตาบอดมักร้องเพลงได้ดี คนปกติทั่วไปมักเข้าใจว่า คนตาบอดจะสติปัญญาทึบ หรือมีลักษระเป็นคนไร้ความสามารถซึ่งความจริงแล้วไม่เป็น
เช่นนั้นเลย
พัฒนาการทางด้านร่างกาย
ความบกพร่องทางสายตาไม่ได้มีอิทธิพลต่อความเจริญเติบโตของเด็ก นำหนัก ส่วนสูง เหมือนคนปกติ
จะเสียเปรียบตรงที่การกระทำที่ต้องใช้ทักษะต่างๆ ซึ่งคนตาบอดมักได้รับการฝึกฝนใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ การมองไม่เห็น ทำให้เด็กคลานช้า
เดินช้า และขาดการฝีกฝนในกิจกรรมที่ต้องใช้ความรวดเร็วทุกชนิดเช่น การขี่จักรยาน การเล่นฟุตบอล หรือกีฬาอื่นๆ
พัฒนาการทางสมอง
เด็กตาบอดจะเสียเปรียบเพราะขาดการรับรู้ทางสายตา เป็นเหตุให้พัฒนาการทางสมองช้าไปด้วย แต่ความสามารถ
ทางสมองของพวกเขาไม่ได้ลดหรือเพิ่ม อันเนื่องมาจากการมองไม่เห็นแต่อย่างใด เพียงแต่สติปัญ-ญาของเด็กตาบอด
ไม่อาจพัฒนาได้ดีได้จนถึงที่สุดเท่านั้น ได้ทำการทดสอบวัดของเด็กตาบอดจากโรงเรียนต่างๆ สรุปไว้ว่า เด็กตาบอดนั้น
ยังคงมีความสามารถทางสมองเป็นปกติ
พัฒนาทางการทางอารมณ์
เด็กตาบอดมีความต้องการเช่นเดียวกับคนปกติทุกประการ แต่จะมีช่วงที่สร้างความปั่นป่วนให้คนตาบอดมากคือ
เมื่อต้องพึ่งพาผู้อื่นในด้านสายตาเพราะเขาทำเองไม่ได้ ิต่อมาระยะที่เขาจำเป็นต้องหางานทำ ความวิตกกังวล
ในการดำรงชีวิตต่อไปโดยให้ได้รับความปลอดภัย และเกิดเป็นความหวาดกลัวที่จะไปไหนมาไหน กลัว
อันตรายต่างๆ

พัฒนาการทางสังคม
การมองไม่เห็นมีอิทธิพพต่อพัฒนาการทางสังคมของเด็กตาบอดมาก พวกเขาต้องการที่จะเรียนรู้ประสบการณ์
ต่างๆ มากกว่าเด็กธรรดาเพื่อเขาจะได้ไม่ว้าเหว่ ต้องการเรียนรู้การเป็นผู้ให้และผู้รับด้วยเพื่อทำให้อยู่ในสังคม
ได้อย่างมีความสุขเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป




คำจำกัดความ
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง เด็กที่มีการสูญเสียการได้ยิน ซึ่งอาจจะเป็นเด็กหูตึงหรือเด็กหูหนวก
ก็ได้
เด็กหูหนวก หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน 90 เดซิเบลขึ้นไป วัดด้วยเสียงบริสุทธิ์ ณ ความถี่ 100, 1000 และ
2000 Hzในหูข้างดีกว่าเด็กไม่สามารถใช้การได้ยินเป็นประโยชน์เต็มประสิทธิภาพในการฟัง อาจเป็นผู้ที่สูญเสียการได้
ยินมาแต่กำเนิดหรือเป็นการสูญเสียการได้ยินในภายหลังก็ตาม
เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน ระหว่าง 26-89 เดซิเบล ในหูข้างดีกว่า วัดโดยใช้เสียงบริสุทธิ์ความถี่
500,1000 และ 2000 Hz เป็นเด็กที่สูญเสียการได้ยินเล็กน้อยไปจนถึงการได้ยินขั้นรุนแรง
ลักษณะ
1. การพูด เด็กอาจพูดได้ไม่ชัดหรือไม่ได้เลย ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับการสูญเสียการได้ยินของเด็ก เด็กที่สูญเสียการได้ยิน
เล็กน้อยอาจพอพูดได้ส่วนเด็กที่สูญเสียการได้ยินมากหรือหูหนวกอาจพูดไม่ได้เลยหากไม่ได้รับการสอนพูดตั้งแต่ในวัยเด็ก

2. ภาษา เด็กจะมีปัญหาทางด้านภาษา เช่น มีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ในวงจำกัด เรียงคำเป็นประโยคที่ผิดหลักภาษา
เป็นต้น
3. ความสามารถทางสติปัญญา จากการรายงานการวิจัยเป็นจำนวนมากพบว่า มีการกระจายคล้ายเด็กปกติ บางคน
อาจโง่ บางคนอาจฉลาด บางคนฉลาดถึงขั้นเป็นอัจฉริยะก็มี จึงอาจสรุปได้ว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
ไม่ใช่เด็กโง่ทุกคน
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนค่อนข้างต่ำกว่าเด็กปกต
ิ เนื่องมาจากการสอนที่ผิดวิธี ความสามารถในภาษาที่มีอยู่อย่างจำกัด
5. การปรับตัว มีปัญหาเนื่องมาจากการสื่อสารกับผู้อื่น หากเด็กสามารถสื่อสารได้ดี ปัญหาทางอารมณ์ก็จะลดลง และ
สามารถปรับตัวได้ แต่ถ้าหากไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ อาจเกิดความเก็บกด คับข้องใจ ทำให้มีปัญหาในการปรับตัวได้



เด็กที่มีปัญหาความบกพร่องทางร่างกาย ขาดความสามารถทางการสื่อสารมีปัญหาอารมณ์ หรือสังคม รวมทั้งเด็กที่มีปัญญาเลิศ แต่ละคนมีปัญหาเฉพาะตัว แต่สิ่งที่เด็กทุกคนมีความต้องการพิเศษนี้ ต้องการเหมือนกันคือ การได้รับความช่วยเหลือแต่เนิ่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการรักษา การบำบัดหรือการศึกษาพิเศษเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กสามารถพัฒนาตนและได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพของเด็กและดีที่สุดสำหรับเด็ก
จุดมุ่งหมายที่สอดคล้องกันระหว่าง ครู ผู้ปกครอง และเด็กในการมาโรงเรียนก็คือ การพัฒนาความสามารถของเด็กแต่เนื่องจากเด็กแต่ละคนมีเอกลักษณ์ของตนเองวิธีการที่นำมาใช้สั่งสอนอบรมเพื่อพัฒนาเด็กจึงจำเป็นต้องปรับให้เหมาะสมกับเด็ก แต่ละคนด้วย ในการที่ทำเช่นนี้ได้ ครู-ผู้ปกครองจะต้องรู้จักเด็กอย่างดี การเรียนการสอนในโรงเรียนโดยทั่วไปจะคำนึงถึงเกณฑ์ปกติ คือเด็กส่วนใหญ่เป็นอย่างไรก็จะดำเนินการเรียนการสอนให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของเด็กส่วนใหญ่เหล่านั้น เด็กซึ่งมีความแตกต่างไปจากกลุ่มจึงมักประสบความล้มเหลวทางการเรียนบ้างก็เกิดมีปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรม เนื่องมาจากาการไม่ประสบความสำเร็จ บทความนี้จะพูดถึงเด็กกลุ่มหลังนี้ในลักษณะของ“เด็กที่มีความต้องการพิเศษโรงเรียนปกติ “ และเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจตรงกันจึงขอกำหนดคำจำกัดความ และขอบข่ายไว้ดังนี้คือ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควร จากการเรียนการสอนตามปกติ ทั้งนี้ มีสาเหตุมาจากสภาพความบกพร่องทางร่างกายสติปัญญาและอารมณ์จำเป็นต้องจัดการศึกษาพิเศษให้เหมาะกับลักษณะและความต้องการของเด็ก
โรงเรียนปกติ หมายถึง โรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนสำหรับเด็กปกติในระดับปฐมวัยและ / ประถมศึกษา และ / หรือมัธยมศึกษา
เด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนปกติ หมายถึง เด็กที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนปกติ ซึ่งอาจพบในลักษณะของการเรียนร่วมชั้นกับเด็กปกติเต็มเวลา หรือเรียนร่วมบางเวลาหรือเรียนอยู่ในชั้นที่จัดเฉพาะกลุ่มเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
จะพบเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้ที่ไหน
เด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนปกตินั้น อาจจำแนกได้เป็น 2 กลุ่มคือเด็กที่โรงเรียนรับเข้ามาเรียนโดยไม่ทราบว่าเป็นเด็กพิเศษ เนื่องมาจากไม่มีการทดสอบหรือไม่สามารถสังเกตได้เด่นชัด เด็กประเภทนี้หากมีความผิดปกติ หรือความพิการมักอยู่ในขั้นไม่รุนแรง จึงทำให้ครู - ผู้ปกครองไม่ทราบปัญหา แต่เมื่อเข้ามาเรียนในโรงเรียนระยะหนึ่งแล้วจึงสังเกตได้ว่ามีความก้าวหน้าล่าช้า เรียนไม่ทันเพื่อน หรือมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
เด็กที่มีความต้องการพิเศษอีกกลุ่มหนึ่ง เป็นเด็กที่มีความผิดปกติบางประการที่เห็นเด่นชัด หรือได้รับการวินิจฉัยมาแล้วแต่ต้นก่อนเข้าโรงเรียน โดยที่โรงเรียนนั้นๆ มีบริการการศึกษาพิเศษสำหรับเด็กเหล่านี้ในลักษณะของการเรียนร่วมมีบริการพิเศษตามความเหมาะสม เด็กกลุ่มนี้มักมีความผิดปกติที่เด่นชัดหรือรุนแรงกว่าพวกแรก และโรงเรียนที่ให้บริการด้านนี้ก็มักทราบล่วงหน้า และเตรียมตัวเตรียมใจไว้แล้วว่าควรปฏิบัติอย่างไร จึงจะไม่บอกกล่าวในที่นี้ขจะขอเน้นเฉพาะเด็กกลุ่มแรกคือเด็กที่พบในโรงเรียนปกติ เพื่อเป็นข้อสังเกตสำหรับครูในการเข้าใจเด็กและทำการคัดแยกวินิจฉัยเด็ก ว่าเด็กคนใดที่เป็นเด็กซึ่งมีความต้องการพิเศษในด้านใด และควรได้รับการช่วยเหลือขั้นต้นอย่างไรบ้าง
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
เด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนปกติ จำแนกได้ดังนี้คือ

1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ได้แก่ เด็กเรียนช้า เด็กปัญญาอ่อน

2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน

3. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น

4. เด็กที่มีความพิการทางร่างกายและมีความบกพร่องทางสุขภาพ

5. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด

6. เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์ / พฤติกรรม

7. เด็กที่ด้วยความสามารถทางการเรียน

8. เด็กปัญญาเลิศ

9. เด็กออทิสติค


1. เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
ระดับสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญา เป็นเกณฑ์ที่ใช้วัดสติปัญญา ความคิด ความสามารถของบุคคล เป็นระดับปริมาณที่ชี้ถึงความสามารถของบุคคลว่าอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่า หรือสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กในระดับอายุเดียวกันซึ่งเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่าระดับไอคิว ( IQ )
ระดับไอคิวเฉลี่ยของบุคคลทั่วไปคือ 90 - 109 หรือ90 - 110 หากมีระดับไอคิวต่ำกว่า 90 ลงมา ถือว่ามีความบกพร่องทางสติปัญญา ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ
ก. เด็กเรียนช้า หมายถึง เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติและมีความต้องการในด้านการเรียนในรูปแบบของการศึกษาพิเศษเต็มเวลาหรือบางเวลาในชั้นพิเศษในโรงเรียนปกติ และเด็กเหล่านี้จะมีระดับไอคิวประมาณ70 - 90จัดเป็นพวกขาดทักษะในการเรียนรู้ หรือมีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
ข. เด็กปัญญาอ่อน หมายถึง เด็กที่มีภาวะพัฒนาการของจิตใจหยุดชะงัก หรือการเรียนรู้น้อย มีพัฒนาการทางกายล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย มีความสามารถจำกัดในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เด็กปัญญาอ่อนแบ่งตามระดับเชาว์ปัญญาได้ 4 กลุ่ม คือ
1. ปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก มีระดับไอคิวต่ำกว่า 20 ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่างๆ ได้เลยต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น 2. ปัญญาอ่อนขนาดหนัก มีระดับไอคิว 20 - 34 ไม่สามารถเรียนได้ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่ายๆ 3. ปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง พอฝึกอบรมได้ มักใช้คำย่อว่า T. M. R. ( Trainable Mentally Retared ) มีระดับไอคิว35 - 49 พอที่จะฝึกอบรมและเรียนรู้ทักษะเบื้องต้นง่ายๆ ได้ เช่น เรียนเลขเบื้องตน อ่านและเขียนคำง่ายๆ ได้บ้าง สามารถฝึกอาชีพหรือทำงานง่ายๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดละออได้ กลุ่มนี้ต้องการเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาได้ในชั้นพิเศษ และใช้หลักสูตรตามหลักการศึกษาพิเศษ หรือโรงเรียนพิเศษ 4. ปัญญาอ่อนขนาดน้อย หรือพอเรียนได้ มักใช้คำย่อว่า E.M.R. ( Educable Mentally Retarded ) มีระดับไอคิว50- 70 เด็กกลุ่มนี้พอเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาได้ในชั้นพิเศษ และใช้หลักสูตรตามหลักการศึกษาพิเศษ และสามารถฝึกอาชีพและงานง่ายๆ ได้
เด็กปัญญาอ่อนกลุ่มที่ 4 และเด็กเรียนช้านี่เอง คือเด็กที่เราพบในโรงเรียนปกติหรือจัดเป็น “ เด็กที่มีความต้องการพิเศษ “โดยที่เด็กพอช่วยตนเองได้ ครูและผู้ปกครองจึงไม่ทราบปัญหาจนเข้าเรียนไประยะหนึ่งแล้วพบว่า เด็กเรียนไม่ทันเพื่อน ซึ่งสมัยก่อนครูจะลงสมุดรายงานแจ้งผู้ปกครองว่าเด็กมีสติปัญญาทึบ
สำหรับเด็กปัญญาอ่อน กลุ่ม 1 - 3 นั้น มักมีลักษณะที่ปรากฏชัดตั้งแต่วัยเด็ก เราเพราะมักจะมีความผิดปกติทางด้านอื่น ๆเช่น การเคลื่อนไหวช้า นั่งและเดินได้ช้ากว่าปกติ มีปัญหาทางการพูด เด็กปัญญาอ่อนบางคนอาจเดินไม่ได้ หรือพูดไม่ได้ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน ไม่สนในต่อตนเอง และสภาพแวดล้อม น้ำลายไหลและอาจมีความบกพร่องด้านอื่นๆ อีก เด็กปัญญาอ่อนทั้ง 3 กลุ่มนี้จึงมักจะไม่พบบ่อยนักในโรงเรียนปกติ
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่พอสังเกตได้
1. มีพัฒนาการโดยทั่วไปช้า 2. มีความสามรถทางร่างกายด้อยกว่าเด็กปกติ 3. อวัยวะภายนอกบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ 4. กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน 5. ไม่สามารถปรับตัวได้ 6. ไม่สามารถช่วยตนเองได้ เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กวันเดียวกัน 7. มีพัฒนาการทางภาษาล่าช้า 8. ชอบเล่นกับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า
พฤติกรรมบางอย่างในห้องเรียน
1. ไม่เข้าใจบทเรียน 2. ขาดความสนใจใจบทเรียน และก่อปัญหาในห้องเรียน 3. ไม่มีสมาธิในการเรียน ไม่เข้าใจบทเรียนและจดจำไม่ได้ 4. กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน แม้อายุถึงวัยที่ควรทำได้แล้ว 5. เมื่ออายุถึงเกณฑ์เข้าเรียน ( 7 ขวบ ) ยังไม่พร้อมที่จะอ่านจะเขียน และพูด 6. มีผลการเรียนต่ำในแทบทุกวิชา 7. มีช่วงความสนใจสั้น และขาดสมาธิในการเรียน 8. ขาดความสนใจสภาพความเป็นไปโดยทั่วไปของห้องเรียน เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน
ความต้องการพิเศษ
เด็กเรียนช้าและเด็กปัญญาอ่อนซึ่งพบในโรงเรียนปกตินั้น ควรได้รับบริการพิเศษเพิ่มเติมจากเด็กปกติคือ บริการแก้ไขการพูด บริการกายภาพบำบัด บริการกรรมบำบัดหรืออาชีวะบำบัด บริการสอนซ่อมเสริม
2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน หมายถึง เด็กที่มีบกพร่องหรือสูญเสียการได้ยินเป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่างๆไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และเด็กหูหนวก
เด็กหูตึง หมายถึง ผู้ที่สูญเสียการได้ยินจนไม่สามารถเข้าใจคำพูดและการสนทนาซึ่งจำแนกตามเกณฑ์การพิจารณาอัตราการของหูของสมาคมโสต ศอ นาสิก แพทย์แห่งประเทศไทย โดยใช้ค่าเฉลี่ยการได้ยินที่ความถี่ 500, 1000 และ 2000ในหูข้างที่ดีกว่าเด็กหูตึงอาจแบ่งตามระดับการได้ยินได้ 4 กลุ่ม คือ
1. เด็กหูตึงระดับที่ 1 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 26 - 40 dB 2. เด็กหูตึงระดับที่ 2 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 41 - 55 dB 3. เด็กหูตึงระดับที่ 3 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 56 - 70 dB 4. เด็กหูตึงระดับที่ 4 มีการได้ยินเฉลี่ยระหว่าง 71 - 90 dB
เด็กหูหนวก หมายถึง ผู้ที่สูญเสียการได้ยินมากจนไม่สามารถเข้าใจ หรือใช้ภาษาพูดได้ หากไม่ได้รับการฝึกฝนเป็นพิเศษ และถ้าวัดระดับการได้ยินที่ 500 - 2000 จะมีการพูดตอบสนองของหูข้างที่ดีกว่าต่อเสียงบริสุทธิ์ตั้งแต่ 91 dB ขึ้นไป เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่อาจพบได้ในโรงเรียนปกตินั้น ส่วนมากจะเป็นเด็กหูตึง เพราะเด็กหูหนวก มักสังเกตได้ชัดเจน ในที่นี้จึงขอกล่าวเน้นเฉพาะกลุ่มเด็กหูตึง
เด็กหูตึงระดับที่ 1 ( 26-40 dB ) จะมีปัญหาในการรับฟังเสียงเบา ๆ เช่น เสียงกระซิบหรือเสียงจากที่ไกลๆ เด็กกลุ่มนี้สามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติในห้องเรียนธรรมดาได้ หากมีที่นั่งเรียนที่สามารถมองเห็นครูและเพื่อนได้ดี หากมีเพื่อนช่วยฟังที่เหมาะสมก็จะเป็นประโยชน์มาก
เด็กหูตึงระดับที่ 1 ( 41-55 dB ) จะมีปัญหาในการฟังเสียงพูดคุยที่ดังในระดับปกติที่มีระยะห่าง 3 - 5 ฟุต และไม่เห็นหน้าผู้พูด ดังนั้นเมื่อพูดคุยด้วยเสียงธรรมดาก็จะไม่ได้ยินหรือได้ยินไม่ชัดจับใจความไม่ได้ นอกจากนี้มีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่นพูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยน พูดเสียงเบาหรือเสียงผิดปกติ
เด็กหูตึงระดับที่ 3 ( 56-70 dB ) มีปัญหาในการรับฟังและเข้าใจคำพูดเมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน เช่น เสียงในห้องประชุม มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าเด็กปกติ พูดไม่ชัด เสียงเพี้ยนบางคนไม่พูด
เด็กหูตึงระดับที่ 4 ( 71 - 90 dB ) เป็นกลุ่มเด็กหูตึงระดับรุนแรง จึงมีปัญหาในการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก เด็กจะสามารถได้ยินเฉพาะเสียงที่ดังใกล้หูในระยะทาง 1 ฟุต ต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียงจึงจะได้ยินเด็กกลุ่มนี้แม้จะใช้เครื่องช่วยฟังก็มีปัญหาในการแยกเสียง อาจแยกเสียงสระได้ แต่แยกเสียงพยัญชนะได้ยากมักพูดไม่ชัดและมีเสียงผิดปกติ บางคนไม่พูด
เด็กหูตึงที่พบในโรงเรียนปกติ โดยที่ทางโรงเรียนรับเข้าไปโดยไม่ทราบปัญหานั้นมักเป็นเด็กหูตึงในระดับที่ 1 หรืออย่างมากก็ระดับที่ 2 สำหรับเด็กหูตึงในระดับที่ 3 และระดับที่ 4 นั้น มีไม่มากนักในระดับประถมศึกษา หรือมัธยมศึกษา ยกเว้นในกรณีที่หูตึงภายหลัง คือ สูญเสียการได้ยินขณะอยู่ในโรงเรียน สำหรับในระดับปฐมวัยนั้น โอกาสที่จะพบนั้นเป็นไปได้ทั้ง 4 กลุ่ม โดยผู้ปกครองมักคิดว่าเด็กปากหนัก พูดช้า
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่พอสังเกตได้
1. ใบหูผิดปกติ2. ไม่มีใบหู3. หูน้ำหนวกเรื้อรัง4. มักตะแคงหูฟัง5. เมื่อพูดมีเสียงแปลก มักเปล่งเสียงสูง6. พูดด้วยเสียงต่ำ หรือด้วยเสียงที่ดังเกินความจำเป็น7. เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด8. มีการพูดผิดปกติ9. ไม่มีปฏิกิริยาต่อเสียงดัง เสียงพูด เสียงดนตรี หรือมีบ้างเป็นบางครั้ง10. มักจะทำหน้าเด๋อเมื่อมีการพูดด้วย11. ไม่พูดเมื่อมีสิ่งเร้าใจจากสภาพแวดล้อม12. ให้ความสนใจต่อการสั่นสะเทือน
พฤติกรรมบางอย่างในห้องเรียน
1. ไม่สามารถปฏิบัติตามคำสั่งได้2. มีความลำบากในการอ่านหนังสือ3. ไม่ตอบคำถาม4. มีผลการเรียนอ่อนลง5. พูดเบามาก หรือดังมากเกินความจำเป็น6. ไม่มีปฏิกิริยาต่อคำพูด หากผู้พูดอยู่ข้างหลังหรืออยู่ไกล7. มักขอตอบคำถามผิด เพราะการับฟังไม่ถูกต้อง9. พูดไม่ชัด10. มักเขียนหนังสือผิด
ความต้องการพิเศษ
ก. วัสดุอุปกรณ์เครื่องช่วยฟังเฉพาะตัวเครื่องช่วยฟังเป็นกลุ่มเครื่องขยายเสียงระบบรูป หรือเครื่องสอนพูดระบบ F.M.
ข. บริการพิเศษ
บริการสอนพูด / แก้ไขการพูดบริการสอนซ่อมเสริม
3. เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น หมายถึง เด็กที่มองไม่เห็น ( ตาบอดสนิท ) หรือพอเห็นแสง เห็นลางเลือน และมีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง โดยมีความสามารถในการเห็นได้ไม่ถึง 1 / 10 ของคนสายตาปกติ หลังจากที่ได้รับการรักษาและแก้ไขทางการแพทย์แล้ว หรือมีลานสาตากว้างไม่เกิน 30 องศา
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. เด็กตาบอด หมายถึงเด็กที่มองไม่เห็น หรืออาจจะมองเห็นบ้างไม่มากนัก ไม่สามารถใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ในการเรียนการสอนได้ หากทดสอบสายตาเด็กประเภทนี้จะมีข้างดีสามารถมองเห็นได้ในระยะ 20 / 200 หรือน้อยกว่านั้น และลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดจะแคบกว่า 5 องศา
2. เด็กตาบอดไม่สนิท หรือสายตาเลือนลาง หมายถึงเด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา สามารถมองเห็นบ้าง แต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ เมื่อทดสอบสายตาเด็กประเภทนี้จะมีตาข้างดีสามารถมองเห็นได้ในระยะ 20 / 60 หรือน้อยกว่านั้นและลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงจะกว้างไม่เกิน 30 องศา
ปกติเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นที่พบในโรงเรียนนั้นมักจะเป็นเด็กประเภทที่ 2 และเด็กที่มีปัญหาทางสายตาเช่น สายตาสั้น สายตาเอียง ซึ่งการเห็นก็ยังอยู่ในภาพที่ใช้ได้ เพียงแต่ได้รับการช่วยเหลือที่เหมาะสม สำหรับเด็กประเภทแรกหากรับเข้ามาก็หมายความว่าโรงเรียนมีบริการเรียนร่วมให้กับเด็กเหล่านั้น
ในกรณีของเด็กที่มีปัญหาทางสายตา ที่ยังไม่ถึงกับสายตาบอดนั้น หากครู-ผู้ปกครองสังเกตลักษณะพฤติกรรมได้แต่เนิ่นๆ ก็จะเป็นประโยชน์ในการช่วยเหลือเด็กได้ทันท่วงที
ลักษณะบางอย่างที่พอสังเกตได้
1. ขอบตาแดง2. ขอบตาบวม3. เปลือกตาแข็ง หนังตาบวม4. น้ำตาไหลเนืองๆ 5. กรอกนัยน์ตาไปมาเวลาเหนื่อย6. มีอาการกระตุกถี่ๆ ที่ดวงตา7. ขนาดของลูกตาดำสองข้างไม่เท่ากัน8. มักขยี้ตาบ่อยๆ9. หรี่ตา และสั่นศรีษะบ่อยๆ 10. ก่อนจะเพ่งสายตาไปยังสิ่งใด เด็กมักจะเอียงศรีษะไปทิศตรงข้าม11. เวลาเล่นมักจะสะดุด และหกล้มบ่อยๆ 12. ขมวดคิ้ว หลิ่วตามอง13. มีความลำบากในการเอื้อมจับสิ่งของ14. ใบหน้าบูดเบี้ยว เมื่อมองดูวัตถุในระยะไกล15. ดวงตาไวต่อแสงเกินไป16. ไม่เห็นความแตกต่างของสี และไม่อยากมองวัตถุสิ่งของต่างๆ 17. เวลามองวัตถุในระยะไกลมักจะชะโงกหน้าออกมาหรือโน้มตัวไปข้างหน้า18. มักปรารภว่ามองไม่ชัด หรือมองของชิ้นเดียวเป็นสองชิ้น19. กระพริบตามากกว่าปกติ20. เป็นฝีหรือกุ้งยิงบ่อยๆ หรือตาเหล่เป็นครั้งคราว
พฤติกรรมบางอย่างในห้องเรียน
1. เวลาอ่านหนังสือมักจะวางหนังสือห่างจากสายตามาก2. ขาดความสนใจในชั่วโมงอ่านไทย3. เวลาอ่านหนังสือมักจะวางหนังสือใกล้สายตามาก หรือก้มหน้าแทบจะจรดกระดาษ4. อ่านหนังสือในระยะเวลาสั้นๆ โดยไม่หยุดพักสายตาเลย5. ใบหน้าบูดเบี้ยว หรือขมวดคิ้วเวลาดูสิ่งของต่างๆ หรือขณะอ่านหนังสือ6. หลับตาหรือเอาปิดตาข้างหนึ่งขณะอ่านหนังสือ7. เอียงศรีษะไปข้างใดข้างหนึ่งขณะอ่านหนังสือ8. สายตาทั้งสองข้างทำงานไม่ประสานกันขณะอ่านหนังสือ9. มักเคลื่อนมือขึ้นลง ทำให้ระยะระหว่างสายตาและหน้ากระดาษเปลี่ยนไปตลอดเวลาขณะอ่านหนังสือ10. สับสนระหว่างพยัญชนะตงๆ เช่น ค กับ ต, ด กับ ต, ซ กับ ซ, ฏ กับ ฏ ฯลฯ11. มักอ่านสลับคำ หรืออ่านตัวอักษรสลับที่กัน12. มักอ่านข้ามข้อความหรืออ่านข้ามบรรทัด13. อ่านผิดมากแม้จะเป็นข้อความง่ายๆ เพราะเดาคำและข้อความเอาเอง14. อ่านผิดมากถ้าอ่านเป็นเวลานาน15. เขียนหนังสือไม่ตรงบรรทัด16. เวลาอ่านหนังสือหรือทำการฝีมือมักปวดหัว เวียนศรีษะ คลื่นไส้หรือ บ่นว่าคันและเคืองตาเสมอ
ความต้องการพิเศษ
ก. วัสดุอุปกรณ์แว่นตาที่เหมาะกับสายตาเครื่องอ่านหนังสือslate and stylus ( แผ่น และดินสอสำหรับเขียน )เครื่องมือเรขาคณิตกระดาษกราฟลูกคิดไม้เท้าเครื่องบันทึกเสียง
ข. บริการพิเศษ
บริการการฝึกสอนความเข้าใจในสภาพแวดล้อม และการเคลื่อนไหว ( orientation and mobility การสอนซ่อมเสริมการสอนอักษรเบรลล์
4. เด็กที่มีความพิการทางร่างกายและมีความบกพร่องทางสุขภาพ
เด็กที่พิการทางร่างกายและมีความบกพร่องทางสุขภาพ หมายถึง เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนหายไป กระดูกกล้ามเนื้อพิการ เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง หรือเฉียบพลัน มีความพิการทางระบบสมอง ประสาท ที่ไม่รวมพวกพิการทางประสาทสัมผัส ( เช่น ตาบอด หูหนวก ) มีความลำบากในการเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาในสภาพปกติ จำแนกได้ดังนี้
1. ซีพี หรือ ซีรีบรัล พัลซี่ ( Cerebral palsy ) หมายถึงการเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ ซึ่งทำให้เกิดกลุ่มอาการผิดปกติ เช่น การเคลื่อนไหวการพูดการได้ยินผิดปกติ พัฒนาการล่าช้า ความบกพร่องทางสติปัญญาเด็กซีพี ที่พบส่วนใหญ่มี 4 ประเภท คือ
ก. อัมพาตเกร็ง ( spastic ) ของแขนขา หรือครึ่งซีกข. อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ ( athetoid ) จะควบคุมการเคลื่อนไหวและบังคับให้ไปในทิศทางที่ต้องการไม่ได้ค. อัมพาตสูญเสียการทรงตัว ( ataxic ) กระประสานงานของอวัยวะไม่ดีง. อัมพาตตึงแข็ง ( rigid ) การเคลื่อนไหวแข็ง ช้า ร่างกายทีอาการสั่น กระตุกอย่างบังคับไม่ได้
2. มัสคิวล่าร์ ดิสโทรฟี่ ( muscular dystrophy ) เกิดจากสมองประสาทส่วนนั้นๆ เสื่อมสลายตัวโดยไม่ทราบสาเหตุ กล้ามเนื้อแขนขาจะค่อยๆ อ่อนกำลัง เด็กจะเดินหกล้มบ่อย เดินเขย่งปลายเท้า ขาไม่มีแรง ต้องใช้ท้าวโต๊ะ หรือเก้าอี้เพื่อลุกยันขึ้น อาการอาจเลวลง ช้าหรือเร็วตามสภาพของเซลกล้ามเนื้อที่เสื่อมสมรรถภาพ ต่อมาจะเดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ ท้ายสุดต้องนอนอยู่กับที่ จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือความจำเลวลง สติปัญญาเสื่อม
3.โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ ( Orthopedic ) ที่พบบ่อยได้แก่
ก. พิการแต่กำเนิน เช่น เท้าแป ( club foot ) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อนอัมพาตครึ่งท่อน เนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด(spina bifida) ทำให้เกิดความพิการทางไขสันหลังส่วนศรีษะนั้นๆ จึงสูญเสียความรู้สึกเจ็บปวด กลั้นอุจจาระ ปัสสาวะไม่ได้ อาจมีน้ำคั่งในสมอง และกระดูกเท้าพิการ เช่น เท้าแป เด็กประเภทนี้จะยืนเดิน โดยใช้กายอุปกรณ์เสริมข. พิการด้วยโรคติดเชื้อ ( infection ) เช่น วัณโรคกระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุทำให้กระดูกส่วนนั้นพิการ เช่นขาสั่นเพราะการเจริญทางกระดูกขาหยุดชะงักค. กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักแสบ มีความพิการเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง หรือทันท่วงทีภายหลังได้รับบาดเจ็บ
4.โปลิโอ อัมพาตชนิดกล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่มีกำลังในการเคลื่อนไหว ต่อมาทำให้มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา เพียงพิการแขนขายืนเดินไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนได้ ด้วยกายอุปกรณ์เสริม
5.แขนขาด้วยแต่กำเนิด รวมทั้งเด็กที่เกิดมาด้วยลักษณะของอวัยวะที่มีความเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น นิ้วมือติดกัน 3-4 นิ้ว มีแต่แขนท่อนบนต่อกับนิ้วมือ ไม่มีข้อศอก ข้อมือ เป็นต้น เด็กที่แขนขาด้วยเนื่องจากอุบัติเหตุ ภัยอันตรายในวัยเรียนก็พบมาก พวกที่เป็นมาแต่กำเนิด จะได้รับการใส่การอุปกรณ์เทียมเมื่ออายุยังน้อย และสามารถปรับตัวได้แล้วเมื่อเริ่มเข้าเรียน แต่เด็กที่เป็นภายหลังเมื่อได้รับการบำบัดรักษาปรับสภาพ และฟื้นฟูสมรรถภาพแล้ว แม้สามารถเดินและใช้มือด้วยการอุปกรณ์เทียม ก็ยังต้องการการปรับตัวปรับใจอีกระยะหนึ่ง
6. โรคกระดูกอ่อน เด็กไม่เจริญเติบโตสมวัย ตัวเตี้ย มีลักษณะข้อกระดูกผิดปกติกระดูกยาวบิดเบี้ยวเห็นได้ชัดเจนจากกระดูกหน้าแข้ง
7. โรคลมชัก เป็นลักษณะอาการที่เนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมองที่พบบ่อยมี 3 ประเภท คือ
ก. ลมบ้าหมู ( grand mal ) เป็นชนิดรุนแรง เมื่อเป็นหมดสติและความรู้สึกในขณะชัก กล้ามเนื้อเกร็ง หรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น อาจชักเป็นระยะสั้น หรือนานหลายนาที ครั้งเดียวหรือหลายครั้งติดต่อกัน ภายหลังการชักเด็กซึม อ่อนเพลีย หรือหลับ และจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างชักไม่ได้
ข. พิทิต มอล ( petit mal ) เป็นอาการชักชั่วระยะสั้นๆ 5-10 วินาทีพบมากในเด็กวัยเรียนขณะมีอาการ เด็กจะหยุดชักในท่าก่อนชัก นั่งเฉยหลังจากนั้นก็จะเรียนหนังสือ หรือทำกิจกรรมต่อเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ค. พาร์เซียล คอมเพลกซ์ ( partil commplex ) หรือ ไซโคมอเตอร์ ( peychomotor ) หรือ เทมปอรัลโลบ ( temporal lobe ) เกิดอาการเป็นระยะๆ ตั้งแต่ไม่กี่วินาทีจนถึงหลายๆ ชั่วโมง ระหว่างมีอาการอาจกัดริมฝีปาก ทำท่าทางบางอย่างคล้ายไม่ตั้งใจ ไม่รู้สึก ถูตามแขนขา เดิน บางคนอาจเกิดความโกรธ หรือโมโห หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้และต้องการนอนพัก
8. โรคระบบทางเดินหายใจ โดยมีอาการเรื้อรังของโรคปอด เช่น หอบหืด วัณโรค ปอดบวม ที่มีอาการรุนแรงที่เป็นระยะยาวจนเกิดโรคแทรกซ้อน ปอดแฟบ
9. โรคเบาหวานในเด็ก เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างปกติเพราะขาดอินซูลิน
10. โรคข้ออักเสบรูมาตอย มีอาการปวดตามข้อเข่า ข้อศอก ข้อนิ้วมือ
11. โรคศรีษะโต เนื่องจากน้ำคั่งในช่องสมอง ส่วนมากเป็นแต่กำเนิด ถ้าได้รักการวินิจฉัยโรคเร็วและรับการรักษาอย่างถูกต้อง สภาพความพิการจะไม่รุนแรง เด็กสามารถปรับสภาพได้ และพื้นฐานสมรรถภาพได้ เช่น เด็กปกติ และถ้าไม่ได้รับการรักษาจะมีอาการอัมพาตของแขนขา สติปัญญาบกพร่อง หรือมีอาการชักบ่อยๆ
12. โรคหัวใจ ส่วนมากเป็นตั้งแต่กำเนิด เด็กจะตัวเล็ก เติบโตไม่สมอายุ ซีดเซียวเหนื่อย หอบง่าย อ่อนเพลีย ไม่แข็งแรงตั้งแต่กำเนิด ที่มีอาการมาก ปากเขียว เล็บมือ เล็บเท้าเขียว ถ้าได้รับการรักษาในวัยทารก เด็กจะมีสุขภาพสมบูรณ์เหมือนปกติได้
ลักษณะบางอย่างของเด็กพิการที่พอสังเกตได้
1. แขน ขา หรืออวัยวะภายนอกอื่นๆ มักเล็กผิดปกติ หรือสั้นผิดปกติ โค้งงอ ผิดปกติ หรืออาจพบในสภาพด้วน2. การเคลื่อนไหวมักลักษณะ แข็งทื่อ ไม่คล่องแคล่ว ไม่สามารถควบคุมได้ หรือเคลื่อนไหวไม่ได้นอกจากความผิดปกติทางการเคลื่อนไหวแล้ว เด็กประเภทนี้บางคนอาจมีความพิการทางปัญญาได้อีก อาจมีปัญหาในการพูด ฯลฯ
ลักษณะบางอย่างของเด็กเจ็บป่วยเรื้อรัง
1. รูปร่างเล็กกว่าอายุ2. ป่วยง่าย3. หน้าตาซีดเซียว4. ชัก กระตุก
ความต้องการพิเศษ
เด็กพิการทางร่างกาย และเด็กที่มีความบกพร่องทางสุขภาพ ที่อยู่ในโรงเรียนปกตินั้นมักเป็นความพิการในระดับที่พอช่วยตัวเองได้แล้ว และมักต้องมีกายอุปกรณ์ที่จำเป็นแล้วแต่อาจจะต้องพบกับแพทย์ เวชศาสตร์ฟื้นฟูและนักกายภาพบำบัดเป็นครั้งคราว ซึ่งทางโรงเรียนก็ต้องเอื้ออำนวยสถานการณ์ให้ อนึ่งสำหรับโรงเรียนที่รับเด็กเหล่านี้เข้าเรียนร่วม อาจจำเป็นต้องปรับสภาพอาคารเรียน ห้องน้ำ ห้องส้วม ทางเดินตามความเหมาะสมส่วนเด็กมี่มีความบกพร่องทางสุขภาพนั้น ครูต้องติดต่อใกล้ชิดกับผู้ปกครอง และแพทย์เพื่อรับคำแนะนำ และการให้ความช่วยเหลือยามฉุกเฉิน
วัสดุอุปกรณ์
เด็กพิการทางร่างกาย ต้องการวัสดุอุปกรณ์ที่พิเศษจากเด็กปกติ คือ
1. เก้าอี้รถเข็น2. ไม้ค้ำยัน3. เครื่องช่วยเดิน4. ไม้เท้า5. รถลากที่มีน้ำหนักยึดพอสมควร หรือรถเข็น6. ขาหยั่ง สำหรับวาดภาพ แบบพับเก็บได้พร้อมเครื่องเขียนและเครื่องวาดเขียนที่ดัดแปลงให้สะดวกในการใช้
บริการพิเศษ
บริการแก้ไขการพูดบริการกายภาพบำบัดบริการกิจกรรมบำบัดบริการด้านการแพทย์บริการสอนซ่อมเสริมทั้งนี้ขึ้นกับสภาพความเหมาะสมเป็นรายๆ ไป
5. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด หมายถึง เด็กที่พูดไม่ชัดพูดออกเสียงผิดเพี้ยนหรือมีการพูดที่ผิดปกติ โดยการพูดนั้นเห็นได้เด่นชัดว่าผิดแปลกไปจากการพูดของคนทั่วไป เช่น ฟังไม่รู้เรื่อง สื่อความหมายต่อกันไม่ได้ หรือมีอากัปกิริยาที่ผิดปกติขณะพูด ความบกพร่องทางการพูด อาจจำแนกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1. ความผิดปกติด้านการออกเสียง เช่น
ออกเสียงเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม เช่น พูดเสียงขึ้นจมูกเนื่องจากอิทธิพลของภาษาถิ่นเพิ่มหน่วยเสียงเข้าในคำโดยไม่จำเป็นเอาเสียงเหนึ่งมาแทนอีกเสียงเหนึ่ง เช่น กวาด - ฝาด
2. ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด ได้แก่ การพูดรัว การพูดติดอ่าง
3. ความผิดปกติด้านเสียง ได้แก่
ระดับเสียง เช่น การพูดเสียงสูงเกินไป ต่ำเกินไป หรือพูดระดับเสียงเดียวกันหมดความดัง เช่น พูดเยงดังมาก หรือเบามากจนเกินไปคุณภาพของเสียง เช่น พูดเสียงแตกพร่า เสียงแหบ เสียงหอบ เสียงขึ้นจมูก เสียงแปร่ง
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดนี้ จะมีลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่สาเหตุ เช่นเด็กที่พูดไม่ชัดเนื่องจากมีความบกพร่องทางการได้ยินมีลักษณะการพูดต่างจากเด็กที่บกพร่องทางการพูดเนื่องจากมีความบกพร่องทางอวัยวะที่ใช้พูดเช่น ปากแห่วง เพดานโหว่ หรือเด็กที่ปัญญาอ่อนก็มีลักษณะการพูดต่างไปจากเด็กปกติที่มีความบกพร่องทางพูด สำหรับเด็กปกติที่พูดไม่ชัดนั้น มักก่อให้เกิดปัญหาทางการเรียน อ่าน และเขียน เพราะเด็กจะอ่านและเขียนตามที่ออกเสียงพูดจึงควรได้รับการแก้ไขเสียตั้งแต่แรกเริ่ม และควรปรึกษากับนักแก้ไขการพูดอย่างใกล้ชิด
6. เด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์/พฤติกรรม
เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม หมายถึงเด็กที่มีพฤติกรรมที่ส่งผลเสียงต่อพัฒนาการและการหรับตัว และขัดขวางการดำเนินชีวิตของผู้อื่น ดังนั้นเด็กที่หลบหนีคนอื่นไม่ยอมยุ่งเกี่ยวกับใคร ไม่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมถึงแม่ว่าจะมีสติปัญญาในระดับปกติก็จัดว่าเป็นเด็กมีปัญหาทางพฤติกรรมตามแบบแรกส่วนเด็กที่ประพฤติตนในลักษณะที่ทำให้ผู้ใกล้ชิดต้องสันสนวุ่นวายอยู่เป็นนิจ ก็คือเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมในลักษณะแรก คือ มีพฤติกรรมที่ขัดขวางการดำรงชีวิตของผู้อื่น ผู้ปกครองมักเรียกเด็กประเภทนี้ว่า “เด็กดื้อ“ “เด็กไม่ดี” “เด็กปรับตัวไม่ได้” “เด็กมีปัญหาทางสังคม” นักสังคมสงเคราะห์ก็เรียกเด็กปรับตัวไม่ได้ นักจิตวิทยาและนักบำบัดเรียก “เด็กมีปัญหาทางอารมณ์
อย่างไรก็ดีการที่จะพิจารณาตัดสินว่าพฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมที่มีปัญหาหรือไม่เป็น จำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ภาวะแวดล้อม ความคิดเห็นของแต่ละบุคคล และเป้าหมายของแต่ละบุคคลมาประกอบด้วย เช่น พฤติกรรมบางอย่างหากเกิดขึ้นในโรงเรียนจะถือว่ามีปัญหา แต่ถ้าเกิดขึ้นนอกโรงเรียน ก็ไม่ถือว่าเป็นปัญหา เป็นต้น
ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม/อารมณ์
1. มีอารมณ์ไม่คงที่ อ่อนไหวง่าย2. มีความรู้สึกไม่มั่นคง ชอบพูดปด หวาดกลัวอย่างไม่มีเหตุผล3. มีปัญหาในการรับรู้4. มักทำอะไรซ้ำๆ5. มักมีปัญหาในการรับรู้6. ไม่อยู่สุข เคลื่อนไหวอยู่เสมอ อยู่นิ่งเฉยไม่ได้7. มีอาการชักกระตุก8. เก็บตัว เงื่องหงอย เศร้าซึม9. ชอบทำลายข้าวของ ทรัพย์สินทั้งส่วนตัวและของผู้อื่น10. ชอบแกล้งผู้อื่น ไม่ว่าตนหรือสัตว์ให้เดือดร้อนรำคาญใจ
พฤติกรรมบางอย่างในห้องเรียน
1. มักฝ่าฝืนคำสั่งครู หรือระเบียบข้อบังคับของโรงเรียน2. ชอบล้อเลียนเพื่อนเพื่อความสนุกสนานของตนเอง3. มักชกต่อยและรังแกเพื่อนร่วมชั้นที่ดีกว่า4. ส่งเสียงดังทั้งเสียงพูดและเสียงหัวเราะเป็นที่รำคาญ5. ไม่กล้าพูดคุยกับครูและเพื่อน6. ไม่ทำงานที่ได้รับมอบหมาย เกียจคร้าน ฝันกลางวัน7. ก้าวร้าวในลักษณะของการใช้วาจาหรือกำลัง8. ต้องการคนเอาใจอยู่เสมอ ต้องการเพื่อน ต้องการที่พึ่งไม่เป็นตัวของตัวเอง9. มีอารมณ์โกรธรุนแรง และแสดงออกโดยฉับพลัน และรุนแรงเกินกว่าเหตุ10. อารมณ์ไม่มั่นคงและไม่คงเส้นคงวา11. ขาดสมาธิในการเรียน ความสนใจสั้น จึงมักทำงานไม่สำเร็จ12. ความจำไม่ดี มีความสับสน ไม่ทราบว่าตนเองกำลังทำอะไร13. ชอบทำอะไรซ้ำๆ และเป็นการกระทำซ้ำที่ไม่สามารถบังคับตนเองได้14. ช่างพูด ช่างถาม พูดจาไม่หยุด บางครั้งไม่ได้เนื้อหาสาระเลย15. ก่อกวน ชอบสร้างความรำคาญให้ผู้อื่น
ความต้องการพิเศษ
ได้รับการวินิจฉัยแต่โดยเนิ่นๆ เพื่อทราบปัญหาพฤติกรรมบำบัด หรือการปรับพฤติกรรม
7. เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ ( Learning Disability )
เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ หรือเรียกย่อๆ กันว่า LD หมายถึงเด็กที่มีความบกพร่องในขบวนการทางจิตวิทยาอันมีผลกระทบต่อเด็ก ทำให้เด็กมีปัญหาในการอ่าน การเขียน และการเรียนคณิตศาสตร์ การสะกดตัวอักษร การจัดจำพวก และการใช้เหตุผล ( ทั้งนี้ไม่รวมถึงเด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการ หรือความบกพร่องทางร่างกาย ) การจะบอกว่าเด็กคนใดเป็นเด็ก LD หรือไม่จากการมองดูนั้นเป็นไปได้ยากมากเพราะเด็ก LD จะมีลักษณะบางอย่างที่ไม่อาจสังเกตได้ ในสมัยก่อน เด็กประเภทนี้จะถูกครูเขียนลงในสมุดรายงานว่า “สติปัญญาทึบ” แล้วก็ไม่มีการช่วยเหลือใดๆ สมัยต่อมาได้มีการศึกษาเพื่อเข้าใจเด็กมากขึ้น จึงพบว่าความด้อยสมรรถภาพทางการเรียนนั้นเป็นผลเนื่องมาจากภาวะทางอารมณ์และระบบประสาทซึ่งปรวนแปรไป เช่น สมองได้รับบาดเจ็บ ทำให้การรับรู้บกพร่องไปเป็นต้น หรือภาวะทางบ้านหรือทางโรงเรียนก่อให้เกิดความเครียดอย่างยิ่งอยูเป็นนิจ ทำให้เด็กเรียน อ่าน เขียนเลข ไม่สำเร็จทั้งๆ ที่มีสติปัญหาดีพอ การที่เด็กเรียนได้ไม่ดี หรือไม่ประสบความสำเร็จนั้น ทำให้เด็กมีพฤติกรรมของความอยู่ไม่สุขทางกายมากขึ้น และลดความมีใจจดจ่อหรือลดสมาธิลงช่วงความสนใจสั้น เด็กเหล่านี้จึงถูกตราว่าเป็นเด็กซุกซน อยู่ไม่สุข เป็นที่เอือมระอาแก่ครูอาจารย์
ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้
จะทราบได้อย่างไรว่าเด็กคนใดในห้องเรียนของเราเป็นเด็ก LD? คำตอบงายๆ ก็คือ “เด็กที่อาจมีศักยภาพสูงแต่มีผลการเรียนต่ำ” ปัญหาต่อมาก็คือ เราจะวัดศักยภาพของเด็กอย่างแม่นยำได้อย่างไร ปัจจุบันไม่มีการวัดที่เชื่อถือได้ 100 % แต่มีข้อสังเกตจากพฤติกรรมและปัญหาต่างๆ ดังนี้
1. มีความบกพร่องเกี่ยวกับระบบประสาท ( Neurological Dysfunction ) ทำให้เด็กมีปัญหาในการรับรู้ ปัจจุบันได้มีการทดสอบที่เรียกว่า “Neurometrics” มาใช้ในการวินิจฉัยและเยียวยา เช่นการใช้เครื่องวัดคลื่นสมองที่เรียกย่อๆ ว่า EEG ซึ่งพบว่าสมองของเด็กที่ด้อยความสามารถทางการเรียนนั้น มีอยู่หลายบริเวณที่แสดงการปฏิบัติหน้าที่สับสน หรือการสำรวจสมองโดยใช้เอกซเรย์ แบบอาศัยคอมพิวเตอร์ที่เรียก Computerized Axial Tomographyที่เรียกย่อ ๆ ว่า CAT Scan เครื่องวัดเหล่านี้จัดเป็น Neurometrics ซึ่งแสดงให้เห็นความบกพร่องด้านกายภาพของสมองที่ทำให้เกิดความผิดปกติทางพฤติกรรมต่างๆ หรือทำให้ด้อยความสามารถทางการเรียน “ความด้อย” ดังกล่าวมีหลายประเภท เช่น ด้วยทางภาษา ก็จะจับความหมายของถ้อยคำไม่ถูกต้อง จึงเป็นอุปสรรคในการเรียน เขียน อ่าน บางคนก็ด้อยด้านเกี่ยวกับตัวเลข บางคนด้อยทั้งภาษาและเลข ทั้งนี้สุดแล้วแต่ความบกพร่องของสมอง 2. มีการเจริญเติบโตไม่คงที่ ไม่แน่นอน 3. มีปัญหาในการรับรู้ มักเป็นเด็กที่มีช่วงความสนใจสั้น ทำให้ไม่สามารถเรียนได้ดีเพราะขาดความสนใจ 4. มีปัญหาในการพูด ไม่อาจแสดงความรู้สึกนึกคิดออกมาด้วยการพูดได้ 5. มีปัญหาในการฟัง คือได้ยินเสียงแต่จับใจความไม่ได้ 6. มีปัญหาในการเขียน 7. มีปัญหาในการอ่าน 8. มีปัญหาในการเรียนคณิตศาสตร์
8. เด็กปัญญาเลิศ
เด็กปัญญาเลิศ หมายถึง เด็กที่มีความสามารถทางสติปัญญา และความถนัดเฉพาะทางอยู่ระดับสูงกว่าเด็กอื่นในวัยเดียวกัน คำที่ใช้ในความหมายที่มีอยู่หลายคำ เช่น เด็กปัญญาเลิศ เด็กอัจฉริยะ เด็กฉลาด เด็กมีพรสวรรค์ ฯลฯ เป็นต้น อย่างไรก็ดี ความหมายของคำว่า “เด็กปัญญาเลิศ” นั้น ยังไม่ได้มีผู้ให้คำจำกัดความที่แน่นอน และเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป สำหรับในประเทศไทยเมื่อพูดถึงเด็กปัญญาเลิศ ก็มักนึกถึงเด็กที่เรียนเก่ง สอบได้คะแนนดีหรือถือเอาเรื่องของความถนัดเฉพาะทางซึ่งเรียกกันว่า พรสวรรค์ในด้านที่เห็นได้ชัด เช่น ทางศิลปะ และดนตรีเป็นหลัก ดังนั้นเด็กที่ไม่มีโอกาสแสดงความสามารถไม่ว่าทางใด เช่น เด็กยากจน หรือยู่ในสิ่งแวดล้อมจำกัดไม่ได้รับการส่งเสริมให้เป็นเด็กมีความสามารถ ก็ไม่มีโอกาสได้ชื่อว่าเป็นเด็กปัญญาเลิศ ในปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้พยายามประชุมหาวิธีการคัดเลือกและส่งเสริมเด็กปัญญาเลิศ ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ายิ่งของประเทศ จึงได้นิยามคำว่า “ปัญญาเลิศ” ไว้เป็นกว้างๆ โดยรวมเด็กฉลาดไว้หลายประเภทกล่าวคือ “เด็กปัญญาเลิศ” หมายถืงเด็กซึ่งมีความสามารถดีเด่นเป็นที่ยอมรับของผู้เชี่ยวชาญในวงการที่เกี่ยวข้อง เป็นผู้ต้องการแผนการศึกษาพิเศษ และบริการพิเศษนอกเหนือไปจากเด็กปกติ เพื่อพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่ให้ถึงขีดสูงสุด เด็กเหล่านี้ได้แก่ เด็กที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง และ/หรือมีความถนัดเฉพาะทางซึ่งอาจเป็นด้านใดด้านหนึ่ง หรือรวมกันหลายๆ ด้าน เช่น ด้านการเป็นผู้นำ ด้านความคิดสร้างสรรค์ ด้านศิลปะ และดนตรี ฯลฯ เป็นต้น
ลักษณะบางอย่างของเด็กที่พอสังเกตได้
1. มีพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจที่เจริญเติบโตได้เร็วกว่าเด็กปกติ2. มีความสามารถในการเรียนรูสิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย3. มีความอยากรู้อยากเห็นอย่างจริงจัง ชอบชักถาม4. มีความสามารถในการแก้ปัญหา การใช้สามัญสำนึก และสามารถนำความรู้ที่มีไปใช้ได้ในชีวิตจริง5. มีเหตุผล ความคิดดี6. จดจำสิ่งที่เคยเห็นเคยอ่านได้รวดเร็วและแม่นยำ7. มีความรู้กว้างขวางเกินวัย8. ใช้คำศัพท์กว้างขวาง ถูกต้องแม่นยำและปริมาณคำที่รู้จักก็มีมาก9. มีความคิดริเริ่ม มีวิธีการคิดและแนวคิดแปลกๆ แต่ใช้การได้ดีและมีอารมณ์ขัน10. เป็นคนตื่นตัว เฉียบแหลม ว่องไว และช่างสังเกต11. มีแรงจูงใจ และมีความมานะบากบั่นมีความจริงจังในการทำงาน12. ชอบแสวงหาสิ่งท้าทายความคิดความอ่าน
พฤติกรรมบางอย่างในห้องเรียน
1. เข้าใจได้ง่าย และรวดเร็ว มักมีคำถามชวนคิด2. สมาธิในการเรียนและการทำงานดี3. สนใจและสนุกกับปัญหาที่ยากซับซ้อน4. อ่านหนังสือได้เร็วกว่าอายุ5. ชอบประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ๆ หรือในแนวใหม่ๆ 6. ใช้ภาษาได้ดี รู้จักคำศัพท์กว้างขวางเกินวัย7. ชอบเรียนหนังสือ8. แก้ปัญหาด้วยวิธีการหลากหลาย9. มีลักษณะเป็นผู้นำในกลุ่มเด็กวัยเดียวกัน
ความต้องการพิเศษ
เด็กปัญญาเลิศ เป็นเด็กที่เรียนสิ่งต่างๆ ได้รวดเร็ว ดังนั้นหากเนื้อหาและวิธีการสอนที่ใช้กับเด็กปกติ จึงมักทำให้เด็กเหล่านี้เบื่อง่าย เพราะไม่ท้าทายความคิด หากครูไม่เข้าใจก็จะกลายเป็นเด็กที่มีปัญหา ก่อกวนความสงบสุขของชั้นไปได้ ทางโรงเรียนจึงควรจัดบริการสอนเสริมให้กับเด็ก ซึ่งอาจทำในรูปของ
1. การจัดชั้นพิเศษ โดยคัดแยกเด็กเก่งมาเรียนในกลุ่มเดียวกัน และจัดหลักสูตรพิเศษให้สอดคล้องกับความสนใจและความสามารถของเด็ก2. การสอนเร่ง เป็นการเรียนหลักสูตรปกติในเวลาที่น้อยลง เช่น การเรียนข้ามชั้น ควบชั้น เป็นต้น3. การสอนเพิ่ม เป็นการเสริมความรู้และประสบการณ์ของเด็กให้กว้างขวางและลึกซึ้งมากขึ้น นอกเหนือจากกิจกรรมในชั้นเรียน และ/หรือให้โอกาสได้ฝึกฝนเล่าเรียนในแขนงวิชาที่เด็กมีความถนัดเป็นพิเศษ
9. เด็กออทิสติค
เด็กออทิสติค คือเด็กที่มีความผิดปกติด้านพัฒนาการสังคม อารมณ์และการสื่อภาษา อาจมีหรือไม่มีภาวะปัญญาอ่อนร่วมด้วยก็ได้ อาการแรกพบมักอยู่ในช่วงอายุ 30-36 เดือน หรือ 3 ขวบแรกของชีวิต สำหรับการพัฒนาการทางร่างกายปกติดี ยกเว้นในกรณีมีภาวะปัญญาอ่อนร่วมด้วยก็จะมีพัฒนาการทางร่างกายล่าช้าได้ อาการของเด็กออทิสติคที่กล่าวข้างต้นคือ อาการที่เป็นปัญหาทางจิตเวชเด็กอย่างรุนแรง ที่เรียกว่า ออทิสซึ่ม ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากความผิดปกติทางระบบประสาท แต่ยังไม่มีการสรุปสาเหตุที่แน่ชัดว่าเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสาเหตุจากการเลี้ยงดู ความเครียดจากภาวะแวดล้อมหรือปัจจัยทางชีวิภาพ เช่น พันธุกรรม
ลักษณะบางอย่างที่พอสังเกตได้
ลักษณะต่อไปนี้เป็นข้อบ่งชี้ที่เป็นปัจจัยอาการของเด็กออทิสติค
ก. การสูญเสียทางด้านสังคมและการไม่มีปฏิบัติต่อสัมพันธภาพของบุคคล
ไม่สนใจใครแสดงทีท่าไม่รู้ร้อนรู้หนาว ไม่รู้จักช่วยตัวเองจากอันตรายต่างๆ เลียนแบบการกระทำของคนอื่นไม่เป็นเล่นกับใครไม่เป็นไม่สนใจจะมีเพื่อน ผูกมิตรกับใครไม่เป็นมีพฤติกรรมการเคลื่อนไหวที่ชอบทำเป็นประจำเหมือนอยู่ในโลกของตัวเอง
ข. การสูญเสียด้านการสื่อความหมาย ทั้งที่ใช้คำพูดและไม่ใช้คำพูด
ไม่ส่งเสียงพูดขาดจินตนาการในการเล่นพูดผิดปกติทั้งการเปล่งเสียงและเนื้อหาการพูดพูดกับใครไม่ได้นานและจะพูดเฉพาะเรื่องที่ตัวเองสนใจ
ค. มีการกระทำความสนใจซ้ำซากอย่างเด่นชัด
มีการเคลื่อนไหวของร่างกายซ้ำๆหมกมุ่นหรือสนใจกับส่วนเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวทำสิ่งที่เคยทำซ้ำๆ รวมทั้งรายละเอียดก็เหมือนเดิมสนใจในขอบเขตที่จำกัดและหมกมุ่นในรายละเอียด
ทั้งนี้จะต้องเริ่มพบอาการในช่วงอายุระหว่าง 30-36 เดือน โดยมีพฤติกรรมที่กล่าวแล้วไม่น้อยกว่า 8 ข้อ และเมื่อพิจารณาในรายละเอียดจะต้องพบพฤติกรรมในกลุ่ม ข้อ ก. อย่างน้อย 2 ข้อ ข. อย่างน้อย 1 ข้อ และกลุ่มข้อ ค. อย่างน้อย 1 ข้อ
ความต้องการพิเศษ
เนื่องจากอาการออทิสซึ่ม จะปรากฎตั้งแต่วัยเด็กพ่อแม่จึงต้องเข้าใจช่วยเหลืออย่างจริงจัง โดยร่วมมือกับแพทย์อย่างใกล้ชิด การบำบัดรักษาเพื่อช่วยเหลือเด็กออทิสติค นั้นจะใช้วิธีการ 4 วิธีหลักคือ จิตบำบัดการใช้ยา พฤติกรรมบำบัด และการศึกษาพิเศษ
อย่างไรก็ดีเด็กออทิสติคมักมีความสามารถและพฤติกรรมค่อนข้างแตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องมีโปรแกรมการศึกษารายบุคคล ฝึกพ่อแม่เด็กให้สามารถกระตุ้นพัฒนาการให้เด็ก และควรเน้นวิธีการพัฒนาการสื่อสาร เช่น การฝึกพูด การฝึกออกเสียง ตลอดจน การฝึกความสามารถในการเข้าสังคม โดยใช้วิธีปรับพฤติกรรม เด็กที่ได้รับการช่วยเหลือแต่เนินๆ ไม่ว่าจะเป็นการรักษาโดยใช้ยา พฤติกรรมบำบัด หรือการศึกษาพิเศษ จะมีโอกาสพัฒนาตนเอง จนมีพฤติกรรมทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ปกติได้ และมีความสามารถในการเรียนรู้ในกรณีเช่นนี้ เด็กจะสามารถเรียนร่วมกับเด็กปกติได้












ไม่มีความคิดเห็น: