วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การวางเงื่อนไขแบบคลาศสิค



ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคของพาฟลอฟ (Pavlov)

ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค (Classical Conditioning) ผู้ที่ทำการศึกษาทดลองในเรื่องนี้คือ พาฟลอฟ (Pavlov) ทำการศึกษาทดลองกับสุนัข โดยฝึกสุนัขให้ยืนนิ่งอยู่ในที่ตรึงในห้องทดลอง ที่ข้างแก้มของสุนัขติดเครื่องมือวัดระดับการไหลของน้ำลาย การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข ระหว่างการวางเงื่อนไข และหลังการวางเงื่อนไข ขั้นที่ 1 เสียงกระดิ่ง (CS) ไม่มีน้ำลาย ผงเนื้อ (UCS) น้ำลายไหล (UCR) ขั้นที่ 2 เสียงกระดิ่ง น้ำลายไหล (UCR) และผงเนื้อ (UCS) ทำขั้นที่ 2 ซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง ขั้นที่ 3 เสียงกระดิ่ง (CS) น้ำลายไหล (CR) การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคคือการตอบสนองที่เป็นไปโดยอัตโนมัติเมื่อนำสิ่งเร้าใหม่มาควบคู่กับสิ่งเร้าเดิม ซึ่งนักจิตวิทยาเรียกพฤติกรรมการตอบสนองนี้ว่าพฤติกรรมเรสปอนเด้นท์
1. คำศัพท์ที่สำคัญในการศึกษาทดลองของพาฟลอฟ สิ่งเร้าที่เป็นกลาง (Neutral Stimulus) คือสิ่งเร้าที่ไม่ก่อให้เกิดการตอบสนอง ซึ่งในที่นี้ก็คือ เสียงกระดิ่งในขั้นที่ 1 สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned Stimulus หรือ US) คือสิ่งเร้าที่ก่อให้เกิดการตอบสนองได้ตามธรรมชาติ ซึ่งในที่นี้ก็คือ อาหาร สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus หรือ CS) คือสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดการตอบสนองได้หลังจากถูกวางเงื่อน ไขแล้ว ซึ่งในที่นี้ก็คือ เสียงกระดิ่ง การตอบสนองที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข (Unconditional Response หรือ UCR) คือการตอบสนองที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ การตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditional Response หรือ CR) คือการตอบสนองอันเป็นผลมาจากการเรียนรู้ที่ถูกวางเงื่อนไขแล้ว2. กระบวนการสำคัญอันเกิดจากการเรียนรู้ของพาฟลอฟกระบวนการที่สำคัญ 3 ประการ อันเป็นผลจากการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข คือ การแผ่ขยาย คือความสามารถของอินทรีย์ที่จะตอบสนองในลักษณะเดิมต่อสิ่งเร้าที่มีความคล้ายคลึงกันได้ การจำแนก คือ ความสามารถของอินทรีย์ในการที่จะจำแนกความแตกต่างของสิ่งเร้าได้ การลบพฤติกรรมชั่วคราว คือ การที่พฤติกรรม การตอบสนองลดน้อยลงอันเป็นผลเนื่องจากการที่ไม่ได้รับสิ่งเร้าที่ไม่ได้ถูกวางเงื่อนไข ซึ่งในที่นี้ก็คือรางวัลหรือสิ่งที่ต้องการนั่นเอง การฟื้นตัวของการตอบสนองที่วางเงื่อนไข หลังจากเกิดการลบพฤติกรรมชั่วคราวแล้ว สักระยะหนึ่งพฤติกรรมที่ถูกลบเงื่อนไขแล้วอาจฟื้นตัวเกิดขึ้นมาอีกได้รับการกระตุ้นโดยสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข





ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำของสกินเนอร์


ผู้ที่เป็นเจ้าของทฤษฎีนี้คือสกินเนอร์ โดยที่เขามีความคิดเห็นว่าทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคนั้นจำกัดอยู่กับพฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนน้อยของมนุษย์ พฤติกรรมส่วนใหญ่แล้วมนุษย์จะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเองไม่ใช่เกิดจากการจับคู่ระหว่างสิ่งเร้าใหม่กับสิ่งเร้าเก่าตามการอธิบายของพาฟลอฟ สกินเนอร์ได้อธิบาย คำว่า "พฤติกรรม" ว่าประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ตัว คือ

ภาพ ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค

ซึ่งเขาเรียกย่อ ๆ ว่า A-B-C ซึ่งทั้ง 3 จะดำเนินต่อเนื่องกันไป ผลที่ได้รับจะกลับกลายเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดขึ้นก่อนอันนำไปสู่การเกิดพฤติกรรมและนำไปสู่ผลที่ได้รับตามลำดับสำหรับการทดลองของสกินเนอร์ เขาได้สร้างกล่องทดลองขึ้นซึ่งกล่องทดลองชองสกินเนอร์ (Skinner Boxes) จะประกอบด้วยที่ใส่อาหาร คันโยก หลอดไฟ คันโยกและที่ใส่อาหารเชื่อมติดต่อกัน การทดลองเริ่มโดยการจับหนูไปใส่กล่องทดลอง เมื่อหนูหิวจะวิ่งวนไปเรื่อย ๆ และไปเหยียบถูกคันโยก ก็จะมีอาหารตกลงมา ทำให้หนูเกิดการเรียนรู้ว่าการเหยียบคันโยกจะได้รับอาหารครั้งต่อไปเมื่อหนูหิวก็จะตรงไปเหยียบคันโยกทันที ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวถือว่าหนูตัวนี้เกิดการเรียนรู้แบบการลงมือกระทำเอง
1. คำศัพท์ที่สำคัญในการศึกษาทดลองของสกินเนอร์ การเสริมแรง คือสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของบุคคลซึ่งจะแยกเป็น 2 ประเภทคือ การเสริมแรงทางบวก คือสิ่งที่ก่อให้เกิดการแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้น และการเสริมแรงทางลบ คือสิ่งที่เมื่อนำออกไปแล้วจะทำให้การแสดงพฤติกรรมเพิ่มขึ้น การลงโทษ การเสริมแรงทางลบและการลงโทษมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและมักจะใช้แทนกันอยู่เสมอ แต่การอธิบายของสกินเนอร์การเสริมแรงทางลบและการลงโทษต่างกัน โดยเขาได้เน้นว่าการลงโทษนั้นเป็นการระงับหรือหยุดยั้งพฤติกรรม

เปรียบเทียบการเสริมแรงและการลงโทษ ได้ดังนี้

พฤติกรรม
การเสริมแรง
เพิ่มพฤติกรรม ก่อให้เกิดการกระทำ พฤติกรรมนั้นบ่อยขึ้น
พฤติกรรม
การลงโทษ
ลดพฤติกรรม ก่อให้เกิดการกระทำ พฤติกรรมนั้นน้อยลง

เปรียบเทียบการเสริมแรงทางบวก การเสริมแรงทางลบและการลงโทษ

ชนิด
ผล
ตัวอย่าง
การเสริมแรงทางบวก
พฤติกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อมีสิ่งเร้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นสิ่งเร้าที่บุคคลนั้นต้องการ
ผู้เรียนที่ทำการบ้านส่งตรงเวลาแล้วได้รับคำชม จะทำการบ้านส่งตรงเวลาสม่ำเสมอ
การเสริมแรงทางลบ
พฤติกรรมเพิ่มขึ้นเมื่อสิ่งเร้าที่ไม่เป็นที่พึงปรารถนาถูกทำให้ลดน้อยหรือหมดไป
ผู้เรียนที่ทำรายงานส่งตามกำหนดเวลาจะไม่เกิดความวิตกอีกต่อไป ดังนั้นในครั้งต่อไปเขาก็จะรีบทำรายงานให้เสร็จตรงตามเวลา
การลงโทษ 1
พฤติกรรมลดลงเมื่อมีสิ่งเร้าโดยเฉพาะสิ่งที่เขาไม่พึงปรารถนาเกิดขึ้น
เมื่อถูกเพื่อน ๆ ว่า "โง่" เพราะตั้งคำถามถามผู้สอน ผู้เรียนคนนั้นเลิกตั้งคำถามในชั้นเรียน
การลงโทษ 2
พฤติกรรมลดน้อยลง เมื่อนำสิ่งเร้าที่เขาพึงปรารถนาออกไป
ผู้เรียนที่ถูกหักคะแนนเพราะตอบข้อสอบในลักษณะที่แตกต่างจากครูสอน ในครั้งต่อไปเขาจะไม่ตอบคำถามในลักษณะนั้นอีก
ตัวชี้แนะ คือการสร้างสิ่งเร้าให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม เพื่อทำให้เกิดพฤติกรรมที่ต้องการ ภายในระยะเวลาที่ต้องการ ซึ่งบุคคลมักจะลืมอยู่บ่อย ๆ ตัวกระตุ้น คือ การเพิ่มตัวชี้แนะเพื่อการกระตุ้นพฤติกรรม ซึ่งมักจะใช้ภายหลังจากการใช้ตัวชี้แนะแล้ว
2. ตารางการให้การเสริมแรงในการทดลองของสกินเนอร์ซึ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำเอง ดังนั้นระยะเวลาในการให้การเสริมแรงจะมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้มาก ตารางการให้การเสริมแรง สามารถแยกออกได้ ดังนี้

ภาพ การเสริมแรง


ตัวอย่างตารางการให้การเสริมแรง

ตารางการเสริมแรง
ลักษณะ
ตัวอย่าง
การเสริมแรงทุกครั้ง (Continuous)
เป็นการเสริมแรงทุกครั้งที่แสดงพฤติกรรม
ทุกครั้งที่เปิดโทรทัศน์แล้วเห็นภาพ
การเสริมแรงความช่วงเวลาที่แน่นอน (Fixed - Interval)
ให้การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่กำหนด
ทุก ๆ สัปดาห์ผู้สอนจะทำการทดสอบ
การเสริมแรงตามช่วงเวลาที่ไม่แน่นอน (Variable - Interval)
ให้การเสริมแรงตามระยะเวลาที่ไม่แน่นอน
ผู้สอนสุ่มทดสอบตามช่วงเวลาที่ต้องการ
การเสริมแรงตามจำนวนครั้งของการตอบสนองที่แน่นอน (Fixed - Ratio)
ให้การเสริมแรงโดยดูจากจำนวนครั้งของการตอบสนองที่ถูกต้องด้วยอัตราที่แน่นอน
การจ่ายค่าแรงตามจำนวนครั้งที่ขายของได้
การเสริมแรงตามจำนวนครั้งของการตอบสนองที่ไม่แน่นอน (Variable - Ratio)
ให้การเสริมแรงตามจำนวนครั้งของการตอบสนองแบบไม่แน่นอน
การได้รับรางวัลจากเครื่องเล่นสล๊อตมาชีน

3. การปรับพฤติกรรม การปรับพฤติกรรม คือ การนำแนวความคิดของสกินเนอร์ในเรื่องกฎแห่งผลมาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อทำการปรับพฤติกรรมของบุคคล หลักการนี้อาจจะใช้ทั้งการเสริมแรงทางบวกและการเสริมแรงทางลบประกอบกัน อย่างไรก็ตามจากการศึกษาวิจัยของทิฟเนอร์และคณะ พบว่าในหลาย ๆ ครั้งที่การใช้หลักดังกล่าวไม่เกิดผลนั่นก็คือแม้จะใช้หลักการชม แต่ผู้เรียนก็ยังคงมีการกระทำผิดต่อไป ดังนั้นการใช้หลักดังกล่าวควรจะใช้ร่วมกับเทคนิคอื่น ๆ ด้วย หลักการชมที่มีประสิทธิภาพ ควรจะมีลักษณะดังนี้(1) ควรชมพฤติกรรมที่สมควรได้รับการยกย่อง (2) ระบุพฤติกรรมที่สมควรยกย่องอย่างชัดเจน (3) ชมด้วยความจริงใจ

ไม่มีความคิดเห็น: