วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การวางเงื่อนไข




ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข (Conditioning Theories)


แบบคลาสสิค ของ พาฟลอฟ พาฟลอฟ (Ivan P.Pavlov) เกิดในรัสเซียในปี ค.ศ. 1849 พาฟลอฟ อธิบายว่า โดยธรรมชาติแล้วอินทรีย์จะมีการเชื่อมโยงกับสิ่งเร้าบางอย่าง กับการตอบสนองบางอย่างตั้งแต่เกิด แล้วพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ สิ่งเร้าอาจเกิดตามธรรมชาติหรือเกิดแบบอัตโนมัติ สิ่งเร้าประเภทนี้เรียกว่า "สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข" (Unconditioned Stimulus = UCS) การสอบสนองที่เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติหรือโดยธรรมชาติ เรียกว่า "การตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข" (Unconditioned Response = UCR) เช่น - การเคาะสะบ้าทำให้เกิดการกระตุก - การเคาะ นั้นถือว่าเป็นสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขและการกระตุกที่เกิดขึ้น เป็นเป็นการตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข
- หากนำสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขมาเข้าคู่กับสิ่งเร้าที่เป็นกลาง เช่น เสียงกระดิ่ง โดยที่จะสั่นกระดิ่งทุกครั้งที่เคาะหัวเข่า หลังจากนั้นจะพบว่า มีการกระตุกเกิดขึ้นเมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง โดยที่ไม่ต้องเคาะสะบ้าหัวเข่า พาฟลอฟ เรียกปฏิกริยานี้ว่า การวางเงื่อนไข (Conditioning) เสียงกระดิ่งตอนแรกเป็นสิ่งเร้าที่เป็นกลาง ต่อมากลับมีผลให้เกิดการกระตุก เรียกว่า สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned Stimulus = CS) และเรียกการตอบสนองที่เกิดขึ้นว่า การตอบสนองที่เกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioned Response = CR)
การทดลอง ก่อนวางเงื่อนไข ขั้นที่ 1 สั่นกระดิ่ง (CS) ---> ไม่เกิดปฏิกริยาสะท้อน ขั้นที่ 2 พ่นผงเนื้อ (UCS) ---> น้ำลายไหล (UCR) ระหว่างการวางเงื่อนไข ขั้นที่ 3 สั่นกระดิ่ง (CS) + พ่นผงเนื้อ (UCS) ---> น้ำลายไหล (UCR) หลังการวางเงื่อนไข ขั้นที่ 4 สั่นกระดิ่ง (CS) ---> น้ำลายไหล (CR)......................................................................................................................................................

ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยง ธอร์นไดค์ (Edward L. Thorndike)
Edward L.Thorndike ได้รับการยกย่อง่า เป็น บิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา เกิดในเอมริกา ในปี ค.ศ.1874
ทฤษฎีของเขาเน้นที่ความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการตอบสนอง เขาเชื่อว่า การเรียนรู้เกิดได้เมื่อมนุษย์ได้เลือกเอาปฏิกริยาที่ถูกต้องนั้นเชื่อมต่อเข้ากับสิ่งเร้าที่เหมาะสม เขาตั้งข้อสังเกตว่า เป็นสิ่งที่ค่อย ๆ สะสมพอกขึ้นทีละน้อย มากกว่าจะเกิดขึ้นทันทีทันใด หรือการเรียนรู้จะเกิดขึ้นทีละน้อย ด้วยการลองผิดลองถูก กฎการเรียนรู้ ของ Edward L Thorndike 3 กฎ คือ
1. กฎแห่งความพร้อม (Law of Readiness) ได้แก่ 1.1 เมื่อบุคคลพร้อมที่จะทำแล้วได้ทำ เขาย่อมเกิดความพอใจ 1.2 เมื่อบุคคลพร้อมที่จะทำแล้วไม่ได้ทำ เขาย่อมเกิดความไม่พอใจ 1.3 เมื่อบุคคลไม่พร้อมที่จะทำแล้วต้องทำ เขาย่อมเกิดไม่ความพอใจ
2. กฎแห่งการฝึกหัด มี 2 กฎ คือ 2.1 กฎแห่งการได้ใช้ ใช้และการไม่ได้ใช้ (Low of Use and Disuse) ความว่า พันธะหรือตัวเชื่อมระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองจะเข้าใจมากขึ้น เมื่อได้ทำบ่อย ๆ 2.2 กฎแห่งการไม่ได้ใช้ พันธะหรือตัวเชื่อมระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองจะจะอ่อนกำลังลง เมื่อไม่ได้กระทำอย่างต่อเนื่อง หรือไม่ได้กระทำบ่อย ๆ

3. กฎแห่งความพอใจ
กฎข้อนี้นับเป็นสิ่งสำคัญที่ได้รับความพอใจจาก Thorndike มากที่สุด กฎข้อนี้ คือ ถ้าการตอบสนองที่กระทำไปนั้นเกิดความพอใจ พันธะหรือตัวเชื่อมจะแน่นแฟ้นขึ้น กฎข้อนี้เร่งสร้างแรงจูงใจ ผลที่ได้รับหรือผลตอบสนอง (Low of Effect)
ทฤษฎีของธอร์นไดค์ ไปใช้ในการเรียนการสอน
1. การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก
2. ควรสอนเมื่อมีความพร้อม
3. สร้างบรรยากาศให้เด็กอยากเรียน
4. จัดให้เด็กได้รับความสำเร็จในการเรียน
5. ให้เด็กฝึกฝนและทำกิจกรรมนั้นซ้ำอีก
6. การให้รางวัล


ทฤษฎีการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข แบบแบบการกระทำ ของ สกินเนอร์

สกินเนอร์ (B.F. Skinner) เกิดในมลรัฐเพนซิลวาเนีย ในปี ค.ศ. 1904
มีบทบาทสำคัญในการนำบทเรียนสำเร็จรูปและเครื่องมือมาใช้ บางคนเรียกว่า ทฤษฎีเสริมแรง การเสริมแรงเป็นการช่วยตอบสนองสิ่งเร้าให้ปรากฏขึ้นซ้ำอยู่เสมอ จนทำให้เกิดความเคยชินสิ่งเร้าเดิม การตอบสนองเช่นเดิม ก็ตามมาคือ เกิดเป็นการเรียนรู้
การทดลองของสกินเนอร์
ได้ทดลองกับหนูขาว โดยมีขั้นการทดลอง ดังนี้ ขั้นที่ 1 ก่อนการเรียนรู้ ---> กดคาน (CR) ---> อาหาร (UCS) ---> กิน (UCR) ขั้นที่ 2 หลังการเรียนรู้ (S1) ---> (R1) ---> S2 ---> R2
คาน(CS) กดคาน(CR) อาหาร(UCS) กิน(UCR)
การประยุกต์ใช้ในการสอน
1. การตั้งจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 2. การใช้ตัวเสริมแรง ได้แก่ ยิ้มแย้ม การชมเชยจากครู คะแนน 3. การใช้บทเรียนสำเร็จรูป
การเรียนรู้ตามแนวของเกสตอลท์
1. เรามองเห็นหรือรับรู้เหตุการณ์
2. เราทำตามสิ่งที่เรารับรู้หรือมองเห็นแล้วค่อย ๆ ดัดแปลงการกระทำให้เหมาะสมขึ้น
3. ผลสุดท้ายเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้งขึ้นมา
แนวความคิดของนักจิตวิทยา
ชื่อกลุ่ม
ชื่อผู้นำกลุ่ม
วิธีการศึกษา
กลุ่มโครงสร้างแห่งจิต
โครงสร้างของจิตแบ่งงออกเป็น 3 ส่วนคือ
- การสัมผัส - การรู้สึก - การจินตนาการ
วิลเฮล์ม วุนด์
การตรวจสอบตนเองหรือพินิจภายใน
กลุ่มพฤติกรรมนิยม
จิตมีหน้าที่ควบคุมกระบวนการกระทำกิจกรรมต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม
วิลเลียมเจมส์ และ จอห์น ดิวอี้
การสังเกตพฤติกรรม
กลุ่มพฤติกรรมนิยม
การวางเงื่อนไข เป็นสาเหตุให้เกดพฤติกรรม พฤติกรรมสัตว์สามารถอธิบายพฤติกรรมมนุษย์ กระบวนการเรียนรู้คือ ส่วนย่อย + ส่วนย่อย = ส่วนรวม
จอห์น บี วัตสัน
การทดลอง
การสังเกตอย่างมีแผน
กลุ่มเกสตัลท์
การเรียนรู้มี 2 ลักษณะ คือ – การรับรู้ - การหยั่งเห็น
กระบวนการเรียนรู้คือ
ส่วนรวม = ส่วนย่อย + ส่วนย่อย
เวอร์ไมเธอ เลอวิน
การทดลอง
กลุ่มจิตวิเคราะห์ความสำคัญของจิตไร้สำนึก เน้นว่าการอบรมเลี้ยงดูในอดีตโดยเฉพาะในวัยแรกเกิดถึง 5 ขวบเป็นผลให้เกิดพฤติกรรมในปัจจุบัน และแบ่งโครงสร้างของบุลิกภาพออกเป็น 3 ส่วน คือ ID – EGO - SUPER EGO
ซิกมันต์ ฟรอย์
กระบวนการในใจอย่างเสรี
กลุ่มการรู้คิด
บุคลิกภาพของบุคคลวิวัฒนาการาจากการทำงานในด้านสมอง อารมณ์ และความสัมพันธ์รัหว่างระบบสำคัญทั้งสองและเน้นความสำคัญฝนกระบวนการต่อเนื่องของการพัฒฬนาตามลำดับขั้น
วอล์ฟแกง โคห์เลอร์เอ็ดเวิร์ด ซี. ทอลแทน และจีน เปียเจท์

กลุ่มจิตวิเคราะห์ ของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ : Freud, Sigmund (1856 – 1939)
เป็นจิตแพทย์ชาวเวียนนา เจ้าทฤษฎี….พฤติกรรมจิตสำนึก จิตไร้สำนึก การชดเชย การเก็บกด อิด อีโก้ ซุปเปอร์อีโก้ มีความหมาย 3 ทางด้วยกัน คือ
1. เป็นวิธีการทางจิตบำบัดอันหนึ่ง
2. เป็นทฤษฎีด้านความผิดปกติโดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคประสาท
3. เป็นทฤษฎีทางบุคลิกภาพซึ่งขยายออกมาจากทฤษฎีของโรคประสาท
Freud เชื่อว่ามนุษย์มี จิต 3 ลักษณะ คือ 1. จิตสำนึก คือ ความมีสำนึก รู้ตัว 2. จิตใต้สำนึก คือสภาพที่ไม่รู้ตัวในบางขณะ เช่น กระดิกเท้า ผิวปาก ฮัมเพลง โดยไม่รู้ตัว 3. จิตไร้สำนึก การอิจฉาน้อง เกลียดครู อยากทำร้ายชาวต่างชาติ
Freud กำหนดองค์ประกอบที่สำคัญของจิต ไว้ 3 ส่วน คือ 1. ID มนุษย์เกิดมาพร้อมกับความต้องการของร่างกาย หรือสัญชาตญาณตามธรรมชาติ เช่น มนุษย์ต้องการอาหาร การนอนหลับ การขับถ่าย และการสืบพันธุ์ เป็นต้น เป็นแกนกลางของบุคลิกภาพของบุคคล
2. EGO ทำหน้าที่ 2.1 ควบคุมการแสดงพฤติกรรมของมนุษย์ 2.2ผ่อนคลายความทุกข์เนื่องจากการถูกเก็บกด 2.3 ทำให้บุคคลเป็นผู้มีวุฒิภาวะ รู้จักตน พึ่งตนเองได้ 3. SUPER EGO 3.1 สร้างอุดมคติที่พึงปรารถนาของสังคม 3.2 มีระเบียบ กฎเกณฑ์ คุณธรรม หลักศีลธรรม อุดมคติในการดำเนินชีวิต

John Dewey : จอห์น ดิวอี้ นักการศึกษา นักปรัชญาชาวอเมริกัน
John Dewey : จอห์น ดิวอี้ กล่าวว่า “การศึกษาคือชีวิตมิใช่เป็นการเตรียมตัวเพื่อชีวิต”
แนวคิดทางการศึกษาของจอห์น ดิวอี้ (John Dewey):
1. การศึกษามิใช่การเตรียมตัวเพื่อดำรงชีวิตในอนาคตแต่เพียงอย่างเดียวการศึกษาที่แท้จริงคือชีวิตในปัจจุบันของเด็ก (Education is Life itself not preparation for Life)
2. การศึกษาเป็นวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่ง ดังนั้นครูจึงควรนำเอาวิธีการวิทยาศาสตร์มาสอนแก่เด็ก
3. การแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เป็นส่วนสำคัญในการศึกษา
4. เด็ก ๆ ควรได้เรียนรู้ร่วมกัน ช่วยกันทำงานเพื่อให้รู้จักร่วมมือกัน ความร่วมมือกันเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เด็กปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้ดี
จอห์น ล็อค….(ปรัชญา)….กระบวนการของพัฒนาการ เป็นสิ่งที่สามารถหล่อหลอมปั้นแต่งได้ จะต้องขึ้นอยู่โดยตรงกับการเรียนรู้ เด็กจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับประสบการณ์ที่เขาได้รับ)
จัง จ๊าค รุสโซ.(พัฒนาการคือ….กระบวนการคลี่คลายตามธรรมชาติโดยไม่จำเป็นขึ้นตรงกับพ่อแม่)
จีน เปียเจท์…..(พัฒนาการด้านจิต สิ่งแวดล้อมสนับสนุนโครงสร้างของสติปัญญา)
การระดมสมอง….(วิธีการแก้ปัญหาวิธีหนึ่ง ซึ่งเปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนได้แสดงความคิดเห็น
โดยสมาชิกไม่วิตกกังวลว่าความคิดของตนเองผิด – ถูก เพื่อกระตุ้นความคิดใหม่ ๆ )
I.Q. (Intelligence Quotient) เกณฑ์ภาคเชาวน์ คือ ความสามารถในการศึกษา อาชีพ การปรับตัว
140 ขั้นไป ฉลาดที่สุด 121 – 140 อัจฉริยะ 111 - 120 ฉลาดมาก
91 – 90 ทึบ 71 – 80 คาบเส้น
51 – 70 ปัญญาอ่อนเล็กน้อย 26 – 50 ปัญญาอ่อน 0 – 25 โง่บัดซบ
บลูม (Benjamin S. Bloom)
Benjamin Bloom จำแนกพฤติกรรมการเรียนรู้ได้ 3 จำพวก คือ
1. พุทธิพิสัย พฤติกรรมทางสมอง
1. ความรู้ วัดได้จากกาท่องจำ
2. ความเข้าใจ เช่น แปลความหมาย หรืออธิบายสิ่งที่ได้เรียนรู้มา
3. การนำไปใช้ เช่น เรียนรู้การหา พ.ท. ของรูปสี่เหลี่ยม โดยใช้สูตร กว้าง x ยาว แล้วไปคำนวณหา พ.ท. ของห้องเรียนได้
4. การวิเคราะห์ เช่น. การคำนวณหาหา พ.ท. รูปสี่เหลี่ยมว่า มาจากผลรวมของพื้นที่ของหน่วยย่อย ๆ
5. การสังเคราะห์ เช่น การนำผลรวมของพื้นที่ของหน่วยย่อย ๆ มารวมกัน เป็น พ.ท. ของสี่เหลี่ยมใหญ่
6. การประเมินค่า สามารถตัดสินหรือตีค่าของสิ่งที่พบเห็นว่า ถูก- ไม่ถูก ดี - หรือ ไม่ดี
พฤติกรรมนี้ได้แก่ การเรียนรู้ความคิดรวบยอด การเรียนรู้หลักการ หรือกฎเกณฑ์ การเรียนรู้แก้ปัญหาตามลำดับ
2. เจตพิสัย พฤติกรรมด้านอารมณ์ ความคิด จิตใจ
1. ความภูมิใจ 2. ความศรัทธา 3. รสนิยม รับรู้สิ่งเร้า
3. ค่านิยม
4. ตอบสนอง
5. สร้างคุณค่า
6. จัดระบบคุณค่า
7. สร้างลักษณะนิสัย
8. การดัดแปลงให้เหมาะสม
3. ทักษะพิสัย พฤติกรรมด้านกล้ามเนื้อ ทักษะการใช้อวัยวะต่าง ๆ
1. ทักษะการใช้เครื่องมือ
2. ทักษะทางภาษา เช่น อ่าน เขียน พูด
3. ทักษะการแสดงออกทางศิลปะ เช่น การเต้นรำ ดนตรี วาดรูป ปั้น แกะสลัก
4. เตรียมพร้อม
5. ตอบสนองตามแนว
6. การปฏิบัติได้
7. การตอบสนองที่ซับซ้อน
8. การริเริ่ม

ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ อับราฮัม มาสโลว์ ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์จามลำดับขั้น ออก เป็น 5 ขั้น คือ 1. ความต้องการทางด้านร่างกาย (ความต้องการขั้นพื้นฐาน) 2. ความต้องการความมั่นคงและความปลอดภัยของชีวิต 3. ความต้องการด้านสังคม 4. ความต้องการที่จะมีเกียรติยศชื่อเสียง 5. ความต้องการประสบความสำเร็จในชีวิต เป็นความต้องการในระดับสูงสุด
กระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดของ กาเย่ โรเบิร์ต เอ็ม กาเย่ ได้กล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้ไว้ 8 ขั้นตอน คือ
1. การจูงใจ (การเรียนต้องมีการจูงใจ) 2. ความเข้าใจ (เรียนอย่างเข้าใจ จะทำให้การเรียนมีประสิทธิภาพ) 3. การได้รับ (เมื่อเข้าใจแล้วจะจดจำบทเรียนได้) 4. การเก็บไว้ (เก็บความรู้ไว้ได้และจำได้) 5. การระลึกได้ (คิดและนำมาใช้หรือตอบคำถามได้ในภายหลัง) 6. ความคล้ายคลึง ( เมื่อพบสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันจะนึกได้จำได้) 7. ความสามารถในการปฏิบัติ (สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง) 8. การป้อนกลับ (นำข้อมูลไปปรับปรุและพัฒนา)


ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาพัฒนาการ
ความรู้เกี่ยวกับจิตวิทยาพัฒนาการ (Development Psychology)
จิตวิทยาพัฒนาการ (Development Psychology) เป็นจิตวิทยาสาขาหนึ่งที่มุ่งศึกษาพฤติกรรมของคนในวัยต่าง ๆ กัน เพื่อให้รู้ว่าบุคคลมีพัฒนามาอย่างไร ในแต่ละวัยมีสิ่งใดเกิดขึ้นบ้าง สาเหตุของการเกิดสิ่งนั้นๆ มีอย่างไร
จิตวิทยาพัฒนาการ (Development Psychology) มีประโยชน์ต่อครูอย่างไร
โดยที่จุดประสงค์สำคัญของจิตวิทยาพัฒนาการคือ การเข้าใจบุคคล ทั้งในฐานะที่เป็นบุคคลคนหนึ่ง และเป็นส่วนหนึ่งของสังคม การได้เข้าใจถึงสติปัญญา ร่างกาย อารมณ์ สังคม ตลอดจนความต้องการของบุคคลแต่ละวัย ย่อมช่วยให้บุคคลปรับตัวเข้ากันได้ดีขึ้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น
สำหรับครู จะช่วยให้เข้าใจในกระบวนการต่าง ๆ ของการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถส่งเสริม เด็กให้มีพัฒนาการในด้านต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ สอดคล้องกับวุฒิภาวะและระดับพัฒนาการ ซึ่งจะมีผลต่อการเรียนรู้ที่ดีที่สุดของนักเรียน
พัฒนาการหมายถึงอะไร
พัฒนาการ (Development) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เป็นระบบระเบียบ สามารถคาดคะเนได้ตามสมควร เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ก้าวหน้าของบุคคล อันเป็นผลมาจากวุฒิภาวะและประสบการณ์ ซึ่งเกิดขึ้นตลอดชีวิต ตั้งแต่แรกเกิด
ความเจริญงอกงามคืออะไร
ความเจริญงอกงาม (Growth) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นทางด้านปริมาณ (Quantity) เป็นการเปลี่ยนแปลงทางด้านโครงสร้าง (Structure) เป็นการเพิ่มเกี่ยวกับจำนวน เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง ความหนา และจำนวนกล้ามเนื้อ
ลักษณะเฉพาะของพัฒนาการ
1. พัฒนาการจะเกิดในลักษณะที่ต่อเนื่องกัน (Continuity) จะดำเนินการไปตามลำดับขั้น
พัฒนาการจะเกิดขึ้นทุกช่วงของชีวิต
2. พัฒนาการจะเป็นไปตามแบบฉบับของตัวเอง (Sequence) คืออัตราการพัฒนาการของ
แต่ละบุคคลจะแตกต่างกัน
3. พัฒนาการจะเกิดในอัตราที่ไม่เท่ากัน (Ratio) อัตราการเจริญเติบโตแต่ละคนไม่
เหมือนกัน วัยเด็กเล็กมีอัตราการพัฒนาการมากกว่าเด็กโต
4. พัฒนาการจะเกิดเป็นทิศทางเฉพาะ (Develop Mental Direction) พัฒนาการจะเป็น
ไปตามแนวศรีษะลงไปสู่ปลายเท้า เด็กจะชันคอได้ก่อน เติบโตไปสู่แกนกลางของลำตัว ไปสู่ส่วนย่อย เคลื่อนไหวลำตัวได้ก่อนนิ้วมือนิ้วเท้า
องค์ประกอบของพัฒนาการ
1. วุฒิภาวะ (Maturity) หมายถึงความเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและจิตใจ พร้อมที่จะทำงานตามหน้าที่ได้
2. การเรียนรู้ (Learning) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการฝึกหัด การเรียนรู้เป็นสาเหตุอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนา
พัฒนาการแบ่งออกได้เป็นกี่ด้าน
นักจิตวิทยา ได้แบ่งพัฒนาการออกเป็น 4 ด้าน คือ
1. พัฒนาการทางด้านร่างกาย (Physical Develop Metric) ได้แก่การเปลี่ยนแปลงด้านขนาด รูปร่าง โครงสร้างของร่างกาย กล้ามเนื้อ กระดูกและต่อม การเพิ่มของส่วนสูงและประสิทธิภาพของประสาท
2. พัฒนาการทางด้านสติปัญญา (Mental Development) ได้แก่ ความรู้ ความจำ เชาว์
ความปัญญา และความคิดอย่างมีเหตุผล
3. พัฒนาการทางด้านอารมณ์ (Emotional Development) ความรู้สึก ทัศนคติ ค่านิยม
4. พัฒนาการทางด้านสังคม (Social Development) ได้แก่การปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม รวมถึงบุคลิกภาพของบุคคลด้วยพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม
ความแตกต่างของบุคคลเกิดจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ทั้งสองสิ่งนี้มีบทบาทร่วมกัน เป็นตัวกำหนดพัฒนาการของคน
พันธุกรรม (Heredity) คือการถ่ายทอดลักษณะตา’ ๆ ทางชีวิวิทยา จากบิดามารดาไปสู่บุตร โดยผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์
สิ่งแวดล้อม (Environment) หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิต ที่มีอิทธิพลต่อมนุษย์ และสามารถที่จะปรุงแต่งชีวิตในรูปลักษณะต่าง ๆ
ความพร้อม (Readiness) ปัจจัยที่ทำให้บุคคลเกิดความพร้อม ได้แก่
1. วุฒิภาวะ
2. ความสนใจหรือแรงจูงใจ
3. การได้รับการฝึกฝน การเตรียมตัวหรือเตรียมความพร้อม

ตารางพัฒนาการปกติสำหรับเด็ก ระดับก่อนประถมศึกษา

พัฒนาการ
ด้านร่างกาย
ด้านสติปัญญา
ด้านสังคม
ด้านอารมณ์และจิตใจ
3 – 4 ปี
- เดินและวิ่งได้
- กระโดดได้ไม่ดี
- ประสาทยังไม่
สัมพันธ์กัน
- เริ่มรู้จักใช้พลัง
- สมาธิสั้น (3 นาที)
- ชอบถาม “ทำไม”
ตลอดเวลา
- คิดสิ่งที่เป็น
นามธรรมไม่ได้
- อยากรู้อยากเห็น
สิ่งต่าง ๆ รอบตัว
- ชอบเล่นแบบคู่
ขนาน
- ไม่ชอบเล่นกับผู้อื่น
- แบ่งปันไม่เป็น
- ยึดตนเองเป็น
ศูนย์กลาง
- หงุดหงิดร้องไห้ง่าย
- พอใจคนที่ตามใจ
- ชอบได้รับคำชม



4 – 5 ปี
- เดินและวิ่งได้
- กระโดดได้ไม่ดี
- ประสาทยังไม่
สัมพันธ์กัน
- เริ่มรู้จักใช้พลังงาน
- เปรียบเทียบได้
- เรียงลำดับเหตุ
การณ์ได้
- เข้าใจความเป็น
เหตุเป็นผลขึ้น
- ชอบถามคำถาม
มากมาย
- พูดเป็นประโยค
- สนใจผู้อื่น
- ชอบเล่นบทบาท
สมมุติ
- สนใจกิจกรรม
ผู้ใหญ่
- เริ่มมีพฤติกรรม
ก้าวร้าว

- ชอบท้าทายผู้ใหญ่
- มั่นใจตนเองมากขึ้น

5 – 6 ปี
- คล่องแคล่วไม่อยู่นิ่ง
- ใช้กล้ามเนื้อเล็ก
ได้ดี เช่น ติด
กระดุมเสื้อ ผูก
เชือก รองเท้า
- ช่วงความสนใจ
ยาวขึ้น
- พูดประโยคได้ยาว
ขึ้น
- รู้คำศัพท์มากขึ้น
- คิดเกมขึ้นเล่น
เองได้และชอบ
เปลี่ยนกฎขณะเล่น
- มีปฏิสัมพันธ์กับผู้
อื่น
- ชอบทำให้ผู้อื่นพอ
ใจ
- ชอบแสดงออก
- ชอบทำสิ่งที่ถูก
เพื่อให้ครูชมเชย

- ยึดตนเองเป็นศูนย์
กลางน้อยลง
- อายง่าย
- รักครู

คุณลักษณะตามวัย เด็กระดับก่อนประถมศึกษา
พัฒนาการ
อายุ 3 - 4 ปี
อายุ 4 - 5 ปี
อายุ 5 - 6 ปี
ด้านร่างกาย
- เดินขึ้นบันไดสลับเท้าได้
- วิ่งแล้วหยุดได้โดยไม่ล้ม
- ใช้กรรไกรมือเดียวได้
- วาดและระบายสีได้

- เดิน กระโดด ได้ดีเพราะ
กล้ามเนื้อเริ่มประสาน
สัมพันธ์กัน
- กระฉับกระเฉงไม่ชอบอยู่เฉย
- ตัดกระดาษเป็นเส้นตรงได้
- เดินขึ้นลงบันไดสลับเท้าได้
คล่องแคล่ว
- กระฉับกระเฉงไม่อยู่เฉย
- ใช้กล้ามเนื้อเล็กได้ดี เช่นติด
กระดุม ผูกเชือกรองเท้าได้
- ยืดตัว คล่องแคล่ว
ด้านอารมณ์
จิตใจและสังคม
- พอใจคนที่ตามใจ
- ชอบที่จะทำให้ผู้ใหญ่พอใจ
และได้คำชม
- ช่วยตนเองได้
- ชอบเล่นแบบคู่ขนาน เล่นของ
ชนิดเดียวกันแต่ต่างคนต่าง เล่น
- มีความมั่นใจในตนเองสูงมากขึ้น
- ชอบท้าทายผู้ใหญ่
- ต้องการให้มีคนฟัง คนสนใจ
- สนใจผู้อื่น
- ชอบเล่นบทบาทสมมุติ
- ชอบเล่นเป็นกลุ่ม
- อายง่าย
- ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลางน้อยลง
- ชอบเล่นกับเด็กอื่น
- ช่วยตัวเองได้
- ชอบสร้างความพอใจให้อื่น
- ชอบแสดงออกและทำสิ่งที่
ถูกต้องเพื่อให้ผู้ใหญ่ชมเชย
ด้านสติปัญญา
- สนใจนิทานและเรื่อราวต่าง ๆ
- สมาธิสั้นเนื่องจากอยากรู้
อยากเห็นทุกอย่างรอบตัว
- ชอบทาย “ทำไม” ตลอดเวลา
- ร้องเพลงง่าย ๆ แสดงท่าทางเลียนแบบ
- พูดประโยคยาวขึ้น
- ยังคิดสิ่งที่เป็นนามธรรมไม่ได้
- เปรียบเทียบได้
- เรียงลำดับเหตุการณ์ได้
-เริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
- ชอบถาม “ทำไม” เนื่องจาก
เริ่มเรียนรู้ได้แล้ว
- เข้าใจความเป็นเหตุเป็นผลได้
- พูดเป็นประโยคได้
- พูดประโยคได้ยาวขึ้น
- รู้คำศัพท์มากขึ้น
- ร้องเพลง ท่องคำคล้องจอง
ได้
- บอกชื่อ นามสกุล ของตนเอง
ได้
- นับ 1 – 20 ได้
-บอกความแตกต่างของกลิ่นสีเสียง รสรูปร่างและจัดหมวดหมู่สิ่งของได้


ไม่มีความคิดเห็น: